น่อง (Calf) เป็นส่วนของร่างกายที่ประด้วยกล้ามเนื้อสำคัญ 2 มัด ได้แก่ แกสโตรนีเมียส (Gastrocnemius) และ โซเลียส (Soleus) เรียกรวมกันว่า ไตรเซปซูราย (Triceps surae)
เป็นกล้ามเนื้อสำคัญในการเคลื่อนไหวข้อเข่าและข้อเท้า ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อการเคลื่อนไหวและทรงท่าของร่างกาย
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เอ็นของกล้ามเนื้อทั้งสองมัดนี้รวมกันเป็นเส้นเดียวและพาดลงมาเกาะที่บริเวณกระดูกส้นเท้า ในชื่อที่รู้จักทั่วไปว่า เอ็นร้อยหวาย (Achilles tendon) นอกจากนี้ยังมีเส้นเลือดและเส้นประสาทจำนวนมากพาดผ่าน
เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น ปวดน่อง การจำแนกความผิดปกติเบื้องต้นให้ได้เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงทีจึงเป็นเรื่องสำคัญ
อาการปวดน่องที่ตำแหน่งต่างๆ เกิดขึ้นจากอะไร?
โดยทั่วไป เมื่อปวดน่องแล้ว ตำแหน่งของความผิดปกติมักจะสามารถใช้ทำนายโครงสร้างที่มีปัญหาได้
เช่น หากปวดบริเวณน่องตรงๆ ก็มีความน่าจะเป็นสูงมากที่ที่มาคือกล้ามเนื้อน่อง
อย่างไรก็ตาม หากเป็นอาการปวดที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานของระบบประสาท (Nervous system) เช่น กระดูกสันหลังเสื่อมและมีหินปูนกดทับรากประสาทบริเวณหลัง ก็อาจจะทำให้มีอาการปวดลามลงมาที่น่องได้ (Radicular pain)
หรือหากเป็นอาการของกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดเรื้อรัง กล้ามเนื้อที่มีปัญหาก็จะทำให้เกิดอาการปวดในกล้ามเนื้อมัดที่อยู่ห่างไกลออกไป (Refer pain)
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ที่นี้จะขอกล่าวถึงความผิดปกติของกล้ามเนื้อน่องเป็นหลัก โดยตำแหน่งที่มีอาการปวดจะสามารถเจาะจงส่วนของกล้ามเนื้อที่มีปัญหา
กล้ามเนื้อน่องสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 มัด วางซ้อนกัน มัดที่อยู่ผิวกว่าคือ แกสโตรนีเมียส (Gastrocnemius) เป็นกล้ามเนื้อที่มีสองหัว หัวด้านนอก (Lateral head) เกาะจากปุ่มกระดูกต้นขาด้านนอก (Lateral condyle of femur) หัวด้านใน (Medial head) เกาะจากปุ่มกระดูกต้นขาด้านใน (Medial condyle of femur) ส่วนกล้ามเนื้ออีกมัดคือ โซเลียส (Soleus) ซึ่งจุดเกาะต้น (Origin) จะอยู่บริเวณกระดูกหน้าแข้ง
กล้ามเนื้อทั้ง 2 มัด รวมตัวกันที่ส่วนปลายก่อนกลายเป็นเอ็นเส้นเดียวกัน เกาะผ่านน่องส่วนล่าง ไปยังกระดูกส้นเท้า และยึดติดกับกระดูกส้นเท้าที่ใต้ฝ่าเท้า
ดังนั้นเมื่อมีอาการผิดปกติ เช่นอาการปวดเกิดขึ้นที่บริเวณต่างๆ จึงอาจจะสามารถสรุปได้ดังนี้
- ปวดน่องด้านข้าง อาจจะเกิดจากความผิดปกติของหัวด้านนอกของกล้ามเนื้อแกสโทรนีเมียส
- ปวดน่องด้านใน อาจจะเกิดจากความผิดปกติของหัวด้านในของกล้ามเนื้อแกสโทรนีเมียส
- ปวดน่องด้านหลัง หากปวดค่อนไปทางด้านบน ใกล้กับกระดูกต้นขา อาจเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อแกสโทรนีเมียส แต่หากความผิดปกติค่อนไปทางด้านล่าง อาจจะเป็นความผิดปกติของกล้ามเนื้อโซเลียส หากมีอาการปวดใกล้ๆ กับส้นเท้า อาจจะเป็นความผิดปกติของเอ็นกล้ามเนื้อน่อง (Achilles tendon)
อย่างไรก็ตาม อาการผิดปกติที่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจนดังกล่าวมักเกิดแค่ระยะแรก เมื่อเข้าสู่ภาวะเรื้อรัง อาการจะลุกลามไปทั่วทั้งมัดกล้ามเนื้อ รวมถึงกล้ามเนื้อมัดใกล้เคียงด้วย
ปวดน่องจี๊ดๆ หรือปวดน่องร่วมกับอาการชาขา เกิดขึ้นได้อย่างไร?
อาการปวดจี๊ดๆ ปวดรวมกับมีอาการชาขา หรืออาการปวดที่เกิดรวมกับการรับรู้ความรู้สึกที่ผิดปกติ มักจะเป็นอาการแสดงของการทำงานที่ผิดปกติของเส้นประสาท
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สามารถเกิดได้จากหลายกรณี เช่น
- ทางเดินของเส้นประสาทบางส่วนถูกกดทับด้วยกล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานมากเกินไปจนเกิดเป็นก้อนแข็ง
- มีการเสียดสีมากทำให้พังผืดหนาตัวและกดทับเส้นประสาท
ดังนั้นหากมีอาการปวดร่วมกับความผิดปกติของระบบประสาทและอาการไม่มีแนวโน้มจะดีขึ้น จึงควรเดินทางไปรับการตรวจวินิจฉัยเพื่อจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง
อาการปวดน่องตุบๆ เกิดจากอะไร?
อาการปวดน่องตุบๆ เป็นอาการแสดงที่สำคัญของการทำงานที่ผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิต
นอกจากอาการปวดน่องแล้ว ยังมักจะพบอาการบวมที่ปลายเท้า และปลายเท้าเปลี่ยนสีเป็นสีคล้ำขึ้นด้วย
มักพบได้ไบ่อยในผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง หรือโรคหลอดเลือดดำอุดตัน
อย่างไรก็ตาม หลังจากทำกิจกรรมที่หนักเกินกว่าที่เคยทำเป็นปกติ เช่น เดินทางไกล วิ่งมาราธอน ก็อาจจะพบอาการปวดแบบนี้ได้ แต่อาการปวดและบวมที่ปลายเท้ามักจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน หากอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ทันที
ปวดน่องพร้อมกันทั้องสองข้าง ปวดหลังหรือปวดขาร้าวลงน่อง เกิดขึ้นได้อย่างไร?
โดยทั่วไปแล้ว อาการปวดที่เกิดจากการเคลื่อนไหว (Mechanical pain) มักจะเกิดที่น่องข้างเดียว โดยเป็นข้างที่มีการใช้งานอย่างไม่เหมาะสม
เช่น ลงน้ำหนักผิดปกติ ออกแรงมากเกินไป โดยทั่วไปมักจะเป็นขาข้างที่ถนัด
อย่างไรก็ตาม หากเป็นการเคลื่อนไหวที่หนักและใช้เวลานาน ก็อาจจะก่อให้เกิดอาการปวดทั้งสองข้างพร้อมกันได้
นอกจากนี้ อาจต้องระวังความผิดปกติของไขสันหลัง ซึ่งมักจะแสดงอาการปวดร้าวลงมาที่ขา น่อง หรือส้นเท้าทั้งสองข้างพร้อมกันด้วย
ความผิดปกติของไขสันหลังที่สำคัญ ได้แก่
- หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- กระดูกสันหลังเคลื่อนทับไขสันหลัง
นอกจากอาการปวดแล้ว มักจะมีอาการที่แสดงความผิดปกติของระบบประสาทร่วมด้วย
ปวดน่อง เป็นตะคริวที่น่องบ่อย เกิดขึ้นจากอะไร?
ตะคริว (Cramp) เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อยมากกับกล้ามเนื้อลาย
ตะคริวคือการเกร็งและหดตัวเป็นก้อนแข็งของกล้ามเนื้ออย่างกะทันหัน ทำให้มีอาการปวดอย่างมาก แต่มักจะหายไปได้เองในระยะเวลาอันสั้น อีกทั้งสามารถเกิดขึ้นได้หลายจุดทั่วร่างกาย
เชื่อกันว่ากล้มเนื้อน่องเป็นกล้ามเนื้อที่เสี่ยงต่อการเป็นตะคริวมากที่สุดในร่างกาย โดยในปัจจุบันยังไม่ทราบกลไกลที่แน่ชัดของการเกิดตะคริว แต่เชื่อกันว่าเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่หนักเกินไป ทำให้มีการสะสมกรดแลกติกมาก จนเกิดอาการอ่อนล้า
นอกจากนี้ยังมีรายงานความเกี่ยวข้องกับการขาดวิตามินบีและการใช้งานกล้ามเนื้อย่างกะทันหัน เช่น ลุกขึ้นยืนทันทีหลังจากนั่งมาเป็นระยะเวลานาน หรือเล่นกีฬาโดยไม่มีการวอร์มก่อน
ดังนั้น วิธีป้องกันตะคริวที่ดีที่สุดก็คือการการรับประทานอาการให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ และเตรียมความพร้อมของกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย นอกจากนี้การยืดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอก็ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดตะคริวได้
อาการปวดน่องแบบไหนถึงเรียกว่ารุนแรงและควรไปพบแพทย์?
โดยทั่วไปแล้ว อาการปวดเมื่อยตามปกติจากการใช้งานขามากเกินไปมักจะหายไปได้เองภายในระยะเวลา 2-3 วัน หากมีอาการปวดรุนแรงมากจนไม่สามารถเดินได้ อาการปวดขณะไม่มีการเคลื่อนไหว หรือขณะนอนหลับ ถือว่าเป็นอาการปวดที่อาจจะเป็นอาการแสดงถึงโรคร้ายแรง ควรปรึกษาแพทย์ทันที