สูตรยามาตรฐานในการรักษาวัณโรคสำหรับผู้ป่วยรายใหม่ทุกรายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ 2HRZE+4HR (H = Isoniazid, R = Rifampicin, Z = Pyrazinamide, E = Ethambutol)
ซึ่งหมายถึง จะมีการใช้ Isoniazid + Rifampicin + Pyrazinamide + Ethambutol นาน 2 เดือน จากนั้นก็ใช้ Isoniazide + Rifampicin ต่ออีก 4 เดือนนั่นเองค่ะ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ยาวัณโรคมีผลต่อยาคุมหรือไม่?
ตัวยารักษาวัณโรคที่อาจลดประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิด ก็คือ Rifampicin (ไรแฟมพิซิน) เนื่องจากมีผลเหนี่ยวนำอย่างรุนแรงให้มีการเปลี่ยนแปลงและกำจัดตัวยาฮอร์โมน ซึ่งไม่ได้มีผลกระทบเพียงแค่ฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างที่เคยเข้าใจในอดีตนะคะ แต่ยังรวมถึงฮอร์โมนโปรเจสตินบางชนิดอีกด้วย ดังนั้น ไม่ว่ายาคุมที่ใช้อยู่จะเป็นชนิดฮอร์โมนรวม (เอสโตรเจน + โปรเจสติน) หรือจะเป็นชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (มีเฉพาะโปรเจสติน) ก็ควรต้องระวังหรือหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับไรแฟมพิซินค่ะ
- การคุมกำเนิดปกติในผู้ป่วยวัณโรคที่ใช้ Rifampicin
- การคุมกำเนิดฉุกเฉินในผู้ป่วยวัณโรคที่ใช้ Rifampicin
หลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการเลือกวิธีคุมกำเนิด (Medical Eligibility Criteria for Contraceptive Use) ฉบับปรับปรุงปี 2017 ที่เผยแพร่โดยกองควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา (U.S. CDC) แนะนำวิธีคุมกำเนิดสำหรับผู้ที่ใช้ไรแฟมพิซินว่า ทางเลือกที่ดีที่สุดก็คือ การใส่ห่วงอนามัย (ทั้งชนิดหุ้มทองแดงและชนิดเคลือบฮอร์โมน) และการฉีดยาคุมกำเนิดชนิดที่ฉีดทุก 3 เดือนค่ะ
หรืออาจพิจารณาการฝังยาคุมกำเนิดก็ได้ แต่ต้องคอยติดตามผลว่าอาจมีความเสี่ยงที่ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์จะลดลงหรือไม่
ส่วนยาเม็ดคุมกำเนิด (ทั้งชนิดฮอร์โมนรวม และชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว), แผ่นแปะคุมกำเนิด และยาฉีดคุมกำเนิดชนิดที่ฉีดทุก 1 เดือน ควรหลีกเลี่ยงการใช้นะคะ
แต่หากจำเป็นจริง ๆ อาจพิจารณาการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมที่มีปริมาณเอสโตรเจนไม่ต่ำมาก นั่นคือ มี Ethinylestradiol ไม่น้อยกว่า 30 ไมโครกรัม/เม็ดก็ได้ แต่ถึงอย่างไร ก็มีความเสี่ยงที่ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดจะลดลงและเกิดการตั้งครรภ์ได้มากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทานไรแฟมพิซินร่วมด้วยอยู่ดีค่ะ
ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่มีใช้ในประเทศไทยในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อที่มีเม็ดยาแผงละ 2 เม็ด อย่างโพสตินอร์, มาดอนนา, แมรี่พิงค์, นอร์แพ็ก และเลดี้นอร์ หรือจะเป็นยี่ห้อที่มีเม็ดยาแผงละ 1 เม็ด อย่างเมเปิ้ลฟอร์ท ก็ล้วนแต่เป็นตัวยา Levonorgestrel (ลีโวนอร์เจสเทรล) เหมือนกัน และมีปริมาณยารวมทั้งแผงเท่ากันค่ะ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
แม้จะไม่มีการศึกษาโดยตรงว่าไรแฟมพิซิน จะลดระดับยาในเลือดของลีโวนอร์เจสเทรลได้หรือไม่ แต่มีการศึกษาที่ชี้ว่ายาที่มีผลเหนี่ยวนำอย่างรุนแรงให้เปลี่ยนแปลงและกำจัดยาเหมือนกันกับไรแฟมพิซิน อย่างยา Efavirenz (เอฟฟาไวเร็นซ์) สามารถลดระดับยาในเลือดของลีโวนอร์เจสเทรลได้มากถึง 56% ถ้ามีการใช้ร่วมกัน
อีกทั้งในการศึกษาการใช้ไรแฟมพิซินร่วมกับ Ulipristal (ยูลิพริสตัล) ซึ่งเป็นยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยวเช่นเดียวกับลีโวนอร์เจสเทรล และใช้เป็นยาคุมฉุกเฉินได้เช่นกัน (แต่ยังไม่มีใช้ในประเทศไทย) ระดับยาในเลือดของยูลิพริสตัลจะลดลงไปมากกว่า 90%
ดังนั้น หลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการเลือกวิธีคุมกำเนิด (U.S. Medical Eligibility Criteria for Contraceptive Use) ปี 2016 จึงไม่แนะนำให้คุมกำเนิดแบบฉุกเฉินด้วยการรับประทานยาคุมฉุกเฉินนะคะ แต่แนะนำให้เลือกวิธีใส่ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง ภายใน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์แทนค่ะ
อย่างไรก็ตามแม้ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากฝั่งอเมริกาจะไม่แนะนำให้ผู้ที่ใช้ไรแฟมพิซินรับประทานยาคุมฉุกเฉิน แต่ก็มีความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากฝั่งอังกฤษที่แนะนำว่า แม้จะไม่ใช่ทางเลือกที่ดี แต่ในกรณีที่ไม่สามารถเลือกวิธีการใส่ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง ก็สามารถรับประทานยาคุมฉุกเฉินได้ค่ะ
โดยแนวทางของ FSRH UKMEC guidance ปี 2016 แนะนำให้ผู้ที่ใช้ไรแฟมพิซิน รับประทานยาคุมฉุกเฉินชนิดตัวยาลีโวนอร์เจสเทรลในขนาดที่มากเป็น 2 เท่าของขนาดปกติ และรับประทานพร้อมกันในครั้งเดียวภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ นั่นคือ ต้องรับประทานยาคุมฉุกเฉินรวม 2 กล่องในครั้งเดียวนะคะ แต่ประสิทธิภาพในการป้องกันฉุกเฉิน ก็ยังต่ำกว่าการใส่ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดงมากอยู่ดีค่ะ