กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การเลือกเพศทารกทำได้หรือไม่?

การเลือกเพศทารกด้วยเทคโนโลยี มีวิธีใดบ้าง ทำอย่างไร มีค่าใช้จ่ายเท่าไร และจะเลือกเพศทารกด้วยวิธีทางธรรมชาติได้หรือไม่?
เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
การเลือกเพศทารกทำได้หรือไม่?

ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ ในปัจจุบันนี้แพทย์จึงสามารถระบุเพศของตัวอ่อนหลังปฏิสนธิได้ โดยมีจุดประสงค์ช่วยหลีกเลี่ยงโรคทางพันธุกรรมไม่ให้ถ่ายทอดไปยังทารก และช่วยให้ครอบครัวที่มีลูกชายหรือลูกสาวแล้ว แต่อยากได้ทารกอีกเพศหนึ่งเพื่อให้ครอบครัวสมบูรณ์ขึ้น

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเข้าถึงบริการนี้ได้ เพราะนอกจากไม่มีการรับรองผล 100% แล้ว การกำหนดเพศทารกยังมีราคาสูง (แบบที่แม่นยำสุด มีค่าใช้จ่ายขั้นต่ำประมาณ 300,000 บาท) และจะทำได้เมื่อคุณเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยากเท่านั้น ซึ่งจะต้องรับยากระตุ้นระบบสืบพันธุ์ที่อาจมีผลข้างเคียงตามมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หากคุณตั้งใจจะเลือกเพศให้ลูกจริงๆ คลินิกหรือสถานพยาบาลที่รับดำเนินการ จะพิจารณาความเหมาะสมตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น

  • คู่ของคุณต้องสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย
  • มีประวัติเป็นโรคทางพันธุกรรม (ที่แสดงออกเฉพาะในเพศชายหรือหญิง)
  • มีลูกแล้วอย่างน้อย 1 คน ที่มีเพศตรงข้ามกับเพศทารกที่ต้องการ
  • อาจมีจำกัดอายุของแม่
  • อาจมีการตรวจวัดระดับฮอร์โมนในร่างกายว่ายังอยู่ในช่วงเจริญพันธุ์หรือไม่

การเลือกเพศทารกด้วยเทคโนโลยี โดยผ่านวิธีการรักษาผู้มีบุตรยาก

การเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยาก เป็นทางเดียวที่สามารถเลือกเพศทารกได้อย่างแม่นยำ โดย

  1. การทำผสมเทียม (Artificial Insemination; AI)
  2. การทำเด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertilization; IVF)

ทั้ง 2 วิธีนี้สามารถระบุเพศตัวอ่อนได้ และใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายไม่น้อย บางครั้งคุณอาจต้องรับยากระตุ้นระบบสืบพันธุ์ด้วย โดยแต่ละวิธี มีรายละเอียดดังนี้

การผสมเทียม (AI) การฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปยังบริเวณที่เกิดการปฏิสนธิ ซึ่งมีด้วยกันหลายวิธี แต่วิธีที่ใช้แพร่หลายที่สุด คือการฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก (Intrauterine Insemination; IUI) สำหรับการทำ IUI แพทย์จะใช้ท่อขนาดเล็ก (Catheter) นำเชื้ออสุจิเข้าไปยังมดลูกโดยตรง วิธีนี้ต้องให้ยากระตุ้นระบบสืบพันธุ์ในผู้หญิงก่อน

การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) วิธีนี้จะเกิดการปฏิสนธินอกร่างกาย คุณผู้หญิงจะต้องรับยาเพื่อกระตุ้นให้รังไข่ผลิตไข่จำนวนมากสำหรับการปฏิสนธิ เมื่อไข่พร้อมสำหรับการเก็บแล้ว แพทย์จะวางยาสลบและสอดหัวตรวจอัลตร้าซาวน์เข้าทางช่องคลอด เพื่อตรวจสภาพรังไข่และฟอลลิเคิล (ถุงที่บรรจุของเหลวภายใน ซึ่งเป็นสถานที่เจริญเติบโตของไข่) จากนั้นแพทย์จะสอดเข็มเข้าทางช่องคลอดเพื่อนำไข่ออกมาจากฟอลลิเคิล

ไข่จะถูกนำมาปฏิสนธิกับเชื้ออสุจิในจานเพาะเชื้อ เมื่อผ่านไป 3-5 วัน แพทย์จะนำตัวอ่อน (Embryo) ที่เกิดจากการปฏิสนธิเข้าไปยังมดลูก โดยการสอดท่อขนาดเล็กผ่านช่องคลอดและปากมดลูก โดยจำนวนตัวอ่อนที่นำเข้าไปจะขึ้นอยู่กับอายุของแม่ คุณภาพของตัวอ่อน และประวัติการตั้งครรภ์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว หากคุณอายุน้อยกว่า 35 ปี และตัวอ่อนแข็งแรงดี จำนวนตัวอ่อนที่นำเข้าสู่มดลูกจะไม่เกิน 2 เซลล์ และจะสามารถระบุเพศได้จาก 2 วิธี ได้แก่ การระบุเพศทารกด้วยวิธีการตรวจทางพันธุกรรมในตัวอ่อนก่อนการฝังตัว และการระบุเพศทารกด้วยวิธีแยกเพศเชื้ออสุจิ

  1. การระบุเพศทารกด้วยวิธีการตรวจทางพันธุกรรมในตัวอ่อนก่อนการฝังตัว

    การตรวจทางพันธุกรรมในตัวอ่อนก่อนการฝังตัว สามารถทำได้เมื่อคุณเข้ารับการรักษาด้วย IVF โดยแพทย์จะนำเซลล์ของตัวอ่อน 1-2 เซลล์ มาตรวจดูใต้กล้องจุลทรรศน์ว่าตัวอ่อนสมบูรณ์ดีเหมาะสมแก่การฝังตัวหรือไม่ และนำมาตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือโครโมโซม ก่อนนำเข้าสู่มดลูก ซึ่งการตรวจดังกล่าวสามารถบ่งบอกเพศของตัวอ่อนได้ บางคลินิกหรือโรงพยาบาลจะเรียกการตรวจนี้ว่า Preimplantation Genetic Diagnosis (PGD) หรือ Preimplantation Genetic Screening (PGS)

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

    จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

    จุดประสงค์สำคัญในการตรวจทางพันธุกรรมในตัวอ่อน คือลดความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติทางพันธุกรรมในทารก เช่น ดาวน์ซินโดรม นอกจากนี้ ยังใช้คัดกรองโรคทางพันธุกรรมบางโรคที่เป็น Sex-linked Disorders คือจะแสดงออกในเพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น เช่น โรคกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยนแบบดีชีนน์ (Duchenne Muscular Dystrophy) ซึ่งแสดงอาการเฉพาะในเพศชาย ดังนั้น หากตรวจพบว่าตัวอ่อนเป็นเพศชาย และมียีนของความผิดปกติดังกล่าว ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนนั้นฝังตัว หรือเปลี่ยนเพศตัวอ่อนเป็นเพศหญิงได้

    ประสิทธิภาพในการระบุเพศของวิธีการตรวจพันธุกรรมในตัวอ่อน

    สามารถระบุเพศของตัวอ่อนก่อนการฝังตัวได้ถูกต้องใกล้เคียง 100%

    ข้อดีของการระบุเพศด้วยวิธีการตรวจพันธุกรรมในตัวอ่อน

    • สามารถระบุเพศทารกได้อย่างแม่นยำมาก
    • ตัวอ่อนที่ตรวจและทราบเพศแล้ว สามารถแช่แข็งและเก็บไว้สำหรับการฝังตัวในอนาคตได้ สำหรับคุณแม่ที่มีภาวะแท้งบุตร หรืออยากมีลูกเพิ่มซึ่งมีเพศตามต้องการ โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเก็บไข่และปฏิสนธิใหม่

    ข้อเสียของการระบุเพศด้วยวิธีการตรวจพันธุกรรมในตัวอ่อน

    • มีราคาค่อนข้างสูง
    • ต้องสอดเครื่องมือเข้าทางช่องคลอด จึงอาจทำให้รู้สึกเจ็บ
    • การรับยากระตุ้นระบบสืบพันธุ์อาจมีผลข้างเคียง เช่น น้ำหนักขึ้น บวม และตาพร่า

    ค่าใช้จ่ายสำหรับการระบุเพศด้วยวิธีการตรวจพันธุกรรมในตัวอ่อน

    ราคาเฉลี่ยของการทำ IVF แต่ละครั้ง อยู่ที่ประมาณ 100,000 - 150,000 บาท ขึ้นอยู่กับคลินิกหรือโรงพยาบาล ส่วนการตรวจพันธุกรรมในตัวอ่อน จะมีราคาเพิ่มเติมอีกประมาณ 100,000 - 200,000 บาท ซึ่งสถานพยาบาลบางแห่งอาจให้ตรวจพันธุกรรมในตัวอ่อนเพื่อหาความผิดปกติเท่านั้น แต่ไม่อนุญาตให้เลือกเพศได้ ยกเว้นกรณีที่ตัวอ่อนมีความผิดปกติทางพันธุกรรม ดังนั้น ควรสอบถามทางสถานพยาบาลก่อนว่ามีบริการตรวจหรือไม่ และมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง

  2. การระบุเพศทารกด้วยวิธีแยกเพศเชื้ออสุจิ (Ericsson Method)

    เทคนิคนี้ตั้งชื่อตามผู้ค้นพบคือ Ronald Ericssson ที่พยายามแยกอสุจิที่มีโครโมโซมเพศชาย ออกจากอสุจิที่มีโครโมโซมเพศหญิง เพื่อนำอสุจิที่มีเพศตามต้องการฉีดเข้ามายังโพรงมดลูกโดยตรง

    ในการแยกเพศเชื้ออสุจิ น้ำอสุจิที่เก็บจากผู้ชาย จะถูกปล่อยให้ไหลผ่านชั้นของเหลวหนืดในหลอดทดลอง โดยอสุจิที่มีโครโมโซมเพศชายมีแนวโน้มจะเคลื่อนมาถึงก้นหลอดได้เร็วกว่า เมื่อแยกอสุจิตามเพศได้แล้ว ก็สามารถนำไปใช้ปฏิสนธิเพื่อให้ได้ตัวอ่อนเพศที่ต้องการได้

    ประสิทธิภาพในการระบุเพศของวิธีการแยกเพศอสุจิ

    เทคนิคนี้ได้ผล 78-85% ในการเลือกเพศชาย และได้ผล 73-75% ในการเลือกเพศหญิง

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

    จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

    ข้อดีของวิธีการแยกเพศอสุจิ

    • มีราคาไม่แพง
    • ไม่มีการสอดเครื่องมือผ่านทางช่องคลอดเพศหญิง
    • ค่อนข้างปลอดภัย

    ข้อเสียของวิธีการแยกเพศอสุจิ

    • อัตราความสำเร็จอาจไม่สูงมากนัก
    • คลินิกและโรงพยาบาลส่วนใหญ่ในไทยมักไม่ได้ใช้วิธีนี้

ค่าใช้จ่ายสำหรับการระบุเพศด้วยวิธีการแยกเพศอสุจิ

ในประเทศสหรัฐอเมริกา เทคนิคนี้มีค่าใช้จ่ายประมาณ $600 ต่อครั้ง (ประมาณ 20,000 บาท) ส่วนในประเทศไทยนั้นยังไม่มีข้อมูลแน่ชัด

การเลือกเพศทารกตามธรรมชาติ สามารถทำได้เอง

นอกจากวิธีทางการแพทย์แล้ว คุณก็สามารถเลือกเพศทารกด้วยเทคนิคตามธรรมชาติได้ วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายน้อย และทำได้เองที่บ้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้

การระบุเพศทารกด้วยวิธีของ Shettles และ Whelan

ตามทฤษฎีของ Shettles อสุจิที่มีโครโมโซม Y (เพศชาย) จะเคลื่อนที่เร็วกว่า แต่มีชีวิตอยู่ได้ไม่นานเท่าอสุจิที่มีโครโมโซม X (เพศหญิง) ดังนั้น หากคุณต้องการลูกชาย ก็ควรมีเพศสัมพันธ์ใกล้กับช่วงเวลาตกไข่มากที่สุด แต่หากคุณต้องการลูกสาว ก็ควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 2-4 วันก่อนไข่ตก

ส่วน Whelan กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงในช่วงต้นของรอบเดือน เป็นสภาวะที่เหมาะสมต่ออสุจิที่มีโครโมโซมเพศชายมากกว่า ดังนั้น หากคุณต้องการลูกชาย ก็ควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 4-6 วัน ก่อนอุณหภูมิพื้นของร่างกาย (BBT) จะสูงขึ้น แต่หากอยากได้ลูกสาว ก็ควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 2-3 วันก่อนไข่ตก

ประสิทธิภาพในการระบุเพศด้วยวิธีของ Shettles และ Whelan

Shettles กล่าวว่า วิธีนี้ให้ผลลัพธ์ถึง 75% สำหรับคู่ที่ต้องการทารกเพศหญิง และ 80% สำหรับทารกเพศชาย ส่วน Whelan กล่าวว่า วิธีนี้ใช้ได้ผล 68% สำหรับคู่ที่ต้องการทารกเพศชาย และได้ผล 56% สำหรับคู่ที่ต้องการทารกเพศหญิง แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นวิธีธรรมชาติ ในทางปฏิบัติจริงจึงควรเผื่อใจไว้ว่าอาจไม่ได้เพศทารกตามที่ต้องการ

ข้อดีของวิธี Shettles และ Whelan

  • ไม่จำเป็นต้องใช้ยากระตุ้นหรือเทคโนโลยีทางการแพทย์ใดๆ
  • ไม่มีค่าใช้จ่าย
  • มีความปลอดภัย

ข้อเสียของวิธี Shettles และ Whelan

  • จำเป็นต้องติดตามการตกไข่โดยการบันทึกอุณหภูมิร่างกาย หรือใช้ชุดตรวจการตกไข่ก่อนมีเพศสัมพันธ์
  • ไม่สามารถรับรองประสิทธิผลได้

ที่มาของข้อมูล

Suzanne Leigh, Choosing your baby's sex: What the scientists say (https://www.babycenter.com/0_choosing-your-babys-sex-what-the-scientists-say_2915.bc)


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Choosing the Sex of Your Baby: Facts & Myths. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/choosing-the-sex-of-your-baby-facts-and-myths-4163803)
Gender and Genetics. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/genomics/gender/en/index4.html)
Choosing the Sex of Your Child. WebMD. (https://www.webmd.com/baby/features/choosing-sex-of-your-child#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม
รหัสพันธุกรรมและ DNA ของแฝดแท้
รหัสพันธุกรรมและ DNA ของแฝดแท้

แฝดแท้จะมี DNA ที่เหมือนกันหรือไม่?

อ่านเพิ่ม