กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ทารกในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูกจะมีชีวิตรอดปลอดภัยหรือไม่?

มาค้นหากันว่าการตั้งครรภ์นอกมดลูกจำเป็นต้องทำแท้งเสมอไปหรือไม่?
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ทารกในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูกจะมีชีวิตรอดปลอดภัยหรือไม่?

การตั้งครรภ์นอกมดลูกคือ การตั้งครรภ์ที่ทารกจะฝังตัวที่อื่นนอกเหนือจากในมดลูก ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในท่อนำไข่ที่เชื่อมต่อรังไข่กับมดลูก นั่นเป็นเหตุผลที่เรียกภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือที่เรียกอีกอย่างว่าการตั้งครรภ์ที่ท่อนำไข่ (tubal pregnancy) อัตราส่วนการตั้งครรภ์นอกมดลูกมีประมาณ 1 ใน 50

หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูกคุณอาจสงสัยว่าอะไรที่ทำได้บ้างที่สามารถทำให้ทารกในครรภ์มีชีวิตรอดปลอดภัย

คำตอบคือ คำตอบของประเด็นนี้คงรับได้ยากคือไม่มี ทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตได้ ปกติในมดลูก การตั้งครรภ์นอกมดลูกมีความเสี่ยงอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของแม่ และสามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ทำแท้ง  น่าเศร้าที่ไม่มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สามารถทำการย้ายครรภ์นอกมดลูกจากท่อรังไข่ไปมดลูก กว่า 95% ของการตั้งครรภ์นอกมดลูก  ทารกจะถูกฝังลงในท่อนำไข่ และมักจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้  ถ้าปล่อยให้มีการเจริญเติบโตต่อไป ท่อนำไข่ที่มีขนาด เล็กจะฉีกขาดก่อนสิ้นไตรมาสแรก และหากมีภาวะท่อนำไข่ฉีกขาด แม่อาจประสบภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ การฉีกขาดของภาวะครรภ์นอกมดลูกเป็นสาเหตุ สำคัญของการเสียชีวิตของมารดาในภาวะตั้งครรภ์ ดังนั้นแพทย์มักทำการผ่าตัดหรือใช้ยาเพื่อยุติการตั้งครรภ์เพื่อที่จะปกป้องแม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คุณอาจเคยอ่านข่าวเกี่ยวกับไม่กี่กรณีที่ การตั้งครรภ์นอกมดลูกประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นจำนวนน้อยมาก และควรระมัดระวังในการอ่านเรื่องราวเหล่านี้ การตั้งครรภ์นอกมดลูกที่เรียกว่าการตั้งครรภ์ในท้อง (Abdominal Pregnancy) ซึ่งทารกไม่ได้ฝังอยู่ในมดลูกหรือท่อนำไข่ แต่ฝังในช่องท้องเช่น ในตับหรือในอวัยวะที่มีเส้นเลือดเยอะ อัตรารอดชีวิตของการตั้งครรภ์ชนิดนี้น้อยกว่าหนึ่งในล้าน ประการต่อมาแม้ทารกในภาวะตั้งครรภ์ในท้องสามารถมีชีวิตรอดในช่วงแรก แต่จะอยู่รอดตลอดเป็นเรื่องยาก ทั้งยังมีความเสี่ยง อย่างมากสำหรับสุขภาพของมารดา เนื่องจากมีโอกาสตกเลือด (การสูญเสียเลือด)  ภาวะตั้งครรภ์ในช่องท้อง (Abdominal Pregnancy) เป็นอันตรายมากกว่าการตั้งครรภ์นอกมดลูก ในท่อนำไข่ (pregnancy in fallopian tube) อัตราการเสียชีวิตของแม่ตั้งครรภ์ในช่องท้องสูงกว่าแม่ที่มีการตั้งครรภ์ที่ท่อนำไข่ถึงแปดเท่า

ปัจจัยบางอย่างที่ทำให้คุณมีความเสี่ยงของการตั้งครรภ์นอกมดลูกสูง  รวมถึงการรักษาภาวะมีบุตรยาก ช่วงอายุของแม่ 35-44 ปี เยื่อบุมดลูกอักเสบ (endometriosis) ภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูกของท้องก่อนหน้านี้ การสูบบุหรี่ การผ่าตัดช่องท้องหรือกระดูกเชิงกรานก่อนหน้านี้ การตั้งครรภ์หลังจากทำหมัน หรือขณะที่คุณใช้ ห่วงคุมกำเนิด (Intra uterine device (IUD)) หรือโรคกระดูกเชิงกรานอักเสบและเหนี่ยวนำให้เกิดการทำแท้ง
อาการที่เกิดจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก จะมีอาการปวดเฉียบพลันที่อาจเป็นๆหายๆ ในช่องท้อง กระดูกเชิงกรานหรือไหล่ คอ มีเลือดออกทางช่องคลอดและระบบทางเดินอาหารและ หรือเวียนศีรษะ อ่อนแอ เป็นลม หากคุณกำลังตั้งครรภ์ และประสบใด ๆ ข้างต้น ควรปรึกษาแพทย์ทันที


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ncbi.nlm.nih.gov, Infants in ectopic pregnancy (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3158531/)
webmd.com, Infants in ectopic pregnancy (https://www.webmd.com/baby/pregnancy-ectopic-pregnancy#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม