ขาโก่ง (Bow Legged)

อาการขาโก่งส่วนมากเกิดจากอะไร มีความรุนแรงหรือไม่ หากพบว่าบุตรหลานมีอาการขาโก่งต้องพาไปพบแพทย์หรือเปล่า?
เผยแพร่ครั้งแรก 3 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ขาโก่ง (Bow Legged)

ขาโก่ง เป็นอาการที่ขาของผู้ป่วยโก่งออกจากกัน หมายความว่าหัวเข่าทั้งสองข้างจะแยกไม่แตะกัน แม้จะวางข้อเท้าชิดกันก็ตาม อาการขาโก่งบางครั้งถือเป็นสัญญาณของโรคที่ซ่อนอยู่ เช่น โรคเบลาต์ (Blount’s Disease) หรือโรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets) และอาจตามมาด้วยโรคข้ออักเสบ (Arthritis) ในบริเวณข้อเข่าหรือข้อต่อสะโพก

การสังเกตอาการขาโก่ง

อาการขาโก่งเป็นเรื่องธรรมดาในทารก เนื่องจากทารกต้องโก่งตัวงอเพื่ออยู่ในมดลูก แต่ในช่วงอายุระหว่าง 12 ถึง 18 เดือน ขาของเด็กจะเริ่มเหยียดตรงเมื่อพวกเขาเริ่มหัดเดิน แต่หากบุตรหลานของคุณมีอาการขาโก่งช่วงวัยเกิน 2 ขวบขึ้นไป อาจจะต้องปรึกษากับแพทย์เพื่อทำการแก้ไขต่อไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของอาการขาโก่ง

อาการขาโก่ง อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่อไปนี้

  • โรคเบลาต์ (Blount’s Disease) : โรคนี้จะทำให้หน้าแข้งของเด็กพัฒนาผิดปกติ และมีลักษณะโค้งในระดับใต้เข่า เมื่อเด็กที่เป็นโรคนี้เริ่มฝึกเดิน การโค้งงอของขานั้นจะแย่ลง ในบางคน อาการขาโค้งหรือโก่งดังกล่าวจะพบเห็นได้ชัดตั้งแต่วัยเด็ก โรคเบลาต์พบได้บ่อยในผู้หญิง ผู้ที่มีเชื้อสายแอฟริกัน-อเมริกัน และเป็นเด็กอ้วน รวมถึงเด็กที่ฝึกเดินเร็วเกินวัย (โดยปกติ เด็กควรเริ่มเดินด้วยตัวเองในช่วงระหว่างอายุ 11 ถึง 14 เดือน)
  • โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets) : โรคดังกล่าวเป็นความผิดปกติที่เกิดจากการขาดวิตามินดีเป็นเวลานาน ทำให้กระดูกอ่อนตัวลงและนิ่มลงจนทำให้ขาโก่งไม่ตรงเช่นเดิม
  • โรคพาเก็ท (Paget’s Disease) : โรคนี้เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการสลายและการสร้างกระดูก ดังนั้นกระดูกของผู้ป่วยจะไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ที่ควรจะเป็น เมื่อเวลาผ่านไป โรคดังกล่าวจะทำให้เกิดปัญหาตามข้อต่อ และอาการขาโก่งตามมา โรคพาเก็ทนั้นพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากวินิจฉัยพบได้ไวและได้รับการรักษาในช่วงแรกๆ ของโรค
  • โรคแคระ (Dwarfism) : เป็นรูปแบบหนึ่งของโรคแคระที่พบมากที่สุด เกิดจากสภาวะที่มีชื่อทางการแพทย์คือ Achondroplasia ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการเจริญเติบโตของกระดูกที่ผิดปกติ และอาจส่งผลให้ขาโก่งได้เมื่อเวลาผ่านไป
  • สาเหตุอื่น ๆ : อาการขาโก่ง อาจเป็นผลมาจาก
    • กระดูกแตกหักและยังไม่หายดี
    • กระดูกที่พัฒนาผิดรูป (Bone Dysplasia)
    • พิษตะกั่ว
    • พิษฟลูออไรด์

การวินิจฉัยอาการขาโก่ง

อาการขาโก่งสามารถวินิจฉัยได้ง่าย แต่การจะบอกว่ามีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด จะทำได้ก็ต่อเมื่อแพทย์ทราบถึงความผิดปกติที่เป็นสาเหตุของโรคแล้วเท่านั้น

เมื่อเข้าพบแพทย์ แพทย์มักทำการวัดความยาว ขนาดของขา และสังเกตขณะที่เดิน อาจมีการถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์หรือการตรวจอื่น ๆ เพื่อตรวจหาความผิดปกติของกระดูกขาและหัวเข่า รวมถึงมีการตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบว่าอาการขาโก่งเกิดจากความผิดปกติอื่นๆ เช่น โรคกระดูกอ่อน หรือโรคพาเก็ทหรือไม่

การรักษาอาการขาโก่ง

กรณีที่ทารกและเด็กเล็กเกิดอาการขาโก่ง โดยปกติแล้วแพทย์จะไม่ทำการรักษาให้ เว้นแต่จะทราบสาเหตุที่แน่นอน และสาเหตุนั้นมีความผิดปกติเฉพาะหรือรุนแรง

ทางเลือกในการรักษาอาการขาโก่งที่พบได้โดยทั่วไป คือ

  • สวมใส่รองเท้าเฉพาะ
  • ใช้เครื่องพยุงขา
  • การใส่เฝือก
  • การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของกระดูก
  • การรักษาโรคหรือความผิดปกติที่ทำให้ขาโก่ง

การป้องกันอาการขาโก่ง

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันอาการขาโก่งได้ แต่สามารถป้องกันโรคบางอย่างที่สามารถนำไปสู่อาการขาโก่งได้ เช่น คุณสามารถป้องกันโรคกระดูกอ่อนในเด็กได้ โดยให้บุตรหลานของคุณได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอ ทั้งจากอาหารและการได้รับแสงแดด เป็นต้น

ที่มาของข้อมูล

Ann Pietrangelo, What Causes Bow Legged? (https://www.healthline.com/symptom/bow-legged), March 20, 2018.


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีป้องกันโรคกระดูกเสื่อม
วิธีป้องกันโรคกระดูกเสื่อม

โรคกระดูกเสื่อม ไม่ใช่เรื่องไกลตัว ใครๆก็เป็นได้ มาอ่านวิธีป้องกัน กันเถอะ

อ่านเพิ่ม