โรคปลายประสาทอักเสบบางครั้งสามารถเป็นสาเหตุของโรคอื่นๆ ตามมาได้ เช่น แผลที่เท้า จังหวะการเต้นของหัวใจเปลี่ยนแปลงไป และปัญหาการไหลเวียนโลหิต โดยอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันขึ้นกับสาเหตุของโรคที่เป็น
แผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
แผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานคือลักษณะของบาดแผลเปิด หรือแผลเปื่อยบนผิวหนังที่หายได้ยาก (หายช้า) ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคเส้นประสาทจากโรคเบาหวาน (diabetic polyneuropathy)
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ถ้าคุณมีอาการชาที่เท้า อาจส่งผลให้เท้าเกิดแผลได้ง่ายหากคุณเหยียบโดนอะไรที่แหลมคม
แผลที่เท้ายังเกิดขึ้นได้ง่ายจากการที่มีตุ่มน้ำขึ้นเพราะใส่รองเท้าที่คับแน่นเกินไป ถ้าคุณไม่รู้สึกถึงอาการปวด คุณอาจยังเดินต่อไปโดยไม่รู้ตัว ทำให้ตุ่มน้ำนั้นแย่ลงและมีรอยแผลมากขึ้น ทำให้เป็นบาดแผลเรื้อรังได้
ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูจะไปทำลายเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเท้าหดเล็กลง เมื่อเลือดไปเลี้ยงเท้าลดลงนั่นหมายความว่าคุณจะมีเซลล์ที่คอยต่อสู้กับเชื้อโรคลดลงด้วย ทำให้คุณมีโอกาสติดเชื้อ แผลหายยาก และนำไปสู่การเกิดเนื้อตายเน่า
เนื้อตายเน่า (gangrene)
ถ้าแผลที่เท้ามีการติดเชื้อเนื่องจากโรคปลายประสาทอักเสบ คุณจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้อตายเน่า (เนื้อเยื่อหรือผิวหนังที่ตาย)
ถ้าเนื้อตายเน่าเหล่านั้นเกิดขึ้น คุณอาจต้องทำการผ่าตัดเพื่อกำจัดเนื้อเยื่อบริเวณนั้นไป หรืออาจเรียกว่า การทำความสะอาดแผล (debridement) และได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อที่เกิดขึ้น ในกรณีที่รุนแรงขึ้น นิ้วเท้าของคุณหรือเท้าของคุณอาจจำเป็นต้องถูกตัดออกไปด้วย
หากคุณเป็นโรคเบาหวาน คุณควรดูแลเท้าเป็นอย่างดี ทำการตรวจบริเวณเท้าของคุณโดยแพทย์เฉพาะทางให้บ่อยมากขึ้น (แพทย์เฉพาะทางด้านการดูแลเท้า)
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในหัวใจจากปลายประสาทอัตโนมัติเสื่อม (Cardiovascular autonomic neuropathy)
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในหัวใจจากปลายประสาทอัตโนมัติเสื่อม คือปัญหาร้ายแรงที่พบได้ในผู้ป่วยโรคเส้นประสาทจากโรคเบาหวาน
โรคนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการทำลายเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานอัตโนมัติของร่างกาย ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการไหลเวียนเลือดและการเต้นของหัวใจ
อาการหลักที่จะพบได้คือ
- ไม่สามารถออกกำลังกายได้มากกว่าช่วงเวลาสั้นๆ
- ความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าทาง (orthostatic hypotension)-คือภาวะความดันโลหิตต่ำที่ทำให้มีอาการเวียนศีรษะหรือหน้ามืดเมื่อลุกขึ้นยืน
การรักษาความผิดปกติที่เกิดขึ้นในหัวใจจากปลายประสาทอัตโนมัติเสื่อม
คุณอาจควบคุมอาการความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าทางได้ด้วยการใช้เทคนิคดูแลตนเองต่างๆ เช่น
- คอยๆ ลุก ค่อยๆ นั่งอย่างช้าๆ
- ดื่มน้ำให้มากเพียงพอเพื่อเพิ่มปริมาณเลือดในร่างกายและช่วยเพิ่มความดันโลหิต
- สวมถุงน่องที่ช่วยกระชับเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับลงสู่ด้านล่างของขา
ในบางกรณี อาจจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อรักษาอาการความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าทาง
ยาที่ใช้บ่อยได้แก่
- Fludrocortisone-ซึ่งทำงานโดยการเพิ่มปริมาณของเลือด
- midodrine-ซึ่งทำงานโดยการหดหลอดเลือด
สิ่งร้ายแรงที่ต้องกังวลของโรคนี้คือ หัวใจของคุณอาจเต้นผิดปกติ นำไปสู่หัวใจหยุดเต้นได้เพื่อป้องกันภาวะดังกล่าว คุณอาจได้รับการสั่งยาเพื่อกระตุ้นการเต้นของหัวใจ เช่น ยา flecainide, ยาในกลุ่ม beta-blockers หรือ amiodarone หากคุณเป็นโรคนี้ คุณอาจต้องเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเป็นประจำเพื่อติดตามการทำงานของหัวใจอย่างสม่ำเสมอ