Brand's
ชื่อผู้สนับสนุน
Brand's

ถั่งเฉ้า และสมุนไพรจีนอื่นๆ ที่ได้ชื่อว่ามีสรรพคุณบำรุงสุขภาพ

ถั่งเฉ้า โสม เห็ดไมตาเกะ เห็ดหลินจือ ฯลฯ สมุนไพรจีนที่ได้ชื่อว่าช่วยบำรุงสุขภาพ
เผยแพร่ครั้งแรก 29 เม.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 22 เม.ย. 2021 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ถั่งเฉ้า และสมุนไพรจีนอื่นๆ ที่ได้ชื่อว่ามีสรรพคุณบำรุงสุขภาพ

หลายคนอาจรู้จัก “ถั่งเฉ้า” ในนามของสมุนไพรจีนราคาสูงที่มีฤทธิ์บำรุงร่างกาย ช่วยลดน้ำตาลในเลือด อีกทั้งยังเชื่อกันว่า ถั่งเฉ้ามีความสามารถช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว ซึ่งเจ้าเม็ดเลือดขาวนี่เองที่ทำหน้าที่กำจัดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

ถั่งเฉ้าคืออะไร?

ถั่งเฉ้า พบได้บริเวณแถบทุ่งหญ้าบนเทือกเขาสูงของทิเบต เนปาล และภูฏาน ระดับความสูง 10,000-12,000 ฟุตจากระดับน้ำทะเล บางครั้งเรียกกันว่า “หญ้าหนอน” ทั้งนี้เพราะถั่งเฉ้าประกอบด้วย ตัวหนอนของผีเสื้อ ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hepialus armoricanus Oberthiir กับ เห็ดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cordyceps sinensis (Berk.) Saec. หนอนชนิดนี้ในฤดูหนาวจะจำศีลอยู่ใต้ดินภูเขาหิมะ เมื่อน้ำแข็งเริ่มละลาย สปอร์เห็ดซึ่งพัดมากับน้ำแข็งที่ละลายแล้วตกที่พื้นดิน ก็จะถูกตัวหนอนเหล่านี้ก็จะกิน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เมื่อฤดูร้อนมาถึง สปอร์เห็ดจะเริ่มเจริญเติบโตเป็นเส้นใย แล้วค่อยๆ ดูดสารอาหารรวมถึงแร่ธาตุจากตัวหนอนที่กินมันในช่วงฤดูหนาว กระทั่งเส้นใยงอกออกจากท้องของตัวหนอน และงอกออกจากปากหนอน เหนือพื้นดิน เพื่อไปรับแสงอาทิตย์ ส่วนตัวหนอนจะค่อยๆ ตายไปในที่สุด

กลายเป็นถั่งเฉ้า ซึ่งนับเป็นสมุนไพรที่ชาวจีนนิยมใช้มายาวนานหลายพันปีนั่นเอง

จากการวิจัยซึ่งส่วนใหญ่ทำให้ลักษณะกรณีศึกษา (Case Study) พบว่า ถั่งเฉ้ามีสารสำคัญที่เป็นประโยชน์ ได้แก่

  • คอร์ไดเซปิน (Cordycepin) เป็นสารที่พบเฉพาะในถั่งเฉ้า มีส่วนกระตุ้นการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต เพิ่มออกซิเจนให้ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย กระตุ้นการเผาผลาญอาหาร รวมทั้งกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศ
  • กาแล็กโทแมนแนน (Galactomannan) คือพอลิเมอร์ของน้ำตาลกาแล็กโทสและแมนโนส พบอยู่ในยีสต์ แบคทีเรีย และพืชตระกูลถั่ว
  • อะดีโนซีน (Adenosine) มีส่วนช่วยเรื่องระบบไหลเวียนเลือดและการทำงานของหัวใจ
  • เออร์โกสเตอรอล (Ergosterol) สารสำคัญชนิดหนึ่งที่เมื่อทำปฏิกิริยากับรังสีอัลตราไวโอเลตจะเปลี่ยนเป็นวิตามินดี 2 ได้
  • เบต้า-ซิโตสเตอรอล (Beta-sitosterol) มีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์
  • กลูตามิคเอซิด (Glutamic acid) เป็นกรดอะมิโนชนิดที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย แต่มีบทบาทสำคัญในการเป็นสารสื่อประสาทในสมอง

นอกจากนี้ถั่งเฉ้ายังประกอบไปด้วยโปรตีน กรดอะมิโน วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี12 วิตามินอี วิตามินเค แร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ซิลีเนียม โพแทสเซียม และโซเดียม

ทั้งนี้ จากงานวิจัยหลายชิ้นที่ให้กลุ่มตัวอย่างทดลองรับประทานถั่งเฉ้า พบว่า ถั่งเฉ้ามีคุณประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ และอีกหนึ่งคุณสมบัติที่น่าสนใจคือ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ถั่งเฉ้ากระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกายได้อย่างไร?

งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า ถั่งเฉ้า มีส่วนช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในหลากหลายด้าน ได้แก่

  • กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิดเนเชอรัลคิลเลอร์เซลล์ (Natural killer cell) ที่มีหน้าที่ในการกำจัดเชื้อไวรัส ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายดีขึ้น
  • ช่วยกระตุ้นการผลิตลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
  • กระตุ้นการหลั่งไซโตไคน์ (Cytokine) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย

จากต้นกำเนิดที่พิเศษกว่าสมุนไพรทั่วไป พบได้เฉพาะบางพื้นที่ มีปริมาณน้อยและหายาก รวมทั้งมีสรรพคุณต่อร่างกายมากมาย ทำให้ถั่งเฉ้ากลายเป็นสมุนไพรที่มีราคาสูงมาก หากเป็นถั่งเฉ้าคุณภาพสูง อาจมีราคาถึงกิโลกรัมละ 1-2 ล้านบาท

ด้วยสรรพคุณหลายประการที่กล่าวในข้างต้น ทำให้ปัจจุบันมีการนำถั่งเฉ้ามาเป็นส่วนประกอบสำคัญของทั้งยา อาหารเสริม รวมทั้งเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพหลากหลายชนิดเพื่อใช้บำรุงร่างกายให้แข็งแรงและเสริมภูมิคุ้มกัน

นอกจากนี้ ยังมีสมุนไพรที่เชื่อกันว่ามีฤทธิ์บำรุงร่างกาย เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่

โสม

โสมได้ชื่อว่าเป็นราชาแห่งสมุนไพร มีส่วนช่วยในการกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เนื่องจากมีสารสำคัญกลุ่มซาโปนิน (Saponins) หรือ จินเซนโนไซด์ (Ginsenosides) ซึ่งช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิดแม็คโครฟาจ (Macrophages) เนเชอรัลคิลเลอร์เซลล์ (Natural Killer Cell) รวมทั้ง บี เซลล์ (B-cell) และ ที เซลล์ (T-cell) ที่ทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคและไวรัส ช่วยลดกระบวนการอักเสบ และลดกลไกการเกิดภูมิแพ้

นอกจากสมุนไพรแล้ว ยังมีอาหารที่ช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายอื่นๆ อีก ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. ซุปไก่สกัด

อาหารบำรุงร่างกายของชาวจีนมากว่าพันปี ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์จากวารสารโภชนาการ International Journal of Food Sciences and Nutrition พบว่า ซุปไก่มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดชาว ที่มีหน้าที่สร้างเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย และนอกจากนี้ตามข้อมูลของศูนย์การแพทย์ใน Nebraska รัฐโอมาฮา ประเทศสหรัฐอเมริกา ยังพบว่า สามารถช่วยบรรเทาอาการไม่สบายจากการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบนอีกด้วย

2. รังนก

รังนกมีสรรพคุณสำคัญคือช่วยบำรุงปอดและระบบทางเดินหายใจ มีส่วนช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีการวิจัยพบว่า รังนกมีสารสำคัญคือ NANA (N-Acetyl-Neuraminic Acid) หรือกรดไซอะลิค (Sialic Acid) ทำหน้าที่จับกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าจับกับเซลล์ในร่างกาย จึงช่วยป้องกันไม่ให้ปอดติดเชื้อ

นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วย ไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) ช่วยเพิ่มการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด โมโนไซด์ (Monocyte) ซึ่งทำหน้าที่ช่วยปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคต่างๆ

3. เห็ดไมตาเกะ เห็ดยามาบูชิตาเกะ เห็ดฮิเมะมัตสึทาเกะ

งานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า การรับประทานสารสกัดจากเห็ดไมตาเกะร่วมกับสารสกัดจากเห็ดชิตาเกะ จะให้ผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกันมากกว่าการรับประทานเห็ดชนิดเดียว เพราะจะช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิดเนเชอรัลคิลเลอร์เซลล์ (Natural Killer Cell) ทำให้ร่างกายสามารถกำจัดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และสิ่งแปลกปลอมได้ดียิ่งขึ้น

4. เห็ดหลินจือ

หนึ่งในเห็ดทางการแพทย์ทีมีคุณสมบัติโดดเด่น สารสกัดเห็ดหลินจือช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยช่วยกระตุ้นการแบ่งตัวของเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) ทั้งชนิดบีเซลล์ (B-cell) และทีเซลล์ (T-cell) ซึ่งมีหน้าที่ช่วยกำจัดเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม

นอกจากนี้ยังทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาจ (Macrophage) ผลิตไซโตไคน์ (Cytokine) ชนิด Interleukin-1β (IL-1β), Interleukin-6 (IL-6) และ TNF-α ที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันในการกำจัดเชื้อโรคได้ดียิ่งขึ้นด้วย

ตามปกติการจะรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของสมุนไพรเหล่านี้ในชีวิตประจำวันเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก เพราะสมุนไพรเหล่านี้จำเป็นต้องผ่านกรรมวิธีการปรุงที่ถูกวิธีจึงจะได้รับคุณประโยชน์ที่ครบถ้วน

แบรนด์ ซันโทรี่จึงได้รวบรวมสมุนไพรเหล่านั้นมาไว้ในรูปแบบเครื่องดื่มที่ดื่มง่าย สะดวก และสามารถดื่มได้ทุกวัน โดยมีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานผ่านการทดลองและวิจัยแล้วว่าสามารถคงคุณค่าทางสารอาหารของสมุนไพรเหล่านั้นเอาไว้ได้ครบถ้วน

สำหรับผู้ที่รักสุขภาพผลิตภัณฑ์แบรนด์ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ในการเลือกบริโภคเพื่อการดูแลสุขภาพการเตรียมร่างกายในแข็งแรงพร้อมต่อสู้กับโรคร้ายจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยปกป้องคุณจากโรคร้ายได้ และอย่าลืมปฏิบัติตามคำแนะนำในการเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อให้เราได้ผ่านช่วงนี้ไปด้วยกัน


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, รังนก (http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/pop_printer_friendly.asp?TOPIC_ID=4842), 23 กันยายน 2554.
กรมประชาสัมพันธ์, สมาคมโสมเกาหลีให้การรับรองคุณภาพโสมเกาหลีผ่านงานวิจัยเชิงเปรียบเทียบ (https://www.prd.go.th/ewt_news.php?nid=210375&filename=constuction), 27 กันยายน 2561.
รองศาสตราจารย์ ดร. นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล,เห็ดหลินจือ จากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/researchknowledge/article/19/เห็ดหลินจือ จากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์), 12 กรกฎาคม 2555.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

การรับประทานวิตามินเสริมที่เหมาะสมอาจเป็นสิ่งที่แพทย์แนะนำ

อ่านเพิ่ม
Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล
Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล

สำรวจความหมาย และปริมาณดัชนีน้ำตาลในอาหารต่างๆ

อ่านเพิ่ม