การสำลัก (Choking)

อาการสำลักเกิดจากอะไร มีอาการอย่างไร การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการสำลัก หรือมีวัตถุแปลกปลอมติดคอ ควรทำอย่างไรบ้าง?
เผยแพร่ครั้งแรก 3 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การสำลัก (Choking)

อาการสำลัก

การสำลักเกิดขึ้นเนื่องจากมีชิ้นส่วนอาหาร วัตถุ หรือของเหลวติดค้างอยู่ในลำคอ บ่อยครั้งที่เด็กมักจะสำลักหรือหายใจไม่ออก เนื่องจากกลืนวัตถุแปลกปลอมเข้าปาก ส่วนผู้ใหญ่มักจะสำลักเนื่องจากสูดดมไอควันเข้าไป บางครั้งอาจเกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำเร็วเกินไป

โดยปกติการสำลักจะเกิดขึ้นเพียงช่วงสั้นๆ และไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ ผู้ป่วยที่เกิดอาการสำลัก อาจไอต่อเรื่อยๆ จนกว่าพวกเขาจะขย้อนอาหาร หรือของเหลวที่ติดค้างดังกล่าวออกจากลำคอหรือทางเดินหายใจ

แต่ก็มีการสำลักในบางกรณีที่อาจเป็นอันตราย และก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ถึงแก่ชีวิตได้ เนื่องจากวัตถุอาหารหรือของเหลวที่ค้างอยู่ในลำคอนั้น ทำให้อากาศไม่สามารถเดินทางเข้าสู่ปอดจนขาดอากาศหายใจ สังเกตได้จากการเริ่มมีริมฝีปากม่วง ผิวม่วงหรือเล็บม่วงจากการขาดออกซิเจน

สาเหตุของการสำลัก

สาเหตุที่พบบ่อยครั้งในเด็กคือการกลืนวัตถุแปลกปลอมลงคอ ซึ่งเด็กมักจะทำไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น วัตถุแปลกปลอมที่มักติดคอเด็ก ได้แก่

  • ป๊อปคอร์น
  • ลูกอม
  • ยางลบดินสอ
  • แครอท
  • ฮอทดอก
  • หมากฝรั่ง
  • เม็ดถั่ว
  • มะเขือเทศลูกเล็กๆ
  • องุ่น
  • ผลไม้ชิ้นใหญ่
  • ผักชิ้นใหญ่

ส่วนผู้ใหญ่มักจะสำลักเมื่อเผลอกลืนอาหารโดยไม่เคี้ยวอย่างละเอียด หรือหัวเราะขณะที่กำลังรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำอยู่

ภาวะแทรกซ้อนของอาการสำลัก

ภาวะแทรกซ้อนของการสำลัก ได้แก่

  • การระคายเคืองที่ลำคอ
  • การบาดเจ็บตามลำคอ
  • รุนแรงสุด คือ การเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ

การปฐมพยาบาลขณะเกิดอาการสำลัก

การปฐมพยาบาลขณะเกิดอาการสำลัก สามารถทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • หลักตบหลังห้า-กดท้องห้า (Five and five method) สภากาชาดแนะนำให้ใช้หลักตบหลังห้า-กดท้องห้า เพื่อปฐมพยาบาลผู้ที่สำลักอาหารหรือสิ่งแปลกปลอม โดยใช้ส้นมือตบที่หลังของผู้ป่วยตรงกึ่งกลางระหว่างสะบักทั้งสองข้างในแนวเฉียงลงด้วยแรงที่มากเพียงพอห้าครั้ง จากนั้นทำการรัดกระตุกหน้าท้อง (Heimlich maneuver) อีกห้าครั้ง ทำขั้นตอนสองอย่างนี้สลับกันเรื่อยๆ จนกว่าผู้ป่วยจะคายสิ่งกีดขวางหลอดลมออกมา และไม่สำลักอีกต่อไป (ไม่ควรใช้หลักการตบหลังห้า-กดท้องห้าในผู้ป่วยเด็ก ให้ใช้วิธีกดรัดกระตุกหน้าท้องเพียงเท่านั้น)
  • การรัดกระตุกหน้าท้อง (Heimlich maneuver) : มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
    1. ยืนด้านหลังผู้ป่วย โดยใช้แขนทั้งสองข้างโอบรอบสะโพกของเขาไว้
    2. โน้มตัวผู้ป่วยไปทางด้านหน้า
    3. กำมือข้างหนึ่งของคุณให้กลม แล้ววางไว้ที่ท้องผู้ป่วยที่ระดับเหนือสะดือ
    4. นำมืออีกข้างหนึ่งกำรอบกำปั้น แล้วกระตุกแรงๆ กดที่ท้องของผู้ป่วยเฉียงขึ้นด้านบน
    5. ทำซ้ำวิธีนี้ห้าครั้ง
    6. หากวัตถุแปลกปลอมยังติดคออยู่ ให้ทำซ้ำขั้นตอนดังกล่าวอีกห้าครั้ง
  • การทำ CPR : หากผู้ป่วยหมดสติ ให้เปิดทางเดินหายใจให้โล่งที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยใช้นิ้วของคุณควานหาสิ่งแปลกปลอมภายในลำคอพวกเขา จากนั้นให้รีบโทรสายด่วน 1669 แล้วเริ่มทำ CPR ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
    1. วางผู้ป่วยให้นอนหงายลงบนพื้นผิวที่แข็งแรงและเรียบ
    2. คุกเข่าลงที่ด้านข้างของผู้ที่หมดสติแล้ววางสันมือคว่ำลงไว้กลางหน้าอกที่ระดับลิ้นปี่
    3. วางมืออีกข้างหนึ่งทับมือดังกล่าวไว้ โน้มตัวไปข้างหน้า และออกแรงกดลงด้วยความเร็วอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที (Chest Compression)
    4. ทำซ้ำขั้นตอนนี้จนกว่าผู้ป่วยนั้นจะเริ่มหายใจอีกครั้ง หรือความช่วยเหลือทางการแพทย์มาถึง

การป้องกันอาการสำลัก

การป้องกันอาการสำลักในเด็ก มีวิธีง่ายๆ ดังนี้

  • แยกและดูแลพื้นที่เล่นของพวกเขาให้ปลอดจากวัตถุขนาดเล็ก เช่น เหรียญ ยางลบ และชิ้นเลโก้
  • สับอาหารของบุตรหลานคุณเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อให้กลืนได้ง่ายขึ้น
  • ห้ามปรามไม่ให้บุตรหลานของคุณ พูดคุยขณะรับประทานอาหารหรือมีอาหารในปาก

ส่วนในวัยผู้ใหญ่ สามารถป้องกันอาการสำลักได้ดังนี้

  • การเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
  • หลีกเลี่ยงการพูดคุยหรือหัวเราะขณะรับประทานอาหาร
  • มีแก้วน้ำไว้ใกล้ตัวคุณขณะรับประทานอาหารเสมอ

ที่มาของข้อมูล

April Kahn, What causes choking? (https://www.healthline.com/symptom/choking), March 29, 2018.


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Choking | Heimlich Maneuver | CPR. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/choking.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป