อาการผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส

คุณเคยเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหรือน้ำยาซักผ้าตัวใหม่ก่อนที่ผิวหนังจะมีอาการแดงและระคายเคืองหรือไม่ หากใช่ แสดงว่าคุณเคยมีอาการผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสมาก่อน ภาวะนี้เป็นภาวะที่เกิดจากการที่มีสารเคมีมาสัมผัสกับร่างกายและทำให้เกิดปฏิกิริยา อาการของโรคนี้ส่วนมากนั้นไม่รุนแรง แต่ก็ทำให้เกิดคันที่ทำให้ไม่สบายตัวได้

อาการที่พบ

อาการที่พบนั้นจะขึ้นกับสาเหตุและความไวของร่างกายคุณต่อสารดังกล่าว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้

อาการที่เกี่ยวข้องกับการเกิดผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ประกอบด้วย

  • ผิวหนังแห้ง แตกเป็นขุย
  • ลมพิษ
  • ตุ่มน้ำที่แตก
  • ผิวหนังแดง
  • ผิวหนังที่ดูมีสีเข้มขึ้นหรือมีสัมผัสเหมือนกับหนัง
  • ผิวหนังที่มีลักษณะไหม้
  • คันอย่างรุนแรง
  • ไวต่อแสง
  • มีอาการบวมโดยเฉพาะที่ตา ใบหน้าหรือขาหนีบ

ผิวหนังอักเสบจากสารระคายเคือง

ผิวหนังอักเสบจากสารระคายเคืองนั้นอาจจะมีอาการแตกต่างออกไปเล็กน้อยเช่น 

  • มีตุ่มน้ำ
  • ผิวหนังแตกแยกออกจากการที่ผิวหนังแห้ง
  • บวม
  • ผิวหนังรู้สึกตึงหรือแน่น
  • มีแผล
  • มีแผลเปิดที่ตกสะเก็ด

สาเหตุ

โรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ

  1. ผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้
  2. ผิวหนังอักเสบจากสารระคายเคือง
  3. ผิวหนังอักเสบจากการโดนแสง

ผิวหนังอักเสบจากการโดนแสงนั้นพบได้น้อยที่สุด โดยเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้เวลาที่มีส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผิวหนังนั้นสัมผัสกับแสงแดดและทำให้เกิดการระคายเคือง

ผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้

โรคนี้เกิดจากการที่ผิวหนังนั้นเกิดปฏิกิริยาแพ้ขึ้นหลังจากสัมผัสกับสารแปลกปลอม ทำให้ร่างกายหลั่งสารที่ทำให้เกิดการอักเสบส่งผลให้มีอาการคันและระคายเคืองที่ผิวหนัง

สาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้เกิดภาวะนี้เช่น

  • เครื่องประดับที่ทำจากนิกเกิลหรือทอง
  • ถุงมือยาง
  • น้ำหอมหรือสารเคมีที่ผสมในเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
  • พิษจากเถาไอวี่หรือต้นโอ๊ค

ผิวหนังอักเสบจากสารระคายเคือง

ชนิดนี้เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของโรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส โดยเกิดเมื่อผิวหนังนั้นสัมผัสกับสารที่เป็นพิษ

ตัวอย่างสารที่เป็นพิษที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • กรดจากแบตเตอร์รี่
  • สารฟอกขาว
  • น้ำยาล้างท่อ
  • Kerosene
  • น้ำยาซักผ้า
  • สเปรย์พริกไทย

นอกจากนั้นยังอาจจะเกิดจากการที่ผิวหนังสัมผัสกับสารที่ระคายเคืองน้อยเช่นสบู่หรือน้ำ แต่บ่อยเกินไป ผู้ที่มือนั้นต้องสัมผัสกับน้ำบ่อยๆ เช่นช่างทำผม บาร์เทนเดอร์และบุคลากรทางการแพทย์นั้นมักจะเกิดภาวะนี้ที่มือ

การรักษา

ส่วนมากอาการของผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสนั้นจะหายไปเองเมื่อไม่ได้มีการสัมผัสกับสารที่ทำให้เกิดอาการ ต่อไปนี้เป็นวิธีที่คุณสามารถทดลองได้ที่บ้าน

  • หลีกเลี่ยงการเกาบริเวณผิวหนังที่มีการระคายเคือง การเกานั้นจะทำให้ระคายเคืองมากขึ้นและอาจทำให้ผิวหนังติดเชื้อซึ่งต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา
  • ทำความสะอาดผิวหนังด้วยสบู่ที่อ่อนโยนและน้ำอุ่นเพื่อกำจัดสารที่ทำให้เกิดการระคายเคือง
  • หยุดใช้ผลิตภัณฑ์ที่คิดว่าอาจจะทำให้เกิดปัญหา
  • ทาปิโตรเลียมเจลลี่เช่นวาสลีนลงบนบริเวณดังกล่าวเพื่อบรรเทาอาการ
  • ลองใช้ผลิตภัณฑ์แก้คันเช่นโลชั่นคาลาไมน์ หรือ hydrocortisone cream
  • หากจำเป็นอาจจะรับประทานยาแก้แพ้เพื่อช่วยบรรเทาอาการคันและลดปฏิกิริยาแพ้ที่เกิดขึ้น

ส่วนใหญ่แล้ว โรคนี้ไม่ใช่โรคที่ควรกังวล แต่ถ้าหากมีผื่นขึ้นที่ใกล้ดวงตาหรือปาก หรือเป็นผื่นบริเวณกว้าง หรือไม่ดีขึ้นหลังจากรักษาที่บ้านอาจจะต้องไปพบแพทย์ แพทย์สามารถส่งจ่ายครีมสเตียรอยด์ที่มีฤทธิ์แรงขึ้นหากครีมที่ใช้อยู่นั้นไม่สามารถบรรเทาอาการได้

การวินิจฉัยโรค

ควรไปพบแพทย์หากมีอาการรุนแรงหรือไม่ดีขึ้น แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจผิวหนังที่เป็น ตัวอย่างคำถามที่คุณอาจจะได้รับเช่น

  • เมื่อไหร่ที่เริ่มสังเกตอาการ
  • อะไรทำให้อาการนั้นดีขึ้นหรือแย่ลง
  • คุณมีไปปีนเขาก่อนที่จะเกิดอาการหรือไม่
  • มีการใช้ผลิตภัณฑ์ใดที่ผิวหนังเป็นประจำทุกวันหรือไม่
  • มีสารเคมีใดที่คุณสัมผัสเป็นประจำหรือไม่
  • คุณประกอบอาชีพอะไร?

แพทย์อาจจะส่งต่อให้ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้หรือแพทย์ผิวหนังเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถทำการทดสอบภูมิแพ้ต่อสารต่างๆ ซึ่งถ้าหากผิวหนังเกิดปฏิกิริยาขึ้นกับสารใด แสดงว่าสารนั้นอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นดังกล่าว

การป้องกัน

การหลีกเลี่ยงสารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองนั้นเป็นวิธีที่สามารถป้องกันการเกิดผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสได้ ให้ลองใช้วิธีต่อไปนี้

  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เขียนว่ามีสารที่ก่อภูมิแพ้น้อยหรือไม่มีกลิ่น
  • หลีกเลี่ยงการใส่ถุงมือยางหากมีอาการแพ้ยาง และเลือกถุงมือชนิดอื่นแทน
  • ใส่เสื้อและกางเกงขายาวเวลาปีนเขา
  • หากสังเกตว่ามีการระคายเคืองเกิดขึ้นหลังจากเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ให้หยุดใช้ทันที หากคุณรู้ว่าผิวหนังของคุณนั้นไวต่อสารต่างๆ ให้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่นั้นในพื้นที่และปริมาณเล็กน้อยก่อน เช่นที่แขน ปิดบริเวณดังกล่าวไม่ให้โดนน้ำหรือสบู่ และดูปฏิกิริยาหลังจากผ่านไปแล้ว 48 และ 96 ชั่วโมง หากมีผื่นแดงหรือการระคายเคืองเกิดขึ้น ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Contact dermatitis. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/contact-dermatitis/)
Contact dermatitis: Triggers and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318099)
Contact Dermatitis: Causes, Symptoms, and Treatment. Healthline. (https://www.healthline.com/health/contact-dermatitis)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)