วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

ตรวจสมองควรตรวจอะไร โรคอะไรที่หลายคนเสี่ยงเป็นบ้าง

อยากตรวจสมองควรตรวจอะไรบ้าง ราคาประมาณเท่าไร โรคอะไรเกี่ยวกับสมองที่คนเป็นกันเยอะ
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ต.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 28 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 28 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ตรวจสมองควรตรวจอะไร โรคอะไรที่หลายคนเสี่ยงเป็นบ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคเกี่ยวกับสมองมักเป็นโรคที่ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า โดยโรคที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคลมชัก โรคเนื้องอกในสมอง
  • โรคเกี่ยวกับสมองหลายอย่างเป็นโรคแทรกซ้อนมาจากโรคอื่นๆ อย่างโรคเบาหวาน โรคหัวใจ รวมไปถึงมักเกิดจากอายุที่มากขึ้น การประสบอุบัติเหตุจนศีรษะและสมองได้รับบาดเจ็บอย่างหนัก
  • ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับสมองมักมีอาการเกี่ยวกับความทรงจำที่แย่ลง การพูดจาสื่อสารที่ไม่เหมือนเดิม รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายที่ไม่คล่องแคล่ว หรือเชื่องช้า บางรายจะมีอาการคล้ายโรคทางจิตเวชด้วย เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล
  • รายการตรวจสมองโดยหลักๆ คือ ทดสอบความจำเพื่อหาความเสี่ยงโรคสมองเสื่อม ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำ MRI สมอง เอ็กซเรย์สมอง อัลตราซาวด์หลอดเลือดที่คอ 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสมอง

โรคเกี่ยวกับสมองเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย และมักส่งผลร้ายแรงจนเป็นอันตรายถึงชีวิต นอกจากนี้โรคเกี่ยวกับสมองยังมักเป็นภัยเงียบที่ไม่มีสัญญาณเตือนเด่นชัด ทำให้กว่าหลายคนจะรู้ว่า ตนเองมีความผิดปกติที่สมอง ก็เมื่อระยะของโรคลุกลามไปไกลแล้ว

โรคเกี่ยวกับสมองที่มักพบได้บ่อยๆ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นโรคที่เกิดจากหลอดเลือดสมองเกิดการอุดตัน หรือตีบ จนออกซิเจนไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงสมองได้ และส่งผลทำให้เนื้อสมองขาดเลือด หลอดเลือดในสมองแตก หรือสมองตายในที่สุด

โรคหลอดเลือดสมองสามารถเป็นโรคแทรกซ้อนมาจากโรคเรื้อรังอื่นๆ ที่ควบคุมโรคได้ไม่ดี เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง

และอีกปัจจัยสำคัญที่มักทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองคือ การรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงเป็นประจำ รวมถึงพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่เป็นประจำ จนเกิดภาวะไขมันเกาะในหลอดเลือดสูง

นอกจากนี้โรคหลอดเลือดสมองยังสามารถส่งต่อได้ทางพันธุกรรม ซึ่งหากคุณมีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือโรคอ้วน ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าเดิม เพราะโรคเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองในภายหลังได้

ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปก็เป็นอีกกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าคนปกติทั่วไป โดยเกิดจากความเสื่อมของผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น และง่ายต่อการอุดตัน หรือตีบ

โรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) เป็นหนึ่งในโรคของภาวะสมองเสื่อม (Dementia) ซึ่งเป็นภาวะผิดปกติของสมองที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการหลักๆ ของโรคอัลไซเมอร์จะเกี่ยวกับความทรงจำ ตรรกะ เหตุผล ทักษะด้านภาษา ประสาทสัมผัส ทักษะการดำเนินชีวิต รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ และจิตใจ เช่น

  • ความทรงจำเริ่มเลือนลาง เริ่มลืมเรื่องที่เพิ่งผ่านมาไม่นานมานี้ วางของแล้วลืมว่า วางไว้ตรงไหน จำไม่ได้ว่า นัดหมายกับใครไว้บ้าง
  • พูดจาวกวน พูดประโยค หรือคำเดิมซ้ำไปซ้ำมา
  • บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป โดยมีพฤติกรรมหงุดหงิดง่ายขึ้น ก้าวร้าวขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความทรงจำที่เริ่มเลอะเลือน และทักษะการดำเนินชีวิตที่ไม่มีประสิทธิภาพเหมือนเดิม
  • ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพิ่มเติมได้
  • บางรายไม่สามารถแยกรสชาติ หรือกลิ่นได้

โรคอัลไซเมอร์มักพบมากในผู้สูงอายุ เพราะเกิดจากการทำงานของสมองที่เสื่อมลงกว่าเดิม ส่วนในกลุ่มคนทั่วไปก็อาจเกิดโรคนี้ได้

โรคอัลไซเมอร์ยังสามารถเป็นโรคแทรกซ้อนมาจากการป่วยโรคอื่นๆ ได้ เช่น โรคเอดส์ โรคซิฟิลิส โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งสมอง โรคเบาหวาน และโรคซึมเศร้า

โรคอัลไซเมอร์ยังเกิดได้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมด้วย รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสมก็สามารถนำไปสู่การเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ เช่น การพักผ่อนน้อย การรับประทานอาหารที่มีไขมันและอาหารที่มีน้ำตาลสูงเป็นเวลานาน ไม่ออกกำลังกาย บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่บ่อย

นอกจากนี้ผู้ที่เกิดอุบัติเหตุจนได้รับความกระทบกระเทือนต่อสมองอย่างรุนแรง ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้มากกว่าคนทั่วไป

โรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) เป็นโรคที่ผู้ป่วยจะมีอาการสั่นตามอวัยวะ เช่น คาง ลิ้น มือ เท้า พูดไม่ชัด กลอกตาได้ไม่คล่อง มีอาการลูกตากระตุก รวมถึงมีอาการเกร็งตามร่างกาย เคลื่อนไหวร่างกายไม่กระฉับกระเฉง อีกทั้งไม่สามารถแสดงสีหน้าท่าทางได้เต็มที่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โรคพาร์กินสันมีสาเหตุหลักมาจากการที่สมองหลั่งสารโดปามีน (Dopamine) ได้น้อยลง โดยสารนี้มีบทบาทสำคัญในการสั่งการให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว

นอกจากนี้การรับประทานยากล่อมประสาท ยาลดความดันโลหิต ยากลุ่มต้านแคลเซียมสำหรับรักษาโรคหัวใจ โรคแก้เวียนศีรษะ หรือแก้อาการอาเจียน และการรับสารพิษอย่างสารแมงกานีส สารคาร์บอนมอนออกไซต์เป็นระยะเวลานานๆ ก็มีส่วนทำให้เกิดโรคพาร์กินสันได้

การได้รับอุบัติเหตุอย่างการจมน้ำ ถูกบีบคอจนทางเดินหายใจอุดตัน และสมองขาดออกซิเจน รวมถึงการที่ศีรษะได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงก็นำไปสู่การเกิดโรคพาร์กินสันได้เช่นกัน

โรคลมชัก

โรคลมชัก (Epilepsy) เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางจนเกิดอาการเกร็ง หรือชักกระตุกบริเวณอวัยวะบางส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะที่หน้า แขน มือ หรืออาจกระตุกไปทั้งตัวก็ได้ โดยในระหว่างที่เกิดอาการ ผู้ป่วยบางรายจะไม่รู้ตัวว่าตนเองมีอาการชักอยู่

นอกจากอาการแสดงทางร่างกาย ผู้ป่วยโรคลมชักหลายรายยังจะมีอาการวิตกกังวล งุนงง พูดวกวน หมุนตัวไปรอบๆ หรือพึมพำโดยไม่มีสาเหตุด้วย

โรคลมชักเกิดได้จากความผิดปกติหลายอย่างของสมอง เช่น เนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง หรือเกิดจากกรรมพันธุ์ รวมทั้งเกิดได้จากความพิการแต่กำเนิด การติดเชื้อในสมองตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือเกิดจากภาวะขาดออกซิเจนขณะคลอด

นอกจากนี้ในผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคลมชักมาก่อน แต่ประสบอุบัติเหตุจนสมองกระทบกระเทือน ก็สามารถเกิดโรคลมชักได้ในภายหลังเช่นกันขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง

โรคเนื้องอกในสมอง

โรคเนื้องอกในสมอง (Brain tumor) เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ภายในสมองเจริญเติบโตผิดปกติ จนไปรบกวนระบบประสาท และการทำงานของสมอง

โรคเนื้องอกในสมองจะแตกต่างจากโรคมะเร็งสมองตรงที่ไม่ได้เป็นเนื้อร้ายที่ลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ หรือเข้าไปในกระแสเลือดจนสร้างความเสียหายได้ เพียงแต่ก้อนเนื้ออาจไปเบียด หรือทับอวัยวะ และหลอดเลือดสำคัญในสมองจนส่งผลกระทบอื่นๆ ตามมา

โรคเนื้องอกในสมองสามารถพบได้ตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยสูงอายุ มีสาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นยังไม่ชัดเจนนัก แต่ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้มักมาจาก

  • พันธุกรรม
  • โครโมโซมในร่างกายผิดปกติ
  • การได้รับสารเคมี หรือสารก่อมะเร็งเข้าร่างกายในปริมาณมาก ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เช่น สารปิโตรเคมี
  • การเข้ารับการรักษาด้วยวิธีฉายรังสี (Radiotherapy) และเคมีบำบัด (Chemotherapy)
  • การประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง

นอกจากโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของอวัยวะสมองแล้ว โรคทางจิตเวชที่มีปัจจัยมาจากการหลั่งสารเคมีในสมองที่ผิดปกติอย่างโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคเครียด ก็เป็นอีกกลุ่มโรคที่ควรเข้ารับการตรวจเช่นกัน 

หากคุณมีภาวะเครียด มีเรื่องไม่สบาย คุณก็สามารถเข้าพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพจิตที่มีปัญหาได้ รวมทั้งการตรวจวิคราะห์ความเครียด เนื่องจากสภาพจิตใจที่ไม่มีความสุข เครียด สามารถส่งผลให้ร่างกายผิดปกติ และง่ายต่อการเจ็บป่วยมากขึ้นด้วย

การตรวจสมองจะตรวจในการตรวจร่างกายทั่วไปโดยจะประเมินการเคลื่อนไหว การรับรู้ ความจำและประเมินเส้นประสาทสมองทั้ง 12 คู่ โดยการตรวจสมองนั้นจะอาศัยการซักถามประวัติ และใช้ชุดคำถาม ร่วมกับการตรวจร่างกาย 

หากแพทย์สงสัยความผิดปกติบางอย่างจึงจะส่งผู้ป่วยไปทำ CT หรือ MRI แล้วแต่ชนิดโรคที่แพทย์สงสัย

ราคาในการตรวจสมอง

ค่าใช้จ่ายในการตรวจสมองจากรายการที่กล่าวไปข้างต้น ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 4,000-18,000 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนรายการที่เข้ารับการตรวจ โดยเฉพาะการตรวจด้วย CT SCAN และ MRI ที่ราคาจะค่อนข้างสูง อีกทั้งค่าบริการในโรงพยาบาลรัฐ และเอกชนยังมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก

สำหรับรายการตรวจสมองที่หลายโรงพยาบาลเปิดให้ตรวจนั้น หลายแห่งมีการจำแนกแพ็กเกจการตรวจไปตามโรคเกี่ยวกับสมองแต่ละชนิด หรืออาจเป็นการตรวจแบบองค์รวม เพื่อหาความผิดปกติของสมอง

โดยรายการตรวจที่จำเป็น และมีในแพ็กเกจตรวจสมอง หรือระบบประสาท จะมีดังต่อไปนี้

  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • ตรวจระดับไขมันในเลือด
  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
  • ตรวจ หรือทดสอบความจำ เพื่อประเมินความเสี่ยงโรคสมองเสื่อม (Memory Test)
  • ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
  • ถ่ายภาพสมอง และหลอดเลือดสมองด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI (Magnetic Resonance Imaging) ราคาจะประมาณ 3,000-10,000 บาท
  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่สมอง (CT Scan) ราคาจะประมาณ 3,500-7,500 บาท
  • ตรวจอัลตราซาวด์หลอดเลือดแดงที่คอ
  • ตรวจการทำงานของตับ
  • ตรวจการทำงานของไต
  • ตรวจหาเชื้อซิฟิลิส

นอกจากนี้ในโรงพยาบาลบางแห่งยังมีการตรวจประเมินความเสี่ยงเป็นภาวะซึมเศร้า หรือโรคทางจิตเวชด้วย ขึ้นอยู่กับรายการตรวจสมองในแต่ละแพ็กเกจ

การใช้ประกันสังคมจ่ายค่าทำ MRI ได้หรือไม่

หากคุณไม่ได้มีอาการเจ็บป่วย หรือเป็นโรคเกี่ยวกับสมอง แล้วต้องการเข้ารับการตรวจ MRI สมอง เพื่อหาความเสี่ยงต่างๆ คุณจะไม่สามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมในการทำ MRI ได้

แต่หากคุณเป็นผู้ป่วย หรือเป็นผู้ประสบอุบัติเหตุจนสมองได้รับความกระทบกระเทือน และต้องเข้ารับการวินิจฉัยผ่านการทำ MRI เพื่อรักษาอาการต่างๆ คุณสามารถเบิกประกันสังคมได้ไม่เกิน 8,000 บาทต่อราย

การตรวจสมองอาจดูเป็นการตรวจสุขภาพที่น่ากลัว หลายคนเป็นกังวลว่า จะตรวจเจอโรคร้าย หรือโรคที่รักษาหายได้ยาก และเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่หากร่างกายกำลังเผชิญโรคบางอย่างเกี่ยวกับสมองอยู่ก็ควรเข้ารับการตรวจตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อที่จะได้หาทางรักษาโรคดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสมอง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Dementia Helpline Australia, ภาวะสมองเสื่อมคืออะไร? (https://www.dementia.org.au/sites/default/files/helpsheets/Helpsheet-AboutDementia01-WhatIsDementia_thai.pdf), 28 ตุลาคม 2563.
Johns Hopkins Medicine, Neurological Exam (https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/neurological-exam), 12 September 2020.
สำนักงานประกันสังคม, คู่มือผู้ประกันตน (https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/168d83800f111b11586c74980585901b.pdf), 28 ตุลาคม 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความรักของผู้มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (BPD)
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความรักของผู้มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (BPD)

คุณสามารถทำให้ความรักของผู้มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่งเป็นไปได้ด้วยดีไหม?

อ่านเพิ่ม
มีการเชื่อมโยงระหว่างบุคลิกภาพชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality) กับความรุนแรงหรือไม่?
มีการเชื่อมโยงระหว่างบุคลิกภาพชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality) กับความรุนแรงหรือไม่?

อะไรคือความคาดหวังจากคนรักที่มีอาการบุคลิกภาพชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality)?

อ่านเพิ่ม