สุขภาพยุคดิจิทัลกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สุขภาพยุคดิจิทัลกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สังคมกำลังให้ความสนใจเกี่ยวกับประสบการณ์ในเรื่องคนที่กำลังจะเสียชีวิตและการเสียชีวิตมากขึ้นเรื่อย ๆ มีหลายเหตุผลที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้แต่มีหลายคนที่อาจจะโต้แย้งว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความตายเน้นเรื่องผลกำไรมากกว่าให้ความสำคัญกับตัวบุคคล ซึ่งมันทำให้แต่ละคนรู้สึกไม่สบายใจเมื่อคิดถึงเรื่องการตายของตนเอง

BJ Miller ผู้บริหารระดับสูงของ Zen Hospice Project ในเมืองซานฟรานซิสโกได้กล่าวไว้ในรายการ TED talk 2015 ว่าการตายนั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ 

เขาไปส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยให้คนเป็นศูนย์กลางและมุ้งเน้นไปที่สุขภาวะและความสบายมากกว่าเรื่องของความเจ็บป่วย ทำให้มีพื้นที่ในการสร้างสรรค์และหลีกหนีจากความทรมานที่ไม่จำเป็น 

เราไม่ควรมองว่าการเสียชีวิตนั้นเป็นบทสุดท้ายของชีวิตคนคนหนึ่ง การเสียชีวิตนั้นไม่ควรเกิดขึ้นในความเงียบและโดดเดี่ยว ทุกคนต้องการการสนับสนุนเมื่อตนเองกำลังก้าวผ่านช่วงเวลาเหล่านี้ของชีวิต หลายคนคาดหวังให้การเสียชีวิตเป็นไปอย่างสง่างาม เต็มไปด้วยความรักและความเคารพ อย่างไรก็ตามโรงพยาบาลส่วนใหญ่ที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้นไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ นอกจากนั้นหลายคนก็อยากเลือกสถานที่และวิธีการเสียชีวิตของตนเองซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแต่ภายในโรงพยาบาลเท่านั้น 

เทคโนโลยีดิจิทัลเกี่ยวกับสุขภาพในปัจจุบันได้ทำให้เกิดวิธีการบางอย่างที่สามารถช่วยเพิ่มคุณภาพของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ 

เพิ่มการสื่อสารและการเชื่อมโยง 

The Institute of Medicine (IOM) ได้รายงานว่าผู้ป่วยที่ใกล้จะเสียชีวิตนั้นมักจะอยู่ในโรงพยาบาลหรือในสถานบริการทางการแพทย์หลายที่ 

ดังนั้นการทำให้ข้อมูลสุขภาพเหล่านี้สามารถเข้าถึง แบ่งปัน และส่งต่อระหว่างท้องถิ่นจะทำให้เกิดความต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วย ระบบบันทึกข้อมูลสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (EHR) และระบบสุขภาพแบบดิจิทัลอื่น ๆ สามารถช่วยสนับสนุนกระบวนการนี้ได้และทำให้การสื่อสารระหว่างผู้เชี่ยวชาญดีมากขึ้น ลดความล่าช้า และหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนของการให้บริการ 

นอกจากนั้น EHR ยังสามารถใช้เพื่อสื่อสารความต้องการของแต่ละคนเช่นเดียวกับเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนการดูแลรักษา สามารถเข้าถึงความต้องการของผู้ป่วยได้ง่าย ทำให้แน่ใจว่าผู้ป่วยระยะสุดท้าย (เมื่อพวกเขาไม่สามารถตัดสินใจด้วยตนเองได้แล้ว) จะได้รับการดูแลตามที่ตนเองเคยคาดหวังไว้ 

อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายก็คือการสื่อสารระหว่างบุคคลและการแบ่งปันความรู้สึก มีหลายคนซึ่งรวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่รู้สึกไม่สบายใจหรือหนักแน่นเพียงพอเมื่อมีการพูดคุยถึงเรื่องที่สำคัญกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย และ/หรือครอบครัวของพวกเขา ในปัจจุบันเราสามารถนำเครื่องมือดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อในการช่วยสอนและเป็นแนวทางให้กับผู้ดูแลและผู้ป่วยเมื่ออยู่ในบทสนทนาที่ยากลำบากได้ 

และเนื่องจากผู้ป่วยและผู้ดูแลมักจะรู้สึกเหน็ดเหนื่อยจากทุกเรื่องมากเกินไป การมีสื่อกลางทางสังคมจะช่วยเปิดโอกาสให้แต่ละคนได้เชื่อมเข้าหากัน ช่วยเหลือกันทั้งทางด้านอารมณ์และผ่านการแบ่งปันข้อมูลและความรู้ กลุ่มช่วยเหลือผู้ป่วยกำลังกลายเป็นชุมชนผู้ป่วยออนไลน์เสมือนจริง ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ป่วยที่อาจจะต้องอยู่ติดเตียงเพียงอย่างเดียว 

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบทางไกล 

การให้คำปรึกษาทางการแพทย์และการตรวจบางอย่างสามารถทำได้ผ่านทางไกล เมื่อเข้าสู่ช่วงระยะสุดท้ายของชีวิต ผู้ป่วยมักจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลร่วมกันของหลากหลายสาขาวิชาชีพซึ่งจะต้องมีการเยี่ยมบ้านและโรงพยาบาลหลายครั้ง ในปัจจุบันการให้คำปรึกษาเสมือนจริงที่บ้านซึ่งปลอดภัยและสะดวกสบายนั้นจึงสามารถทำได้ผ่านการประชุมทางไกล เพื่อลดความลำบาก การเดินทาง และการเคลื่อนย้ายที่ไม่จำเป็น 

Telehospice กำลังได้รับคำนิยามว่าเป็นรูปแบบใหม่ล่าสุดของการให้บริการทางสุขภาพแบบทางไกล การสื่อสารทางไกล เช่น โทรศัพท์หรือการประชุมผ่านวิดีโอนั้นสามารถใช้เป็นสื่อในการให้บริการบางอย่างที่ก่อนหน้านี้อาจจะต้องทำในโรงพยาบาล นี่จึงกลายเป็นมิติใหม่ของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ตัวอย่างเช่น พยาบาลอาจจะสอนผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน หากต้องทำหัตถการที่ไม่เป็นอันตรายให้กับผู้ป่วยผ่านการประชุมวิดีโอ 

นอกจากนั้นยังมีการพยายามทดลองให้บริการทางสุขภาพทางไกลกับผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่อยู่ห่างไกลแบบครบวงจรอีกด้วย โดยเครื่องมือเหล่านี้สามารถวัดค่าสัญญาณชีพและส่งข้อมูลให้พยาบาลได้ ดังนั้นผู้ป่วยจึงได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่องระหว่างการรอวันนัดมาตรวจที่โรงพยาบาลในครั้งต่อไป 

เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถให้การดูแลและสนับสนุนความต้องการของผู้ป่วยในวันท้าย ๆ ของการมีชีวิตของพวกเขาได้ โดยอาจช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้าย ครอบครัว และผู้ดูแลของพวกเขาได้ และยังคงมีการพัฒนาเกิดขึ้นอีกในอนาคต เทคโนโลยีดิจิทัลไม่สามารถนำมาทดแทนการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยมนุษย์ได้ แต่จะช่วยในเรื่องของทรัพยากร ทำให้ผู้ดูแลและผู้ป่วยสนใจในสิ่งที่สำคัญซึ่งก็คือเรื่องของคนได้มากขึ้น


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
leanforward.hms.harvard.edu, Digital age health and final care for patients (https://leanforward.hms.harvard.edu/2018/10/10/the-future-of-patient-engagement-in-the-digital-age/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป