กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

อันตรายแค่ไหนถ้ามีเลือดออกทางช่องคลอดในขณะตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
อันตรายแค่ไหนถ้ามีเลือดออกทางช่องคลอดในขณะตั้งครรภ์

โดยปกติในช่วงที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์นั้น หากไม่มีเหตุผิดปกติใดๆ จะไม่มีเลือดออกมาจากช่องคลอดเลย แต่เมื่อใดก็ตามที่มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น จะมีเลือดไหลออกมาจากทางช่องคลอด ซึ่งสาเหตุที่เลือดไหลออกมานั้นมีหลายสาเหตุ และมีอันตรายที่รุนแรงมากน้อยแตกต่างกันด้วย

  1. กรณีที่มีเลือดออกทางช่องคลอด แล้วมีอาการปวดท้องร่วมด้วย ให้รีบไปพบคุณหมอทันที แม้ว่าจะเป็นเวลาใดก็ตามต้องรีบไปหาคุณหมอให้เร็วที่สุด เพราะอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้
  2. ถ้าแค่มีเลือดซึมๆ ออกมาในตอนกลางคืน แต่ไม่ปวดท้อง ถ้าไม่สะดวกจริงๆ ก็สามารถไปหาคุณหมอในตอนเช้าได้ (แต่ถ้าให้ดีก็ควรไปทันทีเหมือนกัน)
  3. มีโอกาสแท้งสูงมากหากมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงที่อายุครรภ์ยังไม่ถึง 20-28 สัปดาห์
  4. การแท้งบุตร หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Miscarriage หรือ Abortion หมายถึง การสิ้นสุดการตั้งครรภ์ก่อนที่ทารกที่คลอดออกมาจะมีชีวิตรอด (ตามเกณฑ์ของประเทศไทย อายุครรภ์ น้อยกว่า 28 สัปดาห์ สำหรับต่างประเทศใช้อายุครรภ์)
  5. ถ้าอายุครรภ์เกิน 28 สัปดาห์ไปแล้วและมีเลือดออกจะเรียกว่า ภาวะตกเลือดก่อนคลอด (Antepartum haemorrhage)
  6. หากมีมูกเลือดออกมาพร้อมกับเลือดด้วย ให้รีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเพราะเป็นอาการใกล้จะคลอดเช่นกัน

ดังนั้นหากมีเลือดออกทางช่องคลอด ทางที่ดีควรรีบไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุดเพื่อความปลอดภัย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สมบูรณ์ คุณาการ. นรีเวชวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : พีเอลีฟวิ่ง, 2544.
Spontaneous abortion: Management (https://www.uptodate.com/conte...)
Dr. Chitra Setya M.D. Sr. Consultant Obstetrician and Gynaecologist , Apollo Hospital Noida

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม