ภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ขา (Deep vein thrombosis)
นั้นเกิดจากการที่มีลิ่มเลือดภายในเส้นเลือดดำที่ขา บางครั้งภาวะนี้อาจไม่ทำให้เกิดอาการ แต่บางครั้งอาจทำให้เกิดอาการปวดและขาบวมได้ โรคนี้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ 2 ประการคือ
- ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด (Pulmonary embolism) เกิดจากการที่มีลิ่มเลือดแตกออกและเข้าสู่กระแสเลือดก่อนจะเข้าสู่ปอดและทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดภายในปอด ภาวะนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ทำให้เสียชีวิตได้มากที่สุด
- Post-phlebitis syndrome เกิดจากการที่ลิ่มเลือดนั้นไปทำลายเส้นเลือดดำที่พวกมันไปอุดตันอยู่ และทำให้เกิดอาการปวดขาที่ตำแหน่งดังกล่าวเรื้อรัง, ขาบวม, ผิวหนังสีคล้ำขึ้นและบางครั้งอาจมีแผลที่ผิวหนังซึ่งหายช้าได้ ผู้ที่เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ขาประมาณ 40% จะเกิดภาวะนี้ตามมา
การรักษาภาวะลิ่มเลือดอุดตันในขา
ภาวะนี้มักรักษาเบื้องต้นด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดเช่น heparin หรือ fondaparinux ยากลุ่มนี้จะไปช่วยหยุดไม่ให้ลิ่มเลือดมีขนาดใหญ่ขึ้นและป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดขึ้นมาใหม่
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
แต่ยากลุ่มนี้ไม่สามารถสลายลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นแล้วได้ ต้องใช้ยาอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งประกอบด้วย streptokinase และ alteplase อย่างไรก็ตามงานวิตัยเกี่ยวกับการใช้ยาในกลุ่มนี้นั้นยังให้ผลไม่ชัดเจน โดยยาในกลุ่มนี้ไม่ได้ช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตหรือลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลและยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดเลือดออกเพิ่มขึ้น แต่ยาก็อาจจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด post-phlebitic syndrome
งานวิจัยล่าสุดที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet ได้กล่าวว่าการใช้ยาสลายลิ่มเลือดแทงเข้าไปยังจุดที่มีการอุดตันโดยตรงแทนการให้ผ่านเส้นเลือดตามปกตินั้นมีประสิทธิภาพดีมากในการป้องกันการเกิด post-phlebitic syndrome ในผู้ที่มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่และอยู่ในตำแหน่งที่ค่อนข้างสูง และ/หรือในอุ้งเชิงกราน ซึ่งการใช้ยาในรูปแบบนี้นั้นจะทำให้ใช้ยาในปริมาณที่น้อยกว่าซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกภายในร่างกายได้ด้วย
ผู้ป่วยที่มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ขาไม่จำเป็นต้องได้รับยาสลายลิ่มเลือดทุกคน เพราะโดยปกติแล้วการใช้ยาละลายลิ่มเลือดและถุงน่องก็สามารถช่วยลดอาการบวมและเพิ่มการไหลเวียนเลือดที่ขาได้ สำหรับผู้ที่มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่โดยเฉพาะลิ่มเลือดที่อยู่ในตำแหน่งที่สูงหรืออยู่ในอุ้งเชิงกราน การฉีดยาสลายลิ่มเลือดโดยตรงนั้นอาจจะช่วยป้องกันการเกิด post-phlebitic syndrome ได้
การป้องกันนั้นสำคัญกว่าวิธีการรักษา
ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่หากคนในครอบครัวของคุณเคยมีภาวะนี้มาก่อน, มีประวัติเป็นโรคที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ง่ายกว่าปกติ, เป็นมะเร็ง, ไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเวลานานๆ (เช่นนอนติดเตียง, นั่งเครื่องบินหรือรถเป็นเวลานาน) หรือใช้ยาคุมกำเนิด คุณก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้เพิ่มขึ้น
วิธีต่อไปนี้สามารถช่วยป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในขาได้
- เคลื่อนไหวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือที่ทำงาน ควรลุกไปเดินเล่นบ่อยๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ทำงานและช่วยบีบเลือดให้กลับเข้าสู่หัวใจ
- อย่าขาดน้ำ โดยเฉพาะหากคุณต้องนั่งเป็นเวลานานๆ เช่นบนเครื่องบิน
- ขยับขาอยู่เสมอ หากคุณต้องนอนติดเตียงและออกไปเดินไม่ได้ ให้ขยับขาเพื่อให้กล้ามเนื้อขาได้บีบตัวเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดคั่งที่ใดที่หนึ่งและเกิดลิ่มเลือดตามมา
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เนื่องจากภาวะอ้วนนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ หากคุณต้องนอนโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ควรสอบถามเกี่ยวกับการใส่ถุงน่องชนิดพิเศษหรือการให้ยา heparin ในปริมาณน้อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือด