วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

ตกขาวปนเลือดเกิดจากอะไร

รวมสาเหตุทำให้เกิดตกขาวปนเลือด เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่?
เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 ก.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ตกขาวปนเลือดเกิดจากอะไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ตกขาวปนเลือดหมายถึง ตกขาวที่มีก้อนเลือด หรือมูกเลือดปน
  • ตกขาวปนเลือดสามารถเกิดได้ทั้งก่อนและหลังมีประจำเดือน ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และเลือดประจำเดือนเก่าที่ยังค้างอยู่ในปากมดลูก
  • หญิงวัยหมดประจำเดือนไปแล้วมากกว่า 1 ปีแต่มีตกขาวปนเลือดออกมา ควรไปพบแพทย์เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งปากมดลูก หรือโรคมะเร็งรังไข่ได้
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์สามารถเป็นสาเหตุทำให้เกิดตกขาวปนเลือดได้ เช่น รกในครรภ์เกิดความผิดปกติ ภาวะแท้ง โรคหนองในแท้ โรคหนองในเทียม ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ตกขาวเป็นของเหลวที่ช่วยสร้างความหล่อลื่นให้กับช่องคลอด และปากมดลูก ผู้หญิงทุกคนมีตกขาวเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติ ลักษณะทั่วไปของตกขาวจะเป็นมูกเหลวสีใสปนขาว ไม่มีกลิ่น มีปริมาณเล็กน้อยต่อวัน และไม่ได้สร้างความระคายเคืองใดๆ ต่อผิวช่องคลอด

ตกขาวจะมีลักษณะผิดปกติไปจากเดิมเมื่อร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีอาการเจ็บป่วยบางอย่างจนส่งผลต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์ เช่น ตกขาวสีเขียว ตกขาวสีเหลือง ตกขาวสีเทาขุ่น ตกขาวสีแดง หรือมีเลือดปน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นิยามของตกขาวปนเลือด

ตกขาวปนเลือด (Bloody discharge) คือ ตกขาวที่มีก้อนเลือด หรือมูกเลือดปนอยู่ในมูกใสด้วย สาเหตุที่ทำให้เกิดตกขาวปนเลือดได้ มีดังต่อไปนี้

1. การมีประจำเดือน

ผุ้หญิงอาจมีตกขาวปนเลือดในช่วงก่อนและหลังมีประจำเดือนได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดได้ตามธรรมชาติของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

ตกขาวปนเลือดก่อนมีประจำเดือนนั้นเกิดขึ้นได้จากฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) มีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างไข่ตก ซึ่งในช่วงนี้ ผู้หญิงหลายคนจะมีปริมาณตกขาวมากกว่าปกติด้วย

ส่วนตกขาวปนเลือดหลังมีประจำเดือนนั้น เกิดได้จากเลือดประจำเดือนที่ยังคั่งค้างอยู่ในปากมดลูก และถูกร่างกายขับออกมาพร้อมกับตกขาว บางครั้งอาจอยู่ในรูปของตกขาวสีแดง หรือสีน้ำตาลเข้มซึ่งเกิดจากเลือดที่แห้งกรังอยู่ในปากมดลูกนั่นเอง

อีกทั้งในเดือนแรกของการรับประทานยาคุมกำเนิด ซึ่งเป็นยาที่ส่งผลต่อการหลั่งของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ก็สามารถส่งผลทำให้มีตกขาวปนเลือดได้เช่นกัน โดยตกขาวปนเลือดจากสาเหตุนี้อาจออกมาในระหว่างมีประจำเดือน

2. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

เด็กหญิงวัยรุ่นที่กำลังมีประจำเดือนครั้งแรกและผู้หญิงที่กำลังเข้าสู่วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือนอาจเผชิญกับตกขาวปนเลือด เพราะเป็นสองช่วงวัยที่ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงสูง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผู้หญิงสองช่วงวัยนี้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์อาจมีตกขาวปนเลือดมากกว่าปกติ เพราะน้ำหนักและไขมันในร่างกายสามารถมีส่วนทำให้ฮอร์โมนทำงานผิดปกติได้ วิธีแก้มีทางเดียวคือ ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

นอกจากนี้ผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนไปแล้วมากกว่า 1 ปี แต่ยังมีตกขาวปนเลือดอยู่ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อขอรับการวินิจฉัย เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งรังไข่ หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติได้

3. การตั้งครรภ์

สัญญาณของการตั้งครรภ์สามารถสังเกตได้จากเลือดที่ไหลออกมาจากช่องคลอด หรือปนกับตกขาว

เมื่อไข่กับเชื้ออสุจิได้ปฏิสนธิกันแล้ว ไข่จะย้ายไปฝังตัวอยู่ที่ผนังมดลูก ในช่วง 1-2 สัปดาห์ต่อมา ผู้หญิงบางรายอาจสังเกตเห็นว่า มีเลือดปนออกมากับตกขาวด้วย หรือมีตกขาวเป็นสีแดงในปริมาณเล็กน้อย เราสามารถเรียกตกขาวปนเลือดในช่วงนี้ได้ว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก”

นอกจากนี้ตกขาวปนเลือดยังแสดงถึงภาวะอันตรายในระหว่างตั้งครรภ์ได้ โดยหญิงตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก หากมีอาการเลือดออกจากช่องคลอด หรือมีตกขาวปนเลือด ควรรีบไปแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของ

  • ภาวะแท้ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ใน 13 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic pregnancy)
  • การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (Preterm labor)
  • ปากมดลูกมีความผิดปกติ
  • รกในครรภ์เกิดความผิดปกติ

หญิงตั้งครรภ์ที่เพิ่งคลอดบุตรอาจมีตกขาวปนเลือดที่เกิดจากน้ำคาวปลา (Lochia) ซึ่งเป็นเลือด และของเหลวตกค้างจากการคลอดบุตร เช่น เยื่อบุโพรงมดลูก น้ำคร่ำที่ยังค้างอยู่ข้างในมดลูก

ในช่วง 3 วันแรกหลังจากคลอด น้ำคาวปลาจะมีสีแดงเหมือนเลือด ก่อนที่จะค่อยๆ จางเป็นสีใสลงหลังจากนั้น โดยปกติจะมีระยะเวลาประมาณ 4-8 สัปดาห์หลังคลอด แล้วปริมาณน้ำคาวปลาก็จะค่อยๆ ลดลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

4. โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ (Thyroid Disease)

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นอวัยวะซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระบบหลายส่วนของร่างกาย รวมไปถึงระบบสืบพันธุ์ด้วย ซึ่งหากต่อมไทรอยด์เกิดความผิดปกติ ก็สามารถส่งผลให้ร่างกายมีอาการแสดงออกมาได้หลายอย่าง เช่น

  • หน้าบวม
  • อ่อนเพลีย
  • ผิวแห้ง
  • น้ำหนักขึ้น
  • คอเลสเตอรอลสูงขึ้น
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือรู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • มีตกขาวปนเลือด

การรักษาโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์จะรักษาผ่านการรับประทานยา หรือการผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ออก วิธีรักษาจะขึ้นอยู่กับอายุผู้ป่วย ความร้ายแรงของอาการ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ประเมิน

5. การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นสาเหตุทำให้เกิดตกขาวปนเลือด หรือเลือดไหลออกมาจากช่องคลอดได้ ไม่ว่าจะเป็น

  • โรคหนองในแท้ (Gonorrhea)
  • โรคหนองในเทียม (Chlamydia)
  • ภาวะช่องคลอดอักเสบ (Bacteria Vaginosis)
  • ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease: PID)

นอกจากอาการตกขาวปนเลือด หรือมีเลือดออกจากช่องคลอดแล้ว ตกขาวยังอาจมีกลิ่นเหม็นคาว และอาจมีอาการปวดท้องน้อย เจ็บแสบช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์และขณะปัสสาวะ รวมทั้งระคายเคืองช่องคลอด 

โรคเหล่านี้จะต้องรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาทันทีและต้องพาคู่นอนไปรับการรักษาด้วย เนื่องจากอาการตกขาวปนเลือดจะมีปริมาณมากขึ้น มีกลิ่นเหม็นคาวมากขึ้นไปอีก หากเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคเหล่านี้มีการเจริญเติบโต และเพิ่มปริมาณขึ้น

6. ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome: PCOS)

ภาวะนี้เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อจนทำให้เกิดถุงน้ำ หรือเรียกอีกชื่อว่า “ซีสต์” ในรังไข่หลายใบ และส่งผลทำให้เกิดอาการผิดปกติขึ้น เช่น

  • ผมและขนตามร่างกายดกขึ้นกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากการหลั่งฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ในปริมาณมาก
  • ประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือมาน้อย หรือไม่มาตามกำหนดอย่างผิดสังเกต
  • มีตกขาวปนเลือด

วิธีรักษาภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบจะขึ้นอยู่กับระดับอาการของผู้ป่วย รวมถึงสังเกตว่า ผู้ป่วยมีอาการอะไรบ้าง เช่น

  • หากมีภาวะขนดก แพทย์จะให้รักษาโดยให้รับประทานยาคุมกำเนิดฮอร์โมนรวม หรือลดน้ำหนัก เพื่อลดระดับฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) รวมถึงให้กำจัดขนด้วยเลเซอร์ หรือด้วยการโกน หรือถอน
  • หากมีอาการประจำเดือนมาผิดปกติ แพทย์อาจรักษาโดยการจ่ายยาเพิ่ม หรือลดฮอร์โมนแอนโดรเจน หรือฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน

อาการตกขาวปนเลือดที่ควรไปพบแพทย์

หากมีอาการตกขาวปนเลือดร่วมกับมีอาการดังต่อไปนี้

  • น้ำหนักลด
  • ปวดเจ็บท้องน้อย
  • มีเลือดออกจากช่องคลอดมากกว่าปกติ
  • ตกขาวมีกลิ่นคาวเหม็น
  • แสบผิวช่องคลอด หรือคันระคายเคืองช่องคลอด

ควรไปพบแพทย์เพื่อขอรับการวินิจฉัย เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายบางได้ 

แม้ว่าอาการตกขาวปนเลือดมีปัจจัยทำให้เกิดทั้งที่เป็นอันตราย และไม่เป็นอันตราย แต่หากคุณไม่เคยมีตกขาวปนเลือดมาก่อน และสังเกตว่า ตกขาวมีสีน้ำตาล หรือสีแดงอย่างที่ไม่เคยเป็น หรือมีตกขาวปนเลือดผิดปกติไปจากเดิม 

กรณีเช่นนี้ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และเพื่อจะได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Valinda Riggins Nwadike, What causes pinkish-brown discharge? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322973), 13 July 2020.
Traci C. Johnson, Cause of Bloody Vaginal Discharge (https://www.webmd.com/women/bloody-vaginal-discharge-causes#2), 13 July 2020.
Mayo Clinic Staff, Vaginal discharge (https://www.mayoclinic.org/symptoms/vaginal-discharge/basics/causes/sym-20050825), 27 July 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป