คนไทยน่าจะรู้จักการครอบแก้วว่าเป็นวิธีบำบัดตามตำราแพทย์แผนจีน แต่ความจริงแล้วศาสตร์การรักษาทางเลือกชนิดนี้ปรากฏอยู่ในบันทึกเกี่ยวกับการรักษาแบบโบราณที่ส่วนอื่นของโลกด้วย เช่น อียิปต์ ตะวันออกกลาง
ว่ากันว่า ครอบแก้ว ช่วยปรับสมดุลของพลังในร่างกาย สามารถรักษาและบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้สารพัด ส่วนใหญ่เป็นอาการปวดเมื่อย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
แต่ครอบแก้วต่างจากวิธีบำบัดอาการปวดทั่วไปตรงเน้นการบำบัดจากภายใน ขับไล่ของเสีย กระตุ้นระบบไหลเวียดเลือดและน้ำเหลือง เป็นต้น
การครอบแก้ว คืออะไร?
การครอบแก้ว (Cupping Therapy) เป็นการใช้วัสดุ เช่น แก้ว ถ้วย หรือกระบอกไม้ไผ่ มาไล่อากาศออกโดยใช้ความร้อน จากนั้นนำมาวางครอบบนร่างกาย เน้นบริเวณเส้นลมปราณตามตำราแพทย์จีน
วัสดุดังกล่าวจะดูดผิวหนังจนมีเลือดมาคั่ง และทำให้ผิวหนังมีสีแดงหรือม่วงคล้ำขึ้น
เชื่อว่าการครอบแก้วจะช่วยกระตุ้นเลือดลม ทำให้รักษาหรือแก้อาการเจ็บป่วยได้
รูปแบบการครอบแก้วที่นิยม
การจำแนกรูปแบบการครอบแก้วทำได้หลายวิธี ถ้าใช้ผลที่ออกมาเป็นเกณฑ์ จะแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ คือ
- ครอบแก้วแบบแห้ง (Dry cupping) ครอบแก้วธรรมดา ใช้กระบวนการสุญญากาศดูดผิวหนัง
- ครอบแก้วแบบเปียก (Wet cupping) เพิ่มขั้นตอนการกรีดหรือเจาะผิวหนังเป็นรอยเล็กๆ เข้ามาด้วย ทำให้มีเลือดไหลเมื่อครอบแก้ว
ส่วนการครอบแก้วที่เป็นที่นิยมและมีให้บริการในประเทศไทย เป็นการรักษาแผนจีน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การครอบแก้วแบบจีนสามารถแบ่งออกเป็นแบบต่างๆ ตามวิธีการทำ ได้แก่
- โจ่วก้วน เป็นการครอบแก้วแบบเลื่อนตำแหน่งไปมา มักใช้เพื่อลดอาการปวดและชาตามกล้ามเนื้อ
- หลิวก้วน เป็นการครอบแก้วแบบปล่อยทิ้งไว้บนตำแหน่งเส้นลมปราณ ประมาณ 10 นาที ใช้เพื่อปรับสมดุลร่างกาย และลดอาการปวดเฉพาะจุด เช่น ปวดกล้ามเนื้อจากการเล่นกีฬา หลังการครอบแก้วจะเกิดรอยคล้ำแดงเป็นวงๆ บนผิวหนัง
- ส่านก้วน เป็นการครอบแบบดึงเข้า-ออก เมื่อเกิดเลือดคั่งแล้วจึงหยุด เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดใต้ผิวหนัง
- ซือลั้วป๋าก้วน เป็นการครอบแก้วเพื่อให้เกิดเลือดคั่ง และใช้เข็มเจาะเพื่อเอาเลือดออก เชื่อว่าเป็นการระบายของเสียที่คั่งค้าง ใช้รักษาอาการปวดเคล็ดขัดยอก และโรคงูสวัด
- หลิวเจินป๋าก้วน เป็นการครอบแก้วร่วมกับการฝังเข็ม เพื่อให้การฝังเข็มได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
การจะเลือกรูปแบบการครอบแก้วให้เหมาะสม นอกจากความต้องการของคุณเอง ยังต้องขึ้นอยู่กับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญประเมิน โดยอาศัยข้อมูลเรื่องภาวะและอาการที่คุณต้องการรักษาด้วย
ขั้นตอนการครอบแก้ว
ก่อนทำการครอบแก้ว แพทย์หรือผู้ทำหัตถการจะสอบถามข้อมูลสุขภาพและความต้องการของผู้จะรับบริการ
หากไม่มีปัญหาหรือภาวะใดที่เป็นอันตราย สามารถทำได้ ผู้รับบริการจะต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าเพื่อให้สะดวกต่อการครอบแก้ว เช่น เป็นเสื้อที่เปิดเปลือยแผ่นหลังได้ แล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนการครอบแก้ว ดังนี้
- แพทย์หรือผู้ทำหัตถการทำการอุ่นแก้วด้วยแอลกอฮอล์ สมุนไพร หรือกระดาษเผาไฟ
- นำแหล่งกำเนิดความร้อนออกจากแก้ว แล้วครอบปากแก้วลงบนผิวหนังผู้รับบริการ (บางที่อาจใช้ลูกยางดูด แทนวิธีใช้ความร้อน)
- ทิ้งให้แก้วดูดผิวหนังและกล้ามเนื้อผู้ใช้บริการประมาณ 5-10 นาที อาจมีขั้นตอนอื่นร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับรูปแบบการครอบแก้ว
- แพทย์หรือผู้ทำหัตถการนำแก้วออก จากนั้นลงน้ำมันและผิดพลาสเตอร์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ครอบแก้วแล้วเลือดออก ผิวเป็นสีม่วง อันตรายไหม?
การครอบแก้วแบบที่ทำแล้วมีเลือดออก เรียกว่า ครอบแก้วแบบเปียก (Wet cupping) ซึ่งต่างจากครอบแก้วธรรมหาตรงมีการกรีดหรือเจาะผิวหนังให้เป็นรอยเล็กๆ ด้วย
และไม่ว่าจะครอบแก้วรูปแบบไหน ก็เป็นธรรมดาที่หลังจากทำแล้วจะทำให้ผิวเป็นสีม่วงช้ำ เกิดจากเส้นเลือดใต้ผิวหนังแตก
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อย่างไรก็ตาม รอยที่เกิดขึ้นนี้จะค่อยๆ จางไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์
อาการเหล่านั้นไม่อันตราย ผลข้างเคียงอันตรายที่อาจเกิดได้จากการครอบแก้วได้คือ การติดเชื้อ หากรับบริการในสถานที่ที่ไม่สะอาด ผู้ทำครอบแก้วให้ไม่เชี่ยวชาญพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การครอบแก้วแบบฝังเข็มร่วมด้วย
ครอบแก้ว ใช้รักษาอาการและภาวะใดบ้าง?
โดยส่วนใหญ่มักใช้ครอบแก้วเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บหรือปวดกล้ามเนื้อ นอกจากนี้แล้ว ยังมีการใช้วิธี ครอบแก้ว ในการบำบัดรักษาอาการหรือภาวะอื่นๆ อีก เช่น
- รักษาอาการปวดคอและหลัง
- รักษาสิว ลมพิษ
- ลดคอเลสเตอรอล
- บรรเทาไมเกรน
- รักษาอาการปวดข้อเข่า
- ส่งเสริมระบบภูมิต้านทานในร่างกาย
ครอบแก้ว ได้ผลจริงหรือ?
กระบวนการครอบแก้ว ที่ใช้ความร้อนทำให้แก้วเป็นสุญญากาศ ดูดผิวหนังขึ้นมาในบริเวณที่กำหนด และทำให้เลือดคั่งอยู่บริเวณนั้นๆ ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
ทำให้เกิดประโยชน์ ได้แก่
- ช่วยให้ความต้านทานของร่างกายดีขึ้น
- ช่วยปรับสมดุลของพลังงาน
- กระตุ้นการไหลเวียนเลือด
อย่างไรก็ตาม รายละเอียดที่ว่า ครอบแก้ว รักษาโรคได้อย่างไร ปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน
อาจมาจากการครอบแก้วช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว ซึ่งทำให้เลือดไหลเวียนคล่อง ส่งผลให้เซลล์ซ่อมแซมตัวเองได้ดีขึ้น หรืออาจกระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อเพิ่มเติม และมีการสร้างเส้นเลือดในเนื้อเยื่อมากขึ้น
พบหลักฐานว่าการครอบแก้วอาจช่วยบรรเทาอาการปวดคอและหลังเรื้อหลัง แต่จำนวนกลุ่มตัวอย่างยังน้อยเกินกว่าที่จะยืนยันผลได้แน่ชัด
ข้อเสียและข้อควรระวังในการครอบแก้ว
การครอบแก้วช่วยรักษาได้หลากหลายอาการก็จริง แต่หลังจากรับบริการแล้วก็อาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้บ้าง ผู้รับบริการจึงควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนเสียก่อน
ผลข้างเคียงและความเสี่ยงจากการครอบแก้ว ได้แก่
- บางครั้งผู้รับการครอบแก้วอาจมีไข้ตัวร้อนได้ มาจากความระบมฟกช้ำและการอักเสบ บรรเทาได้ด้วยการรับประทานยาลดไข้
- การครอบแก้วร่วมกับการใช้เข็มเจาะเลือดออกอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางบาดแผล ดังนั้นจึงควรเลือกสถานที่รับบริการที่สะอาด ได้มาตรฐาน ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ
- เนื่องจากการครอบแก้วมีการใช้ความร้อนดูดอากาศออกจากแก้ว เมื่อนำมาครอบผิวจึงอาจเกิดผิวหนังไหม้จากความร้อนของแก้วได้
คำแนะนำหลังใช้บริการครอบแก้ว
ควรเว้นระยะให้ร่างกายค่อยๆ ปรับอุณหภูมิและรูขุมขนปิดเสียก่อน อย่าเพิ่งอาบน้ำหรือตากแอร์เย็นทันที รอประมาณ 2 ชั่วโมง
ครอบแก้ว เหมาะสำหรับทุกคนหรือไม่?
การบำบัดโดยการครอบแก้วเหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดเมื่อกล้ามเนื้อ เคล็ดขัดยอก เช่น นักกีฬา แต่ไม่เหมาะกับคนที่กำลังมีไข้สูง สตรีมีครรภ์ คนที่เป็นโรคผิวหนังบางอย่าง และผู้ป่วยโรคฮีโมฟิเลียหรือโรคเลือดไหลไม่หยุด เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายจากการรับบริการ
ผู้สูงอายุก็อาจไม่เหมาะกับการครอบแก้ว เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น ผิวหนังก็มักจะบางลง ยืดหยุ่นน้อยลง จนถูกความร้อนทำอันตรายได้ง่าย
ครอบแก้ว ราคาเท่าไร?
ราคา ครอบแก้ว แตกต่างกันออกไปตามแต่ละสถานพยาบาลและรูปแบบการครอบแก้ว อาจคิดราคาเป็นครั้ง เป็นจุด เช่น ครอบแก้วธรรมดาจุดละ 50 บาท/ครั้ง หรือบริเวณละ 400 บาท ครอบแก้วพร้อมลงน้ำมันอโรมาครั้งละ 1,700 บาท เป็นต้น