สาเหตุของโรคพาร์กินสัน

เผยแพร่ครั้งแรก 13 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สาเหตุของโรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน มีสาเหตุมาจากร่างกายมีการสูญเสียเซลล์ประสาทที่บริเวณหนึ่งของสมองที่ชื่อว่า substantia nigra

เซลล์ประสาทที่อยู่ภายในสมองมีหน้าที่ในการสร้างสารเคมีที่ชื่อว่า โดปามีน (dopamine) สารโดปามีนคือสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นผู้ส่งข่าวสารระหว่างส่วนต่างๆ ของสมองและระบบประสาท ซึ่งช่วยควบคุมและประสานการทำงานในการเคลื่อนไหวของร่างกาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ถ้าเซลล์ประสาทชนิดนี้ได้รับความเสียหายหรือเซลล์ประสาทตายลง จะทำให้ปริมาณสารโดปามีนลดลงด้วย ซึ่งหมายความว่าส่วนของสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ และทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ช้าลงและผิดปกติ

การสูญเสียเซลล์ประสาทภายในสมองจะเป็นไปอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป  อาการของผู้ป่วยพาร์กินสันมักจะเริ่มแสดงอาการเมื่อมีการสูญเสียเซลล์ประสาทที่สมองบริเวณ substantia nigra ไปมากถึงประมาณ 80% แล้ว

อะไรคือสาเหตุของการสูญเสียเซลล์ประสาท

ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าทำไมจึงมีการสูญเสียเซลล์ประสาทที่สัมพันธ์กับโรคพาร์กินสันขึ้น แม้ว่าจะมีงานวิจัยที่กำลังทำอยู่เพื่อหาสาเหตุของปัญหานี้

ปัจจุบัน เชื่อว่าโรคนี้เกิดจากปัจจัยทางด้านพันธุกรรมและปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นสาเหตุของโรคนี้

ปัจจัยทางพันธุกรรม

มีปัจจัยทางพันธุกรรมหลายปัจจัยที่พบว่าเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคพาร์กินสัน แต่ยังไม่ทราบว่าปัจจัยเหล่านั้นทำให้มีโอกาสเป็นโรคมากขึ้นได้อย่างไร

โรคพาร์กินสันสามารถพบได้ภายในครอบครัวเดียวกัน อันเนื่องมาจากการส่งต่อยีนที่ผิดพลาดจากพ่อแม่ไปยังลูกของพวกเขา อย่างไรก็ตามพบการถ่ายทอดโรคนี้ทางพันธุกรรมได้น้อย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม

นักวิจัยบางท่านรู้สึกว่าปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคพาร์กินสัน

มีคำแนะนำว่าสารกำจัดศัตรูพืชและสารเคมีกำจัดวัชพืชที่ใช้ในการเพาะปลูก และมลพิษทางการจราจร มลพิษทางอุตสาหกรรมอาจส่งผลให้เป็นโรคพาร์กินสันได้

อย่างไรก็ตามข้อมูลหลักฐานที่เชื่อมโยงระหว่างปัจจัยทางพันธุกรรมกับโรคพาร์กินสันยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน

สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการพาร์กินโซนิซึม (parkinsonism)

พาร์กินโซนิซึม (parkinsonism) เป็นคำที่ใช้ในการอธิบายถึงอาการสั่นของร่างกาย, กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง และการเคลื่อนไหวช้า

โรคพาร์กินสัน คือ โรคที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการพาร์กินโซนิซึมที่พบได้บ่อยที่สุด แต่ก็ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการพาร์กินโซนิซึม ได้ด้วย

พาร์กินโซนิซึม สามารถเกิดจากสาเหตุดังนี้:

  • ยาบางชนิด (drug-induced parkinsonism)-ผู้ป่วยจะมีอาการพาร์กินโซนิซึมเกิดขึ้นภายหลังการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาต้านโรคจิตบางชนิด โดยอาการของผู้ป่วยมักจะดีขึ้นเมื่อหยุดยาที่เป็นสาเหตุ
  • โรคของสมองที่มีการดำเนินไปของโรคชนิดอื่นๆ (other progressive brain conditions) เช่น progressive supranuclear palsy, multiple systems atrophy และ corticobasal degeneration
  • โรคหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular disease)-คือการเกิดโรคของหลอดเลือดสมองขนาดเล็กหลายจุด ทำให้หลายๆ ส่วนของสมองตายลง

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/parkinsons-disease#causes


38 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Parkinson's disease - Causes. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/parkinsons-disease/causes/)
Parkinson's Disease: Causes and Risk Factors. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/parkinsons-disease-causes-4689216)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)