เปรียบเทียบ น้ำตาเทียมยี่ห้อ แนทเทียร์ ยูดี (Natear UD) และ แนทเทียร์ (Natear)

ต่างก็มีส่วนประกอบสำคัญเหมือนกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 3 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เปรียบเทียบ น้ำตาเทียมยี่ห้อ แนทเทียร์ ยูดี (Natear UD) และ แนทเทียร์ (Natear)

น้ำตาเทียมยี่ห้อ แนทเทียร์ ยูดี (Natear UD) และ แนทเทียร์ (Natear) ต่างก็มีส่วนประกอบสำคัญเหมือนกันค่ะ คือ Hydroxypropyl methylcellulose (HPMC) หรือ Hypromellose ในความเข้มข้น 0.3% เป็นสารเพิ่มความหนืด ทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตา ช่วยเพิ่มระยะเวลาให้น้ำตาอยู่บนผิวตาได้นานขึ้น และปกป้องผิวกระจกตา

น้ำตาเทียมแนทเทียร์ (Natear)

บรรจุอยู่ในขวดยาหยอดตาแบบใช้หลายครั้ง ขนาด 10 มิลลิลิตร เพื่อให้ปราศจากเชื้อและคงสภาพอยู่ได้นาน 1 เดือนหลังเปิดใช้ จึงมีการใส่สารกันเสียที่ชื่อว่า Sodium perborate หรือ Purite ซึ่งสลายตัวได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับฟิล์มน้ำตา (การแผ่เป็นชั้นบาง ๆ ของน้ำตาตามธรรมชาติ) ทำให้ปลอดภัยกว่าน้ำตาเทียมที่ใช้สารกันเสียรุ่นเก่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

น้ำตาเทียมแนทเทียร์ ยูดี (Natear UD)

บรรจุอยู่ในหลอดยาแบบใช้ครั้งเดียว ขนาด 0.8 มิลลิลิตร มีขนาดบรรจุกล่องละ 7 หลอด (ตามภาพตัวอย่าง) และกล่องละ 28 หลอด เนื่องจากไม่มีการใส่สารกันเสีย จึงมีความปลอดภัยในการใช้มากกว่า แต่ก็ทำให้มีอายุการใช้งานสั้นกว่ามาก คือต้องใช้ให้หมดหลอดภายใน 24 ชั่วโมงหลังเปิดใช้

ข้อแตกต่างระหว่างน้ำตาเทียม แนทเทียร์ กับ แนทเทียร์ ยูดี

แนทเทียร์ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการระคายเคืองตาจากลม แสงแดด ฝุ่นละออง, การจ้องมองคอมพิวเตอร์หรืออ่านหนังสือเป็นเวลานาน ๆ หรือผู้ที่มีอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรง โดยหยอดตาข้างที่มีอาการครั้งละ 1 – 2 หยด วันละ 2 – 3 ครั้ง หรือเมื่อรู้สึกเคืองตา

อีกทั้งยังใช้เพิ่มความชุ่มชื้นและหล่อลื่นในผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์หรือลูกตาเทียม โดยหยอดยา 2 – 3 หยดบนคอนแทคเลนส์หรือลูกตาเทียมก่อนใส่เข้าตา

ส่วน แนทเทียร์ ยูดี เนื่องจากปราศจากสารกันเสีย จึงนำมาใช้ในผู้ที่ต้องการใช้แนทเทียร์สูตรปกติ แต่แพ้หรือระคายเคืองสารกันเสียที่ผสมอยู่, ผู้ป่วยหลังผ่าตัดตา รวมไปถึงผู้ที่ต้องใช้น้ำตาเทียมบ่อย ๆ (มากกว่า 6 ครั้ง/วัน) หรือจำเป็นต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน (มากกว่า 3 เดือน) โดยใช้ในขนาดเดียวกันกับแนทเทียร์ เมื่อใช้แล้วให้ครอบฝาปิดหลอดยาเก็บไว้ใช้ครั้งต่อไป จะเก็บไว้ในหรือนอกตู้เย็นก็ได้ค่ะ ให้อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส แต่ควรทิ้งยาที่เปิดแล้วหากใช้ไม่หมดภายใน 24 ชั่วโมงนะคะ

เมื่อพิจารณาในด้านราคา แนทเทียร์ และ แนทเทียร์ ยูดี ขนาด 7 หลอด มีราคาใกล้เคียงกัน คือประมาณ 90 – 120 บาท ซึ่งแนทเทียร์หลังเปิดขวดแล้วจะเก็บได้นาน 1 เดือน ส่วนแนทเทียร์ ยูดี จะเก็บหลอดยาที่เปิดใช้แล้วได้นาน 24 ชั่วโมง 

แม้ว่าแนทเทียร์จะดูว่ามีความคุ้มค่ามากกว่าเมื่อเทียบปริมาณยากับราคาที่จ่าย แต่สำหรับผู้ที่มีอาการไม่บ่อย ต้องการใช้ชั่วครั้งชั่วคราว แนทเทียร์ ยูดี กลับเป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่าค่ะ เช่น ในกรณีที่อาการไม่เรื้อรัง อาจมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาเพียงแค่ 2 – 3 วัน ถ้าใช้แนทเทียร์ ซึ่งเป็นขวดใหญ่ เมื่อเปิดใช้ครบ 1 เดือนก็ต้องทิ้งไป ไม่ว่าจะมียาเหลืออยู่มากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าใช้แนทเทียร์ ยูดี อาจใช้เพียง 2 – 3 หลอด ส่วนที่เหลือ เมื่อไม่ได้เปิดใช้ ก็สามารถเก็บไว้ได้จนกว่าจะถึงวันหมดอายุนะคะ

อย่างไรก็ตาม น้ำตาเทียมยี่ห้อแนทเทียร์ ใช้สำหรับบรรเทาอาการตาแห้งเท่านั้น แต่ไม่สามารถรักษาหรือแก้ไขสาเหตุที่ทำให้ตาแห้งได้ นอกจากนี้ ยังใช้ได้เฉพาะกับอาการตาแห้งในระดับไม่รุนแรง ดังนั้น หากใช้แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และรับการรักษาที่เหมาะสมกว่าด้วยนะคะ


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Natear Full Prescribing Information, Dosage & Side Effects. MIMS.com. (https://www.mims.com/thailand/drug/info/natear?type=full)
Natear Dosage & Drug Information. MIMS.com. (https://www.mims.com/thailand/drug/info/natear)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ความแตกต่างของยาหยอดตาและป้ายตา
ความแตกต่างของยาหยอดตาและป้ายตา

รวมข้อแตกต่างรวมถึงวิธีใช้อย่างครบถ้วนของยาหยอดตาและยาป้ายตา ข้อควรรู้ ข้อควรระวังของยาแต่ละชนิด

อ่านเพิ่ม