กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ. คัคนานต์ เทียนชัย แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ. คัคนานต์ เทียนชัย แพทย์ทั่วไป

รู้จักที่ตรวจครรภ์ประเภทต่างๆ พร้อมวิธีใช้งาน

ตรวจการตั้งครรภ์ง่ายๆ ด้วยตนเอง หากใช้ถูกวิธีไม่กี่นาทีก็รู้ผล
เผยแพร่ครั้งแรก 22 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 24 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
รู้จักที่ตรวจครรภ์ประเภทต่างๆ พร้อมวิธีใช้งาน

การตั้งครรภ์บางครั้งก็อยู่เหนือการคาดเดา ยิ่งผู้ที่ยังไม่เคยตั้งครรภ์มาก่อน ยิ่งคาดเดาได้ยาก แต่เทคโนโลยีสมัยนี้ก็ช่วยให้ผู้หญิงสามารถทดสอบการตั้งครรภ์ได้ด้วยตนเองก่อนจะไปพบแพทย์ เรากำลังพูดถึง "ที่ตรวจครรภ์" หรือ "ชุดทดสอบการตั้งครรภ์" ซึ่งหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป แถมยังให้ผลแม่นยำได้ถึง 90% 

เมื่อไรที่ควรใช้ที่ตรวจครรภ์

สำหรับคุณผู้หญิงที่สงสัยว่า อาจจะตั้งครรภ์ สามารถสังเกตอาการของตัวเองได้เบื้องต้นโดยที่ยังไม่ต้องไปพบแพทย์ ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากพบว่า ตนเองมีอาการเข้าข่ายต่อไปนี้ โดยเฉพาะประจำเดือนไม่มาตามปกติ สิ่งต่อไปที่ควรทำคือ  ซื้อ "ที่ตรวจครรภ์" มาตรวจด้วยตนเองก่อน

ที่ตรวจครรภ์วัดการตั้งครรภ์ได้อย่างไร

ที่ตรวจครรภ์เป็นอุปกรณ์เล็กๆ ที่สามารถวัดค่า หรือแสดงผลได้ทันที ไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นๆ นอกเหนือจากที่ให้มาในชุดช่วยตรวจสอบ หากจะพูดให้เข้าใจกันง่ายๆ ก็คือ การตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจหาฮอร์โมนตั้งครรภ์ เช่นเดียวกับการตรวจในทางการแพทย์ที่เรียกว่า "การทดสอบหาฮอร์โมน HCG (Human Chorionic Gonadotropin)" ในน้ำปัสสาวะของผู้หญิง 

ฮอร์โมน HCG นี้จะสร้างจากเซลล์ตัวอ่อนของมนุษย์หลังปฏิสนธิไปแล้ว 6 วัน และจะมีปริมาณสูงขึ้นเมื่อปฏิสนธิได้ 8 -12 สัปดาห์ขึ้นไป ดังนั้นหากตรวจพบฮอร์โมนนี้นั่นหมายความว่า "กำลังตั้งครรภ์" 

การตรวจนี้มีความแม่นยำมากถึง 90% และสามารถตรวจได้อย่างแม่นยำในรายที่มีการขาดประจำเดือนตั้งแต่วันที่ 10-14 ขึ้นไป

รูปแบบของที่ตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง และวิธีใช้

แบบปัสสาวะผ่าน (Pregnancy Midstream Tests)

จะมีแค่แท่งทดสอบการตั้งครรภ์ เป็นแบบที่ใช้ง่ายไม่ต้องเก็บปัสสาวะใส่ถ้วยจึงสะดวกและได้ผลค่อนข้างแม่นยำ

  • ถอดฝาครอบออกพร้อมกับถือแท่งทดสอบโดยให้หัวลูกศรชี้ลง
  • ปัสสาวะให้น้ำปัสสาวะผ่านบริเวณที่ดูดซับน้ำปัสสาวะให้ชุ่มประมาณ 5 วินาที
  • ถือ หรือวางแท่งทดสอบการตั้งครรภ์ไว้ในแนวราบประมาณ 30 วินาทีเป็นต้นไป (หรืออ่านผลเมื่อทิ้งไว้ 3-5 นาทีเพื่อความมั่นใจ)

แบบตลับหรือแบบหยด (Pregnancy Test Cassette)

ในชุดจะมีถ้วยตวงปัสสาวะและหลอดหยดสำหรับดูดน้ำปัสสาวะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ข้อดีของที่ตรวจครรภ์แบบหยดคือ สามารถควบคุมปริมาณปัสสาวะได้ คือ ใช้เพียง 3-4 หยด และช่วยลดโอกาสแผ่นทดสอบเสียจากการดูดซับน้ำปัสสาวะของชุดทดสอบได้

  • ให้เก็บน้ำปัสสาวะลงในถ้วยตวง
  • นำหลอดหยดดูดน้ำปัสสาวะในปริมาณพอเหมาะ
  • หยดน้ำปัสสาวะลงบนตลับทดสอบประมาณ 3-4 หยด
  • วางชุดทดสอบทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วจึงอ่านผลการทดสอบ

แบบแถบจุ่ม (Test Strip)

ประกอบด้วยแผ่นทดสอบการตั้งครรภ์ บางยี่ห้อมีถ้วยตวงปัสสาวะ แต่บางยี่ห้อไม่มี ข้อดีคือราคาถูกที่สุดใน 3 แบบ แต่ต้องระวังอย่าให้น้ำปัสสาวะสูงเกินกว่าขีดที่กำหนดเพราะอาจทำให้แผ่นทดสอบเสื่อมสภาพได้

  • เก็บน้ำปัสสาวะลงในถ้วยตวง ถ้าหากบางยี่ห้อไม่มี ให้หาภาชนะเล็กๆที่สะอาดสำหรับรองปัสสาวะ และให้ใช้แล้วทิ้ง
  • นำแผ่นทดสอบการตั้งครรภ์ด้านที่มีลูกศรชี้ลง จุ่มลงไปในน้ำปัสสาวะ 3 วินาทีระวังอย่าให้น้ำปัสสาวะเลยขีดที่กำหนด
  • นำแผ่นทดสอบออกจากน้ำปัสสาวะ และถือ หรือวางไว้ในแนวนอน บนพื้นที่แห้งสนิทเท่านั้น
  • อ่านผลการตั้งครรภ์ได้ภายใน 1-5 นาที

แบบดิจิตอล (Digital Pregnancy Tests)

เป็นที่ตรวจครรภ์ประเภทที่มีราคาสูงที่สุด เป็นแบบที่ใช้ง่าย ไม่ต้องเก็บปัสสาวะใส่ถ้วยจึงสะดวก และรู้ผลค่อนข้างแม่นยำ 

  • ถอดฝาครอบออกพร้อมกับถือแท่งทดสอบโดยให้หัวลูกศรชี้ลง
  • ปัสสาวะให้น้ำปัสสาวะผ่านบริเวณที่ดูดซับน้ำปัสสาวะให้ชุ่ม
  • ถือ หรือวางแท่งทดสอบการตั้งครรภ์ไว้ในแนวราบประมาณ 3 วินาทีเท่านั้น

วิธีการอ่านผลของที่ตรวจครรภ์

การใช้ที่ตรวจครรภ์เป็นการวัดขีดซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากการหยดฉี่ หรือน้ำปัสสาวะ ในที่ตรวจครรภ์ แนะนำให้อ่านค่าหลังจากที่ทิ้งไว้ 5 นาทีจะเป็นค่าที่แม่นยำที่สุด (ห้ามทิ้งไว้นานกว่านั้นเพราะอาจทำให้ค่าเปลี่ยนแปลง เช่น มีขีดเพิ่มขึ้นมาได้) 

ขีดในแถบวัดจะมีขีด 2 ขีด ขีดแรกคือ C (Control Line) และอีกขีดคือ (Test Line) สำหรับผลที่เกิดขึ้นจะมี 3 ประเภท

  • มีขีดขึ้น 1 ขีดที่ C นั่นหมายถึง น่าจะไม่ตั้งครรภ์
  • มีขีดขึ้น 2 ขีดทั้ง C และ T แถบคู่กัน หมายถึง กำลังท้อง
  • ไม่มีขีดขึ้น แต่ก็เป็นไปได้ที่จะขึ้นขีดเดียวที่ T นั่นหมายถึง อ่านค่าไม่ได้ เก็บปัสสาวะไม่ถูกวิธี ปัสสาวะเก่า หรือชุดทดสอบเสีย ควรซื้อชุดใหม่มาทดสอบ

ในกรณีที่พบขีดที่ 2 นั้น บางครั้งอาจจะไม่ชัดเนื่องจากเพิ่งพบฮอร์โมน HCG ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการปฏิสนธิไปแล้ว 6 วัน ฉะนั้นหากต้องการความแม่นยำที่สุดควรตรวจในช่วงที่ขาดประจำเดือนไปแล้ว 10-14 วัน ซึ่งผลที่ได้จะชัดเจนกว่า 90% เลยทีเดียว

ทั้งนี้ผลที่ได้จากที่ตรวจครรภ์นั้นสามารถบ่งบอกได้แค่ว่า มีแนวโน้มตั้งครรภ์ หรือไม่เท่านั้น แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า มีการตั้งครรภ์ในมดลูก หรือนอกมดลูก ไม่ว่าจะใช้ที่ตรวจครรภ์กี่ชุด หรือกี่ยี่ห้อก็ตาม ดังนั้นเพื่อความมั่นใจควรไปตรวจการตั้งครรภ์กับแพทย์อีกครั้ง 

คำแนะนำในการทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตนเอง 

  • อ่านคำแนะนำ และทำความเข้าใจในการใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์อย่างละเอียด และปฏิบัติตามคำแนะนำนั้นๆ อย่างเคร่งครัด
  • การตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตัวเองเป็นการตรวจหาการตั้งครรภ์เบื้องต้นเท่านั้น คุณควรตรวจยืนยันผลการตั้งครรภ์โดยแพทย์ ด้วยการวินิจฉัยทางคลินิกและห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
  • การตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตัวเองเพียงครั้งเดียวยังไม่เพียงพอต่อการยืนยันผลเบื้องต้นได้ เนื่องจากระดับฮอร์โมน HCG ในหญิงตั้งครรภ์จะมีระดับที่แตกต่างกันในช่วงกว้าง ซึ่งการตรวจครั้งที่ 2 ในอีก 2-3 วันถัดมาจะให้ผลที่น่าเชื่อถือและแน่นอนกว่า เพราะบางครั้งในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าระดับความไวของชุดทดสอบการตั้งครรภ์ (ต่ำกว่า 20 mIU/ml.) จึงทำให้การตรวจในครั้งแรกยังไม่พบว่ามีการตั้งครรภ์ เป็นต้น
  • การตรวจปัสสาวะ ควรใช้ปัสสาวะหลังจากตื่นนอนตอนเช้าซึ่งจะให้ผลดีที่สุด แต่เวลาอื่นก็ได้ผลเหมือนกัน แต่สำคัญว่าต้องใช้ปัสสาวะสดๆ หรือเป็นปัสสาวะใหม่เท่านั้น
  • ชุดทดสอบเมื่อซื้อมาแล้วสามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องตามปกติได้ (ไม่เกิน 30 องศา) หลีกเลี่ยงแสงแดด และความชื้น
  • เมื่อฉีกซองออกแล้ว ต้องตรวจทันทีจึงจะได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ แต่ถ้าฉีกแล้วยังไม่ตรวจก็สามารถเก็บไว้ได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง เพราะหากโดนความชื้น จะทำให้ประสิทธิภาพลดลงและอาจทำให้ผลตรวจเกิดความผิดพลาดได้
  • ในการทดสอบซ้ำ ให้เว้นระยะห่างจากการทดสอบครั้งแรกอย่างน้อย 2-3 วัน

ในระหว่างนี้ถึงแม้จะยังไม่แน่ใจว่า ตนเองตั้งครรภ์หรือไม่ แต่คุณผู้หญิงก็ควรต้องระวังเรื่องการรับประทานยาทุกชนิดโดยเฉพาะยาปฏิชีวนะบางชนิดที่มีผลร้ายแรงต่อทารกในครรภ์มาก และควรดูแลตนเองมากเป็นพิเศษจนกว่าจะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากแพทย์


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
หนังสือ 40 สัปดาห์ พัฒนาครรภ์คุณภาพ. “ทดสอบให้แน่ใจว่าตั้งครรภ์จริง”. (รศ. พญ. สายฝน-นพ. วิชัย ชวาลไพบูลย์). หน้า 19.
หนังสือคู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด. “การตรวจว่าตั้งครรภ์หรือไม่”. (ศ. (คลินิก) นพ.สุวชัย อินทรประเสริฐ). หน้า 29-33.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)