กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ทำความรู้จักลมพิษจากการสัมผัสความเย็น หรือโรคภูมิแพ้อากาศหนาว

การเกิดลมพิษเมื่อสัมผัสกับความหนาวเย็น
เผยแพร่ครั้งแรก 3 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 5 ก.พ. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 5 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ทำความรู้จักลมพิษจากการสัมผัสความเย็น หรือโรคภูมิแพ้อากาศหนาว

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • คนที่ผิวหนังไวต่อสิ่งกระตุ้น ร่างกายไม่แข็งแรง อาจมีโอกาสเป็น ลมพิษจากการสัมผัสความเย็น หรือที่เรียกว่า “โรคภูมิแพ้อากาศหนาว”
  • สามารถตรวจเบื้องต้นได้โดยการนำน้ำแข็งมานาบผิว หากมีลมพิษ หรืออาการบวมแสดงว่า แพ้
  • ควรตรวจภูมิแพ้เพิ่มเติมเพื่อวัดระดับความรุนแรง เพราะอาการแพ้รุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และหากได้รับวินิจฉัยว่า แพ้รุนแรงจะต้องพกยาฉีดอะดรีนาลีนติดตัวเสมอ
  • วิธีป้องกันคือ หลีกเลี่ยงอากาศเย็น การอาบน้ำเย็น หรือว่ายน้ำ รวมทั้งรักษาอุณหภูมิห้องให้อบอุ่น 
  • หากรักษาเบื้องต้นแล้ว อาการไม่ดีขึ้น ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ได้ที่นี่

ลมพิษจากการสัมผัสความเย็น หรือที่เรียกกันว่า โรคภูมิแพ้อากาศหนาว เป็นโรคภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดผื่นคัน หรือผื่นนูนแดงทันทีที่ผิวหนังสัมผัสความเย็น ไม่ว่าจะเป็นลมหนาว อุณหภูมิในห้องปรับอากาศ น้ำเย็น หรือสิ่งของที่เย็นจัด

แม้ส่วนมากจะไม่มีอาการรุนแรง แต่ก็อาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว และเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ หรือในกรณีที่พบได้น้อยก็อาจนำไปสู่ภาวะแพ้รุนแรงแบบเฉียบพลันที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

รู้จักกับลมพิษจากการสัมผัสความเย็น

ภาวะลมพิษจากการสัมผัสความเย็น หรือโรคภูมิแพ้อากาศหนาว จัดอยู่ในกลุ่มอาการลมพิษที่เกิดจากการสัมผัส โดยมีตัวกระตุ้นการแพ้เป็นความเย็นในรูปแบบต่างๆ เช่น อากาศเย็น เครื่องดื่มเย็นๆ อาหาร การว่ายน้ำเย็น หรือการสัมผัสสิ่งของเย็นจัด 

คนส่วนใหญ่ที่มีภาวะนี้มักมีอาการไม่รุนแรง มีเพียงอาการผื่นลมพิษ แดง คัน หรือผิวบวมขึ้นหลังจากสัมผัสกับความเย็น

อย่างไรก็ตามในบางคนอาจมีอาการแพ้แบบรุนแรงเฉียบพลัน หรือที่เรียกว่า “ภาวะแอนาฟิแลกซิส (Anaphylaxis)” ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อาการแพ้รุนแรงอาจทำให้หัวใจเต้นเร็ว บวมตามแขนขา หมดสติ ชีพจรอ่อน และมีภาวะช็อก โดยมีรายงานพบว่า ผู้ป่วยโรคนี้บางคนมีความดันโลหิตต่ำ หมดสติ และช็อกหลังจากว่ายในน้ำเย็น

สาเหตุของลมพิษจากการสัมผัสความเย็น

ในปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคภูมิแพ้อากาศหนาวได้อย่างแน่ชัด

ทราบเพียงว่า การสัมผัสความหนาวเย็นจะกระตุ้นการหลั่งสารฮิสตามีน และสารอื่นๆ จนทำให้เกิดอาการแดง คัน หรือเกิดปฏิกิริยาทั่วทั้งร่างกายอย่างอาการแพ้แบบรุนแรงเฉียบพลันได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

บุคคลที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะนี้ คือ

  • ป่วยเป็นโรคบางอย่าง เช่น การติดเชื้อ โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง หรือโรคมะเร็ง
  • มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคลมพิษจากการสัมความเย็น
  • คนที่มีเซลล์ผิวหนังไวต่อตัวกระตุ้นมาก

จะรู้ได้อย่างไรว่า เป็นลมพิษจากการสัมผัสความเย็น?

การวินิจฉัยโรคนี้ทำได้โดยการใช้น้ำแข็งเป็นตัวกระตุ้นเพื่อทดสอบอาการแพ้

ขั้นตอนแรกจะใช้วัตถุเย็น เช่น แพ็คน้ำแข็งเทียม น้ำแข็งสี่เหลี่ยม หรือวัตถุเย็นอื่นๆ มาประคบเย็นไว้ที่ปลายแขนประมาณ 10 นาทีก่อนจำเอาออก 

หากมีผื่นลมพิษ หรืออาการบวมเกิดขึ้นภายใน 5 นาทีหลังจากนำน้ำแข็งออก แสดงว่าผลการทดสอบเป็นบวก คือมีภาวะลมพิษจากการสัมผัสความเย็นจริง

โดยระยะเวลานับจากที่นำวัตถุเย็นออกจนกระทั่งเกิดผื่นนั้น สามารถบ่งบอกความรุนแรงของภาวะลมพิษที่เกิดขึ้นได้ด้วย ยิ่งเกิดผื่นเร็วเท่าไรก็ยิ่งแสดงถึงภาวะแพ้ที่รุนแรงมากกว่าเท่านั้น

ขั้นตอนถัดไปเมื่อถูกวินิจฉัยว่า เป็นลมพิษจากการสัมผัสความเย็น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เมื่อผลการวินิจฉัยบ่งบอกว่า คุณเป็นลมพิษจากการสัมผัสความเย็น ขั้นตอนถัดไปก็คือ การตรวจภูมิแพ้เพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุหรือโรคอื่นๆ ที่อาจเป็นปัจจัยให้เกิดภาวะนี้

โดยอาจใช้การตรวจเลือดเพื่อสืบหาโรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเม็ดเลือดขาว และภาวะการติดเชื้อบางชนิด เช่น โรคโมโนนิวคลิโอซิสที่เกิดจากเชื้อไวรัสอีบีวี โรคไวรัสตับอักเสบ หรือโรคซิฟิลิส

รวมทั้งสอบถามประวัติการใช้ยาในช่วงที่ผ่านมา เพราะมีรายงานว่า การใช้ยาบางชนิด ได้แก่ ยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนนิซิลลิน ยาคุม หรือยาต้านเชื้อราบางชนิด เช่น ไกรซิโอฟลาวิน อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดผื่นลมพิษจากการสัมผัสความเย็นได้เช่นกัน

ชนิดของลมพิษจากการสัมผัสความเย็น

อย่างไรก็ตามบางคนที่มีภาวะลมพิษจากการสัมผัสความเย็นบางชนิดที่แยกย่อยออกไปนั้น อาจแสดงอาการหลังจากการทดสอบแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของลมพิษนั้นๆ ได้แก่

1. ภาวะผื่นลมพิษที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ

คนกลุ่มนี้จะเกิดลมพิษขึ้นภายหลังจากการสัมผัสความเย็นในเวลาที่นานออกไปถึง 12-48 ชม. โดยหากทดสอบด้วยการใช้น้ำแข็งจะให้ผลบวกในเวลาถัดไปหลายชั่วโมง

2. ภาวะผื่นลมพิษแบบเดอร์มาโตกราฟิซึม

เป็นลมพิษจากการสัมผัสความเย็นที่มีลักษณะเป็นรูปนูนตามรอยขีด ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อออกแรงกด หรือถูบนผิวหนังที่สัมผัสความเย็น ทดสอบโดยใช้น้ำแข็งร่วมกับใช้วัตถุที่มีความทู่ เช่น ปากกา ถูลงบนผิวหนังไปด้วย

3. ภาวะผื่นลมพิษโคลิเนอร์จิก

เป็นลมพิษที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีการหลั่งสารโคลิเนอร์จิกส์ ซึ่งถูกกระตุ้นด้วยความเย็น คนที่มีภาวะแพ้กลุ่มนี้จะเกิดผื่นเมื่อออกกำลังกายในสภาพอากาศเย็น

แต่หากออกกำลังกายในสภาวะอากาศที่อุ่นแล้วยังเกิดลมพิษแสดงว่า เป็นภาวะลมพิษโคลิเนอร์จิกเพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีอุณหภูมิมาเป็นตัวกระตุ้นร่วมให้เกิดผื่น

4. ภาวะผื่นลมพิษจากการสัมผัสความเย็นเฉพาะที่

จะทำให้เกิดผื่นลมพิษบนผิวหนังบริเวณที่ห่างออกไปจากจุดที่สัมผัสความเย็นโดยตรง เมื่อทดสอบโดยการใช้น้ำแข็งจะเห็นเป็นผื่นขึ้นบริเวณที่ห่างออกไปจากบริเวณที่วางน้ำแข็ง 2-3 นิ้ว

การรักษา และควบคุม อาการลมพิษจากการสัมผัสความเย็น

แม้โรคภูมิแพ้อากาศหนาวไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่คุณก็สามารถควบคุมดูแลไม่ให้มีอาการกำเริบในฤดูหนาวได้ ดังนี้

  • ปรับอุณหภูมิภายในที่พักให้อยู่ในระดับอบอุ่นพอดี
  • อาจควบคุมอาการแพ้ด้วยการรับประทานยาแก้แพ้ ซึ่งควรรับประทานก่อนสัมผัสอากาศหนาว หรือน้ำเย็น เพื่อป้องกันอาการกำเริบ
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำเย็น หรือการว่ายน้ำ เพราะเมื่อลมหนาวมาปะทะร่างกายขณะเปียก อาจทำให้มีอาการแพ้รุนแรงได้
  • ใส่เสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น และปกปิดร่างกายให้มิดชิดจากลมหนาว

การป้องกันลมพิษจากการสัมผัสความเย็น

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสภาพอากาศที่เย็น โดยเฉพาะการว่ายน้ำในน้ำที่มีอุณหภูมิเย็น เนื่องจากมีโอกาสเกิดการแพ้รุนแรงเฉียบพลัน ซึ่งอาจทำให้จมน้ำได้
  • หากมีประวัติอาการแพ้รุนแรงควรพกยาฉีดอะดรีนาลีนชนิดเข็มพกพาติดตัวไว้เสมอ
  • ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภูมิแพ้ชนิดนี้
  • หลีกเลี่ยงอาหารเย็นๆ เช่น ไอศกรีม และเครื่องดื่มเย็น
  • หมั่นรักษาความสะอาดของร่างกาย และสิ่งของใกล้ตัว เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรค
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูงเพื่อช่วยเสริมสร้างระบบภูมคุ้มกัน เช่น ผลไม้หลากสีชนิดต่างๆ และออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง จะช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Healthline, Hives (https://www.healthline.com/health/hives), 18 May 2017.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)