Creatinine
วัตถุประสงค์
- เพื่อจะตรวจสอบสมรรถนะการทำงานของ ไต โดยค่าครีเอทินีนที่ตรวจได้เป็นผลจากการออกแรงยืดหดหรือการใช้กล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle) ทั่วร่างกายในชีวิตประจำวัน จึงค่อนข้างเป็นตัวเลขที่คงที่ สารของเสียอันเกิดจากการยึดหมดตัวของกล้ามเนื้อดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า “creatinine phosphate”
- Creatinine phosphate ที่เกิดขึ้นของแต่ละบุคคลจึงค่อนข้างคงที่เพราะไม่เกี่ยวกับอาหารที่กินมากนัก รวมทั้งไม่เกี่ยวกับตับและหากไปทำงานเป็นปกติมันก็จะขับออกทิ้งทางปัสสาวะพ้นร่างกายไปโดยเหลือทิ้งค้างในกระแสเลือดด้วยปริมาณคงที่ไว้จำนวนหนึ่งไม่มากนัก
คำอธิบายอย่างสรุป
- Creatinine phosphate เป็นสารของเสียจากการใช้กล้ามเนื้อของตนเองในชีวิตประจำวัน (แม้แต่กล้ามเนื้อหัวใจ) ฉะนั้น ในร่างกายของผู้ที่เป็นนักกีฬาชนิดใดที่ต้องออกแรงมากๆ เช่น นักกีฬายกน้ำหนักนักเทนนิส หรือ กรรมกรแบกหาม จึงอาจมีค่า Creatinine สูงกว่าปกติบ้างเล็กน้อย
- ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชนิดที่เป็นเนื้อแดงของหมู วัว คำที่ใช้เรียกตรงกับภาษาอังกฤษว่า “meat” ซึ่งส่วนเนื้อที่เป็นกล้ามเนื้อนั้นย่อมจะมี Creatinine phosphate แฝงอยู่ด้วยจำนวนหนึ่งโดยหากยิ่งทำให้ Creatinine phosphate สูงด้วยการใช้ความร้อนนั้นนานเช่น การตุ๋น ก็จะยิ่งทำให้ Creatinine phosphate จากเนื้อสัตว์ออกมาปนในอาหารเพิ่มค่าให้สูงยิ่งขึ้นมากกว่าปกติ
- ตามปกติ ไตจะทำหน้าที่กรองและขับทิ้ง Creatinine phosphate เช่นเดียวกับ urea nitrogen (ของ BUN) แต่ค่า Creatinine phosphate จะแสดงผลให้เห็นถึงประสิทธิภาพของไตแน่นอนกว่า
ค่าปกติของ Creatinine phosphate
- ให้ยึดถือตามข้าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี)
- ค่าปกติทั่วไป
ผู้ชาย = Creatinine : 0.6 - 1.2 mg/dL
ผู้หญิง = Creatinine : 0.5 - 1.1 mg/dL
วัยรุ่น = Creatinine : 0.5 - 1.0 mg/dL
เด็ก = Creatinine : 0.3 – 0.7 mg/dL
ค่าผิดปกติ
- ในทางน้อย อาจแสดงผลว่า
- เกิดอาการอ่อนแรง หรือเป็นบุคคลที่ไม่ใคร่จะได้เขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกาย (debilitation)
- เกิดจากมวลกล้ามเนื้อลดลง เช่น อาจเกิดโรคกล้ามเนื้อลีบ (muscular dystrophy) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้ายแรง (myasthenia gravis, MG)
- ในทางมาก อาจแสดงผลว่า
- มีปัญหาจากเหตุสำคัญต่อไตหรือโรคไตอย่างใดอย่างหนึ่ง
- อาจมีเหตุสำคัญหรือโรคร้ายแรงนำไปสู่สภาวะของโรคกล้ามเนื้อสลาย (rhabdomyolysis)
- อาจเกิดจากสภาพร่างกายใหญ่โตไม่สมส่วน (acromegaly) เช่น โตเกินวัย หรือโตเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ผิดปกติ (กรณีตัวอย่าง เช่น สูงผิดปกติ)
- อาจเกิดสภาพร่างยักษ์ (gigantism)
Uric acid
วัตถุประสงค์
เพื่อจะตรวจสอบว่าในเลือดไม่กรดยูริก (uric acid) ที่มีค่าสูงเกินไปหรือไม่เนื่องจากหากปล่อยให้มีค่าสูงเกินเกณฑ์ปกติไปนั้นนานๆ ย่อมมีโอกาสเสี่ยงที่จะนำไปสู่การเกิดโรคเกาต์ ทำให้ปวดตามข้อกระดูกต่างๆ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คำอธิบายอย่างสรุป
- โรคเกาต์ มักออกเสียงว่า “เก๊า” เป็นชื่อโรคในภาษาอังกฤษ (ไม่ใช่มาจากภาษาจีน) สะกดตรงตัวว่า “gout” โดยอาศัยร่างศัพท์ดั้งเดิมของภาษาละตินมาจากคำว่า “gutta” ที่มีความหมายว่า “a drop” (หยดลง) โดยให้ความหมายเป็นนัยว่า หากขีนปล่อยให้กดยูริกทิ้งอยู่ในกระแสเลือดไปนั้นนานๆ มันก็จะจับตัวกัน “หยดลง” กลายเป็นเกลือยูเรต (urate) แล้วเข้าแทรกอยู่ตามข้อต่อของกระดูกในรูปผลึกเป็นรูปหนามแหลมสร้างความปวดร้าวตรงข้อต่อให้แก่เจ้าของร่างกาย
- ผู้ที่ละเลยให้มีค่ากดยูริกเกินเกณฑ์ปกติไปนั้นนานจะได้ชื่อว่าเป็นโรคอีกชื่อหนึ่งว่า “hyperuricemia” (โรคยูริกสูง) ทั้งนี้เมื่อกดยูริกในเลือดมีความเข้มข้นมากขึ้นมันก็จะตกผลึกจับตัวกันเป็นของแข็งกลายเป็นสารคริสตัล (crystals) มีลักษณะปลายหนามแหลมคมไส้อยู่ในช่องระหว่างข้อต่อของกระดูก
- ข้อต่อของกระดูกที่โรคเกาต์มันมากสร้างความปวดร้าว ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยการเก็บตัวเลขทางสถิติจากมากไปน้อยเรียงตามตำแหน่งกระดูกที่ปวดได้ดังนี้
- นิ้วหัวแม่เท้าและนิ้วเท้าอื่นๆ
- ข้อเท้า
- ส้นเท้า
- ฝ่าเท้า
- หัวเข่า
- นิ้วมือ
- ข้อมือ
- ข้อศอกกระดูกสันหลัง
- สำหรับอาการของโรคเกาต์ ก็อาจจะเกิดอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเกิดขึ้นได้พร้อมพร้อมกันด้วยอาการดังนี้
- ปวดเหมือนเข็มแทง (ในความเป็นจริง ก็อาจ เกิดจากปลายคริสตัลมันแทงก็ได้)
- บวม
- ผิวหนังออกสีแดง
- เอามือสัมผัส จะรู้สึกอุ่นมือ
- ข้อกระดูกตรงส่วนนั้นจะแข็งขยับเขยื้อนยาก
- ผู้ที่เคยปวดทรมานจากโรคเกาต์ได้เคยเล่าให้ผมฟังว่า มันจะปวดร้าวมากชนิดที่รู้สึกว่าจะกระเทือนไม่ได้เลย ขนาดลมพัดเพียงใบไม้ไหวผ่านมาเบาๆ ก็ยังรู้สึกว่าอาการปวดนั้นมันจะรุนแรงมากขึ้นในที่สุดถึงขั้นที่เพียงแมวเดินผ่านมาใกล้ๆ กับหัวแม่เท้าที่มีปัญหาก็ทำให้รู้สึกปวดเพิ่มขึ้นมาได้ !
- ในทางการแพทย์ ท่านทราบนานแล้วว่าอาหารที่มีสารพิวรีนสูงนั้นเมื่อมนุษย์กินเข้าไปแล้วจะถูกร่างกายแตกตัวจนถึงขั้นสุดท้ายแล้วก็จะทำให้เกิดเป็นกรดยูริกซึ่งนับเป็นสารของเสียที่ไตจะมีบทบาททำให้ผลร่างกายทางน้ำปัสสาวะออกไปประมาณ 75% ส่วนอีกประมาณ 25% ก็จะขับออกทางลำไส้ปนออกมากับกากอาหารในกรณีน้ำปัสสาวะมีความเข้มข้นสูงด้วยกรดยูริกก็มีโอกาสจะสร้างนิ่วในไตให้เกิดขึ้นได้เหมือนสร้างคริสตัลในข้อกระดูก
- พิวรีนในอาหาร
- อาหารที่มีค่าพิวรีนสูง ได้แก่ เนื้อแดงของวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ เนื้อปลาทะเล และปลากระป๋อง และอาหารที่ใช้เชื้อรา (yeast) เป็นองค์ประกอบ เช่น ขนมปัง (หมัก, หวาน) เบียร์ ไวน์ เครื่องในสัตว์ ทุกชนิด
- อาหารที่มีค่าพิวรีนปานกลาง-ต่ำ ได้แก่ ข้าว ผักสด ผลไม้สด เมล็ดพืช ถั่วเม็ดใหญ่ เช่น เกาลัด
ค่าปกติของ BUN
- ให้ยึดถือตามข้าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี)
- ค่าปกติทั่วไป
ผู้ชาย = Uric acid : 4.0 - 8.5 mg/dL
ผู้หญิง = Uric acid : 2.7 - 7.3 mg/dL
เด็ก = Uric acid : 2.5 - 5.5 mg/dL
ค่าวิกฤตของ Uric acid
ค่าใด ๆ ที่มากกว่า 12 mg/dL
ค่าผิดปกติ
- ในทางน้อย อาจแสดงผลว่า
- อาจกำลังเกิดโรค “Wilson’s disease” ซึ่งเกิดจากการที่ตับต้องเก็บสะสมทองแดงไว้เกินขนาด ทำให้ตับหย่อนประสิทธิภาพลงจนสลายสารพิวรีนออกมาเป็นกรดยูริก ได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น
- อาจเกิดสภาวะ “Fanconi syndrome” อันเนื่องมาจากได้รับสารโลหะหนักมากเกินไป น ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม (มักติดมากับหอยชายทะเลน้ำตื้น)
- อาจเกิดความเป็นพิษจากตะกั่ว (lead poisoning) ซึ่งมีผลทำลายต่อตับ จากการรับสารตะกั่วเป็นเวลานาน
- ในทางมาก จำเป็นต้องพิจารณาออกเป็น 2 กรณี กล่าวคือ
- กรณีที่ 1 ได้มีการสร้างกรดยูริกเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้นอย่างผิดปกติ ทั้งๆที่ ไตมีสภาพปกติดี แต่ก็ขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะไม่ทัน ค่ากรดยูริกจึงสุงขึ้น
- กรณีที่ 2 ในกรณีมิได้กินอาหารที่มีพิวรีนสูง ประกอบกับตับก็เป็นปกติดี มิได้ผลิตกรดยูริกส่งเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น แต่ไตมีปัญหา ทำงานไม่เป็นปกติ อย่างนี้ก็อาจทำให้ค่ายูริกในกระแสเลือดมีระดับสูงขึ้นได้
คราวนี้จะได้พิจารณาถึงลของแต่ละกรณี
- กรณีที่ไตเป็นปกติดี แต่ค่ากรดยูริกในกระแสเลือดถูกตรวจพบว่า สูงขึ้นมากกว่าปกติ อาจแสดงผลว่า
- กินอาหารที่มีพิวรีนมากเกินไป
- โดยที่สารประกอบพิวรีนและเป็นองค์ประกอบประมาณครึ่งหนึ่งของรหัสพันธุกรรมหรือ DNA (deoxyribonucleic acid)
ฉะนั้นความผิดปกติใดๆ ของตับในการเผาผลาญผิวรีน (purine metabolism)สูญสลายมากขึ้น จึงอาจทำให้การสร้างเซลล์ใหม่ขาดวัตถุดิบจนถึงขั้นอาจมีการผิดเพี้ยนในเซลล์เกิดใหม่นั่นคือโอกาสที่จะเกิดเซลล์กลายพันธุ์และกลายเป็นเซลล์มะเร็งขึ้นได้ โดยเหตุนี้ หากค่า uric acid มีระดับสูงขึ้นมาก ๆ ทั้ง ๆ ที่ไปมีสภาวะเป็นปกติดีจึงจำเป็นต้องนึกถึงการแพร่กระจายของมะเร็งว่าอาจเกิดจากมะเร็งไขกระดูก (multiple myeloma) หรืออาจเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia)
- อาจเกิดจากสภาวะเม็ดโลหิตแดงแตกสลาย (hemolysis)ทำให้กรดนิวคลิอิก (nucleic acid) หลุดออกมาสู่กระแสเลือดและปรับเปลี่ยนต่อไปเป็นกรดยูริกจึงทำให้ค่า Uric acid สูงขึ้น
- อาจเกิดจากสาเหตุใดๆ ที่ทำให้เกิดสภาวะโรคกล้ามเนื้อสลาย (rhabdomyolysis) ทั้งนี้กรดยูริกจะเป็นผลผลิตสุดท้ายของการสลายที่ล่องลอยในกระแสเลือดโดยเหตุนี้ค่า uric acid จึงมีระดับสูงขึ้น ความสำคัญของข้อนี้ มันอยู่ตรงข้อความที่ว่า สาเหตุใดๆ ที่ทำให้เกิดสภาวะกล้ามเนื้อสลาย ซึ่งในทางการแพทย์อาจเป็นที่รับรู้กันแล้วว่ามีเหตุได้บ้างแต่สาเหตุสำคัญซึ่งไม่ค่อยมีใครพูดถึงกัน ก็คือการกินยากลุ่มสตาติน (statin) ที่มีชื่อทางการค้า (ขออภัยที่จะไม่เอ่ยชื่อ อย่าจริงๆของเขา) ที่มีสำเนียงลงท้ายว่า “เตอร์ๆ” หรือ “เคอร์ๆ”
ผู้ที่ให้ความรู้อันเป็นความจริงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ คือ แพทย์หญิงดร. เบียร์ทริซ เอ. โกลอมบ์ (Beatrice A. Golomb, M.D., Ph.D.) แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ซานดิเอโก สหรัฐอเมริกา คุณหมอ ดร. โกลอมบ์. ท่านได้รายงานไว้ชัดเจนว่ากลุ่มยาสตาติน (ที่กินเพื่อหวังจะใช้ลดคลอเรสเตอรอลกันแพร่หลายไม่ว่ายาจะมีชื่อใด) ล้วนแล้วแต่มีผลข้างเคียงที่อาจทำให้ผู้กินยาเกิดสภาวะโรคกล้ามเนื้อสลาย (rhabdomyolysis) และสิ่งที่สลายซึ่งลอยในเลือดนั้นจะมีพี่ต่อไปจนอาจทำให้ไตวายและอาจเสียชีวิตในที่สุด
สิ่งที่สลายนั้นส่วนหนึ่งก็คือมันจึงทำให้ระดับที่ตรวจพบในกระแสเลือดสูงขึ้นและสภาวการณ์ดังว่านี้มีโอกาสเกิดง่ายขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยที่สูงอายุ
- กรณีที่ตับเป็นปกติดีและมีได้กินอาหารที่มีสารพิวรีนสูงแต่ระดับค่า uric acid ในเลือดก็ยังอาจสูงแสดงผลว่า
- อาจกำลังเกิดโรคไปเรื้อรัง (chronic renal disease) ซึ่งเป็นเหตุให้ขับของเสียต่างๆ รวมทั้ง uric acid ออกจากร่างกายได้น้อยลงจึงทำให้กดยูริกสะสมในกระแสเลือดจนมีระดับสูงขึ้น
- อาจเกิดสภาวะความเป็นกรดจากโรคเบาหวานหรือเป็นกรดจากการอดอาหาร (diabetic acidosis or starvation acidosis) เนื่องจากน้ำตาจากเบาหวานก็ตาม หรือ สาร ketone จากการอดอาหารก็ตามจะไปปิดช่องทางของกรวยไต ทำให้ลดประสิทธิภาพการขับของเสียออกจากร่างกายโดยเหตุนี้จึงทำให้ uric acid ในเลือด มีระดับสูงขึ้น
- อาจเกิดสภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป โดยเหตุที่ต่อมไทรอยด์ มีบทบาทในการควบคุมการเผาผลาญอาหารฉะนั้นในกรณีที่มัน ลดบทบาทลงซึ่งทำให้ร่างกายเผาผลาญอาหารเกินความจำเป็นมีผลทำให้น้ำหนักร่างกายเพิ่มขึ้นและเกิดความผิดปกติอีกหลายประการ แต่ที่สำคัญซึ่งเกี่ยวกับ uric acid ก็คือมันจะเพิ่มระดับในกระแสเลือด
- อาจเกิดจากโรคพิษแห่งครรภ์ (toxemia of pregnancy)
- อาจเกิดจากโรคพิษสุราเรื้อรัง (alcoholism)เนื่องจากแอลกอฮอล์จะไปเล่นตับให้ส่งของเสียคือกดยูริกและของเสียตัวอื่นเข้าสู่กระแสเลือดจนปิดกั้นกรวยไต ทำให้ไตขับถ่ายทิ้งออกผลร่างกายไม่ทันจึงย่อมมีผลทำให้ uric acid ในเลือดอาจมีค่าสูงเกินปกติ
รูปหน้า 219
หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง (พลเอกประสาร เปรมะสกุล) ได้โดยการซื้อหนังสือ (คู่มือแปลผลการตรวจเลือด)