สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในเด็กทารกที่ไม่ได้ขลิบอวัยวะเพศ

จะดูแลองคชาติของทารกแรกเกิดได้อย่างไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในเด็กทารกที่ไม่ได้ขลิบอวัยวะเพศ

การดูแลเด็กทารกที่ไม่ได้ขลิบอวัยวะเพศนั้นไม่ได้แตกต่างจากทารกที่ขลิบมากเท่าใดนัก ในความเป็นจริงแล้ว การทำความสะอาดภายนอกอย่างนุ่มนวลระหว่างการเปลี่ยนผ้าอ้อม และทำความสะอาดภายนอกด้วยสบู่ระหว่างอาบน้ำก็เพียงพอแล้ว 

อย่างไรก็ตามมีข้อมูลบางอย่างที่อาจทำให้เกิดความสับสนต่อการดูแลเด็กที่ไม่ได้ขลิบอวัยวะเพศเหล่านี้ ซึ่งการดูแลที่ไม่ถูกวิธีอาจนำไปสู่การขลิบอวัยวะเพศภายหลัง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โดยเฉพาะเมื่อพ่อแม่ได้รับการสอนให้รูดปลายองคชาติก่อนเวลาที่ผิวหนังบริเวณดังกล่าวพร้อมที่จะรูด 

การดูแลองคชาติของทารกที่ไม่ได้ขลิบอวัยวะเพศ 

ต่อไปนี้คือสิ่งที่ต้องทำ (และไม่ควรทำ) เพื่อให้ทารกของคุณสะอาดและมีสุขภาพที่ดี 

สิ่งที่ควรทำ

  • ปล่อยผิวหนังที่หุ้มองคชาติให้เป็นไปตามธรรมชาติจนกว่ามันจะพร้อมที่จะรูดลงได้เอง
  • เปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ และเช็ดทำความสะอาดภายนอกให้สะอาด
  • อาบน้ำด้วยสบู่และน้ำบ่อย ๆ
  • ปรึกษากุมารแพทย์หากผิวหนังหุ้มองคชาติแดง ปวด หรือคัน ซึ่งอาจเป็นอาการของการติดเชื้อหรือการอักเสบที่ผิวหนังและปลายองคชาติที่เกิดจากการทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวไม่ดีพอ

สิ่งที่ไม่ควรทำ

  • ดึงผิวหนังหุ้มปลายองคชาติอย่างแรงเพื่อให้สามารถรูดได้ การดึงผิวหนังบริเวณดังกล่าวซึ่งมักติดอยู่กับปลายองคชาตินั้นอาจทำให้เจ็บ มีเลือดออก หรือเกิดการทำลายองคชาติอย่างถาวรได้ การแยกตัวระหว่างผิวหนังกับปลายองคชาติตามธรรมชาตินั้นใช้เวลาได้หลายปี
  • ทำความสะอาดข้างใต้ด้วย Q-tips, ล้างน้ำ, น้ำยาฆ่าเชื้อหรือครีมหรือขี้ผึ้งชนิดพิเศษ การทำความสะอาดภายนอกด้วยน้ำและสบู่ก็เพียงพอเช่นกัน
  • ตื่นตัวหากมีเมือกสีขาวไหลออกจากบริเวณใต้ผิวหนังที่หุ้มปลายองคชาติ ปรากฏการณ์นี้เป็นเรื่องที่พบได้ตามปกติ โดยเกิดจากการที่เซลล์ของผิวหนังเกิดการหลุดลอกตามธรรมชาติและถูกดันออกมาจากข้างใต้ตลอดเวลา คุณสามารถเช็ดเมือกดังกล่าวออกได้ระหว่างการอาบน้ำหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม

ผิวหนังหุ้มปลายองคชาติจะสามารถรูดลงได้เมื่อไร

เมื่อทารกเพศชายเกิดมานั้น องคชาติของพวกเขาจะยังมีชั้นผิวหนังที่ยื่นมาเพิ่มเติมเพื่อทำหน้าที่ปกป้องส่วนหัวขององคชาติ ในช่วงแรกคลอดผิวหนังดังกล่าวจะติดอยู่กับส่วนหัวขององคชาติ 

เมื่อเด็กโตขึ้น ผิวหนังจะค่อย ๆ แยกออกจากองคชาติได้เองตามธรรมชาติไล่จากหัวลงมา ในเด็กบางคน ขั้นตอนนี้อาจเกิดได้ตั้งแต่แรกเกิดแม้จะพบได้น้อย พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะเริ่มพบในช่วงหลายเดือนหรือหลายปีหลังคลอด เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันและนี่เป็นเรื่องที่ปกติ 

แม้ว่าเด็กส่วนมากจะมีการแยกตัวของผิวหนังกับองคชาติภายในอายุ 5 ปี แต่ก็มีเด็กอีกหลายคนที่จะยังไม่เกิดภาวะนี้จนกระทั่งเข้าสู่วัยรุ่น เด็กจะเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุดว่ามันจะเกิดขึ้นเมื่อไร เพราะเขาจะเป็นผู้ค้นพบคนแรกว่าสามารถรูดปลายผิวหนังดังกล่าวได้แล้ว


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป