กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Dailyton (เดลิต้อน)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 27 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

คุณแม่มือใหม่ที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร มักพบเจอข้อจำกัดในการคุมกำเนิดโดยการทานยาคุม เนื่องจากยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมบางตัวอาจมีผลต่อคุณภาพน้ำนมด้วย โดยเฉพาะยาคุมกำเนิดที่มีปริมาณเอสโตรเจนสูงๆ ... Dailyton เป็นหนึ่งในยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยวที่เหมาะกับคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตร เพราะไม่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งผลกระทบต่อการให้นม แม้ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดจะด้อยกว่ายาคุมชนิดฮอร์โมนรวมอยู่บ้างก็ตาม

ข้อมูลทั่วไปของยาคุมกำเนิด Dailyton

Dailyton (เดลิต้อน) เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว ที่มีบรรจุ 28 เม็ดต่อแผง เม็ดยาแต่ละเม็ดจะประกอบด้วยตัวยาสำคัญเพียงหนึ่งตัว ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • Lynestrenol   0.5   มิลลิกรัม

ตัวยา Lynestrenol เป็นโปรเจสตินรุ่นแรก (First generation progestin) ซึ่งนอกจากจะมีฤทธิ์คุมกำเนิดแล้ว ยังมีฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศชาย ทำให้ผู้ที่ทานแสดงออกลักษณะเพศชายมากขึ้น เช่น ผิวมัน มีสิว ขนดก ได้เช่นกัน ยาคุมกำเนิด Dailyton นั้นไม่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจน จึงไม่จำเป็นต้องหยุดยาช่วงระหว่างมีประจำเดือน

การออกฤทธิ์ของยาคุมกำเนิด Dailyton

ตัวยา Lynestrenol โดยหลักๆ แล้วจะออกฤทธิ์ทำให้ปากมดลูกมีเมือกเหนียว จนสเปิร์มไม่สามารถเข้ามาผสมกับไข่ได้ รวมถึงทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อ และไม่เหมาะต่อการฝังตัวของตัวอ่อน นอกจากนี้ ตัวยา Lynestrenol ยังมีฤทธิ์ยับยั้งการตกไข่ได้ประมาณ 50% ซึ่งถือว่าต่ำกว่ายาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ทำให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดด้อยกว่าเล็กน้อย Lynestrenol จัดเป็นโปรเจสตินรุ่นแรกที่มีฤทธิ์ฮอร์โมนเพศชาย (Androgenic effect) ทำให้เกิดผลข้างเคียงหลังทานได้ เช่น มีขนดก มีสิวขึ้น หน้ามัน เป็นต้น

วิธีทานยาคุมกำเนิด Dailyton

หญิงที่เพิ่งคลอดและอยู่ในช่วงให้นมบุตร โดยเฉพาะถ้าลูกดูดนมอย่างสม่ำเสมอ ร่างกายจะมีฮอร์โมน Prolactin สูง ซึ่งจะช่วยยับยั้งการตกไข่ตามธรรมชาติ ผู้หญิงหลังคลอดช่วงแรกๆ จึงยังไม่มีประจำเดือน และยังไม่จำเป็นต้องทานยาคุมกำเนิด ดังนั้น การเริ่มทานยาคุมกำเนิดอาจมีระยะเวลาแตกต่างกันไป เช่น รอหลังคลอด 4 – 6 สัปดาห์ จนกว่าประจำเดือนจะมา หรือถ้าไม่ได้ให้นมลูกสม่ำเสมอ ก็อาจเริ่มทานเร็วกว่านั้นก็ได้ ตามคำแนะนำของแพทย์

เมื่อประจำเดือนมาวันแรก ให้เริ่มทานยาเม็ดแรก โดยดูตัวอักษรย่อวันที่กำกับบนแผง ให้ตรงกับวันที่เริ่มทานยา จากนั้นจึงทานยาไล่เรียงไปตามลูกศรวันละ 1 เม็ด จนครบ 28 เม็ด เมื่อทานหมดแผงสามารถเริ่มทานแผงใหม่ได้เลย โดยไม่ต้องเว้นช่วงหยุดยา ควรทานยาในช่วงเวลาเดียวกันทุกวัน เช่น ช่วงอาหารเย็น และไม่ควรทานยาช้ากว่าช่วงเวลาปกติเกิน 3 ชั่วโมง เนื่องจากตัวยาออกฤทธิ์สั้น

  • ควรเริ่มทานเมื่อไหร่?

หญิงที่เพิ่งคลอดและอยู่ในช่วงให้นมบุตร โดยเฉพาะถ้าลูกดูดนมอย่างสม่ำเสมอ ร่างกายจะมีฮอร์โมน Prolactin สูง ซึ่งจะช่วยยับยั้งการตกไข่ตามธรรมชาติ ผู้หญิงหลังคลอดช่วงแรกๆ จึงยังไม่มีประจำเดือน และยังไม่จำเป็นต้องทานยาคุมกำเนิด ดังนั้น การเริ่มทานยาคุมกำเนิดอาจมีระยะเวลาแตกต่างกันไป เช่น รอหลังคลอด 4 – 6 สัปดาห์ จนกว่าประจำเดือนจะมา หรือถ้าไม่ได้ให้นมลูกสม่ำเสมอ ก็อาจเริ่มทานเร็วกว่านั้นก็ได้ ตามคำแนะนำของแพทย์

  • วิธีการทานอย่างได้ผล

เมื่อประจำเดือนมาวันแรก ให้เริ่มทานยาเม็ดแรก โดยดูตัวอักษรย่อวันที่กำกับบนแผง ให้ตรงกับวันที่เริ่มทานยา จากนั้นจึงทานยาไล่เรียงไปตามลูกศรวันละ 1 เม็ด จนครบ 28 เม็ด เมื่อทานหมดแผงสามารถเริ่มทานแผงใหม่ได้เลย โดยไม่ต้องเว้นช่วงหยุดยา ควรทานยาในช่วงเวลาเดียวกันทุกวัน เช่น ช่วงอาหารเย็น และไม่ควรทานยาช้ากว่าช่วงเวลาปกติเกิน 3 ชั่วโมง เนื่องจากตัวยาออกฤทธิ์สั้น

ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ หลังทานยาคุมกำเนิด Dailyton

  • อาจมีการเปลี่ยนแปลงของประจำเดือน เช่น ทำให้ประจำเดือนขาด มีประจำเดือนลดลง หรือมีเลือดออกกะปริบกะปรอย
  • มีการแสดงออกลักษณะของเพศชายมากขึ้น เช่น มีขนขึ้นดก ผิวมัน สิวขึ้น
  • มีอาการอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียน อารมณ์แปรปรวนง่าย

ข้อควรระวังและคำแนะนำในการทานยาคุมกำเนิด Dailyton

  • ตัวยาในยาคุมกำเนิด Dailyton ออกฤทธิ์ค่อนข้างสั้น หากลืมทานยา หรือทานช้ากว่าเวลาปกติเกิน 3 ชั่วโมง ควรใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นๆ ร่วมด้วย เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือต้องรับยาบางชนิดเป็นประจำอยู่แล้ว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทานยาคุมกำเนิด

ยาคุมกำเนิด Dailyton เหมาะกับใคร?

คุณแม่หลังคลอดตั้งแต่ 4 – 6 สัปดาห์ขึ้นไป ที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร และต้องการป้องกันการตั้งครรภ์


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)