กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome: CFS)

เผยแพร่ครั้งแรก 11 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome: CFS)

อาการอ่อนล้าซึ่งเกิดจากการออกแรง ใช้สมองหรือแสดงออกทางอารมณ์เพียงเล็กน้อยแล้วไม่สามารถดีขึ้นได้ในวันหรือสองวันนั้น จัดเป็นความผิดปกติของระบบประสาทซึ่งเรียกว่า กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง

บทนำ

อาการปวดกล้ามเนื้อเหตุสมองและไขสันหลังอักเสบ (Myalgic encephalomyelitis: ME) หรือกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome: CFS)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาวทำให้เกิดความเหนื่อยล้าหรืออ่อนเพลียอยู่อย่างถาวรที่ไม่ดีขึ้นด้วยการนอนหลับหรือพักผ่อน และส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยทั่วไป โรคจะมีผลกระทบต่อระบบประสาท และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ในบางครั้งก็มีการวินิจฉัยอาการดังกล่าวเป็นกลุ่มอาการอ่อนล้าหลังติดเชื้อไวรัส (Post viral fatigue syndrome: PVFS)

คนที่เป็นกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังนี้จะประสบกับความเมื่อยล้าอย่างรุนแรงสัมพันธ์กับอาการอ่อนเพลียเมื่อยล้าหลังการออกแรง (post-exertional malaise: PEM)  ซึ่งภาวะนี้หมายถึงการที่ร่างกายไม่สามารถฟื้นตัวได้หลังจากใช้พลังงานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และทำให้เกิดอาการกำเริบขึ้นมาอีกครั้ง ความเมื่อยล้าในกลุ่มอาการนี้จะรู้สึกแตกต่างไปจากความเหนื่อยล้าโดยทั่วไป และอาจใช้เวลาหนึ่งหรือสองวันถึงจะดีขึ้น หลังการออกกำลังกาย ใช้สมองหรือแสดงอารมณ์

กลุุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังเกิดกับใครบ้าง

คาดการณ์ว่ามีประมาณ 17 ล้านคนทั่วโลกได้รับผลกระทบจากความผิดปกตินี้ โดยกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังมักจะเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ยังอาจส่งผลกระทบต่อเด็กและผู้ใหญ่ได้ทุกวัย ทุกกลุ่มทางสังคม และทุกเชื้อชาติ

กลุุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังนั้นส่งผลต่อคุณภาพชีวิตอย่างไร

ทุกคนที่เป็นโรคนี้ไม่ได้มีอาการหรือความรุนแรงเท่าเทียมกัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบผู้ป่วยคนหนึ่งกับคนอื่น ๆ ว่ามากน้อยต่างกันอย่างไร ผู้ที่เป็นกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังอาจได้รับประสบการณ์ของโรคที่แตกต่างอย่างมากทั้งเรื่องสภาพโรคที่เกิดขึ้น และระยะเวลาที่มีอาการดังกล่าว ผลกระทบของอาการอาจรุนแรงเล็กน้อย ปานกลาง หรือรุนแรงมากก็เป็นได้ เนื่องจากอาการอ่อนล้านั้นสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลา ดังนั้นผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้คนก็มีความแตกต่างกันไปเช่นเดียวกัน

ความอ่อนล้าดังกล่าวกินเวลานานแค่ไหน

ผู้ป่วยกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังจะมีอาการที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าบางคนจะไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่เช่นเคยเลยก็ตาม นอกจากนี้ ยังมีโอกาสที่บางช่วงเวลาอาการจะดีขึ้นแต่บางช่วงเวลาก็แย่ลง โดยทั่วไป เด็กหรือเยาวชนมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้เต็มที่มากกว่าผู้ใหญ่ที่มีความผิดปกติเดียวกัน

การวินิจฉัยกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังทำได้อย่างไร

การตรวจเพียงครั้งเดียวไม่สามารถวินิจฉัยหรือพบอาการอ่อนเพลียเรื้อรังได้ การวินิจฉัยจะเกิดขึ้นได้หลังจากสาเหตุที่เป็นไปได้อื่น ๆ นั้นถูกตัดออกไปแล้วหมด ยิ่งได้รับการตรวจวินิจฉัยกลุ่มอาการนี้เร็วเท่าไหร่ คุณสามารถจะจัดการดูแลปัญหาดังกล่าวได้ไวเท่านั้น ผู้ป่วยปวดกล้ามเนื้อเหตุสมองและไขสันหลังอักเสบหรือกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังหลายคน มักจะพกและจดบันทึกประจำวันเรื่องอาการที่เกิดขึ้นของพวกเขาเพื่อนำข้อมูลดังกล่าวแจ้งให้แพทย์ประจำตัวหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทราบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แพทย์ประจำตัวคุณมักจะทำสิ่งเหล่านี้เพื่อการวินิจฉัย:

  • ตรวจร่างกายและจิตใจเพื่อตัดสาเหตุที่เป็นไปได้อื่น ๆ ออกไป
  • ถามเกี่ยวกับการเดินทางครั้งล่าสุด การถูกแมลงหรือสัตว์กัดต่อย การติดเชื้อที่ผิดปกติ และการใช้ยาเสพติดหรือดื่มแอลกอฮอล์
  • ตรวจสอบยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
  • สั่งตรวจเพิ่มเติม

แพทย์อาจสามารถวินิจฉัยได้หลังจากเห็นรูปแบบอาการของโรคเป็นเวลา 3 หรือ 4 เดือน ผู้ป่วยคนใดที่สงสัยว่าเป็นกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังควรได้รับการตรวจเลือดหลายครั้งเพื่อหาและระบุโรคหรือการติดเชื้อที่เป็นไปได้อื่น ๆ นอกจากนี้อาจจำเป็นต้องมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติม หากไม่สามารถยืนยันการวินิจฉัยได้

ผู้ป่วยกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังบางคนมีอาการเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน และเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรแจ้งปัญหาดังกล่าวกับแพทย์เฉพาะทางหรือแพทย์ประจำตัวของคุณเกี่ยวกับวิธีดูแลจัดการกับอาการดังกล่าว

กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังรักษาอย่างไร

การรักษาส่วนใหญ่นั้นจะเน้นการดูแลจัดการและบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติดังกล่าว ทั้ง อาการปวดกล้ามเนื้อเหตุสมองและไขสันหลัและกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง ซึ่งหมายความว่าแผนการรักษาจะมีการปรับแต่งให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนมีอาการแตกต่างกัน และอาการเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาได้อีกด้วย แพทย์ของคุณอาจส่งต่อคุณไปยังกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาการอ่อนล้าเรื้อรัง หรือศูนย์บริการทางการแพทย์ที่สามารถช่วยคุณในการจัดการอาการที่เกิดขึ้นแต่ละอย่าง และบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นแล้วขัดขวางชีวิตประจำวันเหล่านั้นได้

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/chronic-fatigue-syndrome


22 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Chronic Fatigue Syndrome | CFS. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/chronicfatiguesyndrome.html)
Chronic fatigue syndrome (CFS/ME). NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/chronic-fatigue-syndrome-cfs/)
Myalgic Encephalomyelitis/Chronic Fatigue Syndrome (ME/CFS). Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/me-cfs/index.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป