กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

เจาะลึก “การขลิบน้องชาย” ทำไมต้องขลิบ ขลิบแล้วมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?

ภูมิปัญญาที่พบหลักฐานตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ ไม่ใช่แค่น่าทึ่ง แต่การศึกษาในปัจจุบันยังพบว่าน่าปฏิบัติไม่น้อย
เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 2 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เจาะลึก “การขลิบน้องชาย” ทำไมต้องขลิบ ขลิบแล้วมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?

เคยสงสัยไหมว่า เพราะอะไรชาวอิสลามจึงต้อง ขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศชาย (Circumcision) ที่ภาษาไทย เรียกว่า "การทำสุนัต" เมื่อขลิบแล้วจะให้ผลดีอย่างไรบ้าง ในบทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ และข้อดีที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน

ความเชื่อเกี่ยวกับการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

ในอดีตการขลิบอวัยวะเพศชายมีความเชื่อที่หลากหลายในแต่ละชนเผ่า เช่น อียิปต์โบราณ เชื่อว่าการตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศของผู้ชายออกจะเป็นการแสดงถึงการเริ่มต้นเข้าสู่ความเป็นผู้ชายอย่างเต็มตัว ส่วนชาวอิสลามเชื่อว่าจะเป็นการส่งเสริมเรื่องสุขอนามัยและทำให้สะอาดบริสุทธิ์ ซึ่งมีกฎว่าจะต้องขลิบหลังจากเด็กเกิดได้ 7 วัน แต่หากสุขภาพของเด็กยังไม่พร้อม หรือมีเหตุสุดวิสัยก็อนุญาตให้เลื่อนออกไปจนถึงอายุ 7 ขวบได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความจริงทางการแพทย์

จากข้อมูลทางการแพทย์พบว่า  อวัยวะเพศชายที่ยังไม่ผ่านการขลิบในภาวะอ่อนตัวจะมีหนังหุ้ม (foreskin) ถึงปลายอวัยวะเพศ ซึ่งทำให้ยากต่อการทำความสะอาด เกิดการหมักหมมของเหงื่อ น้ำปัสสาวะและน้ำอสุจิ เรียกว่า ขี้เปียก (smegma) ทำให้มีกลิ่นเหม็นและเป็นจุดรวมของเชื้อโรคเป็นจำนวนมากได้ เช่น กามโรค การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ  ภาวะหนังหุ้มปลายตีบแน่น ซึ่งเป็นอันตรายไม่น้อย 

ดังนั้นทางการแพทย์จึงสนับสนุนให้มีการขลิบหนังที่หุ้มส่วนปลายอวัยวะเพศชายออกตั้งแต่วัยเด็ก เพราะจะทำให้สามารถดูแลและทำความสะอาดอวัยวะเพศได้ง่ายขึ้น ลดโอกาสการภาวะหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศตีบ  เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อ HPV ลดโอกาสการเกิดมะเร็งปากมดลูกในหญิงที่เป็นคู่นอน รวมทั้งลดโอกาสการเกิดมะเร็งองคชาติได้   

ภาวะหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศตีบ คืออะไร?

ภาวะหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศตีบ (Phimosis) เป็นปัญหาที่เกิดกับผู้ชายที่ไม่ได้ขลิบอวัยวะเพศ โดยหนังหุ้มปลายจะตีบจนไม่สามารถรูดเปิดได้ แม้ในขณะที่กำลังจะมีเพศสัมพันธ์ก็ไม่สามารถรูดหนังหุ้มปลายลงมาได้ตามปกติ นอกจากนี้ยังอาจสร้างความเจ็บปวดทรมานให้กับผู้ป่วยได้ไม่น้อย  อีกทั้งด้วยความที่รูตีบเล็กมากเกินไปก็จะทำให้ปัสสาวะลำบากและหลั่งน้ำอสุจิออกมาได้น้อย ประเด็นหลังอาจส่งผลให้มีบุตรยากเนื่องจากไม่สามารถส่งตัวอสุจิให้เข้าไปถึงเซลล์ไข่ของผู้หญิงได้นั่นเอง   ทั้งนี้การรักษาอาจมีความยุ่งยากพอสมควรและเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน ดังนั้นการขลิบตั้งแต่วัยเด็ก จึงเป็นวิธีที่สามารถตัดปัญหาได้ดีที่สุด

ข้อดีของการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศมีข้อดีมากมาย ไม่ใช่แค่เพียงความเชื่อตามศาสนาของชาวอิสลามเท่านั้น โดยข้อดีของการขลิบอวัยวะเพศมีดังนี้

1.ทำความสะอาดง่ายขึ้น

ผู้ชายส่วนใหญ่คิดว่าการล้างทำความสะอาดอวัยวะเพศจากภายนอกก็สะอาดแล้ว แต่รู้ไหมว่ายังมีคราบสกปรกและเหงื่อไคลที่สะสมอยู่ภายในหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ซึ่งถือเป็นแหล่งเชื้อโรคชั้นดีและเป็นต้นเหตุของอาการป่วยที่เกิดขึ้นกับอวัยวะเพศและระบบสืบพันธุ์อีกด้วย ดังนั้นการขลิบหนังหุ้มปลายนออกจึงทำให้ล้างทำความสะอาดได้ง่ายขึ้นและไม่มีคราบสกปรกไปสะสมอยู่แน่นอน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2.ลดความเสี่ยงมะเร็ง

ด้วยเชื้อโรคที่สะสมอยู่ภายในหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศอาจทำให้เสี่ยงต่อการกลายพันธุ์ของเซลล์เกิดเป็นมะเร็งได้ง่าย ดังนั้นการขลิบอวัยวะเพศจึงเป็นวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะมะเร็งองคชาติ

3.ป้องกันกามโรค

กามโรคเป็นโรคหนึ่งที่เกิดได้มากในผู้ชาย ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากความไม่สะอาดของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศที่มีสิ่งสกปรกและคราบเหงื่อไคลสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก ฉะนั้นเมื่อขลิบหนังหุ้มปลายส่วนนี้ออกไปจึงไม่เกิดการสะสมของสิ่งสกปรกและป้องกันการเกิดกามโรคได้ดีนั่นเอง

4.ลดอัตราการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

จากสถิติพบว่า ผู้ที่ไม่ได้ขลิบอวัยวะเพศมีอัตราการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมากกว่าผู้ชายที่ขลิบ นั่นอาจเป็นเพราะว่าเชื้อโรคที่สะสมอยู่ไปก่อให้เกิดการติดเชื้อ ฉะนั้นหากขลิบอวัยวะเพศตั้งแต่วัยเด็กก็จะช่วยลดอัตราของการติดเชื้อได้และช่วยป้องกันภาวะหนังหุ้มปลายตีบตันได้อีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

5.ใช้เป็นวิธีรักษาภาวะหนังหุ้มปลายตีบ (phimosis) ภาวะอักเสบที่ปลายองคชาติ (balanitis) และภาวะอักเสบที่ปลายองคชาติและหนังหุ้ม (balanophosthitis)

ข้อเสียของการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ

แม้ว่าการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายจะเป็นเรื่องที่ดีและมีข้อดีมากมาย แต่หลายคนอาจมีข้อกังวลอยู่บ้าง ดังนี้

1.สมรรถภาพทางเพศเปลี่ยนไป

ยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจนว่า การขลิบอวัยวะเพศจะทำให้เกิดความเจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ทำให้หลั่งเร็ว หรือภาวะไม่แข็งตัวของอวัยวะเพศ โดยเฉพาะหากขลิบตั้งแต่แรกเกิด หรือตอนเด็กช่วงอายุไม่เกิน 7 ขวบ ปัญหานี้ก็จะกลายเป็นเรื่องเล็กไปทันที

2.อาการปวด

อาการปวดที่เกิดขึ้นหลังจากการผ่าตัดถือว่าเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเป็นปกติ แต่บางรายหากมีแผลเป็นจากการผ่าตัด อาจมีอาการเจ็บที่บริเวณแผลเป็นได้

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่เพื่อสุขภาพที่ดีแล้วการขลิบถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดเพราะสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงโรคร้ายต่างๆ ได้มากมาย แถมยังทำความสะอาดได้ง่ายขึ้นอีกด้วย   อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้การขลิบส่งผลต่อความรู้สึกมากนัก ควรขลิบตั้งแต่วัยเด็ก หรือขณะยังเป็นทารกแบเบาะ เพราะจะทำให้เกิดความเคยชินได้ง่ายและเนื่องจากวัยเด็กยังไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกได้อย่างเต็มที่จึงไม่ค่อยรู้สึกเจ็บจากการขลิบมากนัก แถมแผลยังหายเร็วอีกด้วย


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
การขลิบของผู้ชาย (Circumcision) คืออะไร? เพื่ออะไร?, (https://hdmall.co.th/c/circumcision).
ขลิบไร้เลือด กี่วันหาย เจ็บไหม? อ่านสรุปที่นี่, (https://hdmall.co.th/c/circular-stapler).
"Male circumcision: Global trends and determinants of prevalence, safety and acceptability" (PDF). World Health Organization. 2007. Archived (PDF) from the original on 2015-12-22.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป