วอลนัท พืชตระกูลถั่วยืนต้นที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายด้าน

วอลนัท อาหารสุขภาพที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เมลาโทนิน วิตามินอี โอเมก้า 3 และสารอาหารอื่นๆ อีกมากมาย แต่มีโอกาสทำให้เกิดอาการแพ้อาหาร จึงควรรับประทานอย่างระมัดระวัง
เผยแพร่ครั้งแรก 1 มิ.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
วอลนัท พืชตระกูลถั่วยืนต้นที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายด้าน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • วอลนัท (Walnuts) เป็นหนึ่งในพืชตระกูลนัท (Tree nut) ที่คนนิยมรับประทานกัน โดยสายพันธุ์ที่นิยมรับประทานในท้องตลาดมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ Persian Black walnut Japanese walnut หรือ Butternut
  • วอลนัท 100 กรัม ให้พลังงาน 654 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหารสำคัญต่างๆ เช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
  • ประโยชน์ของวอลนัท เช่น อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) ในเลือด มีวิตามินอีสูง และมีส่วนช่วยในการนอนหลับ
  • วอลนัทดิบจะมีรสชาติมันติดขมนิดๆ แต่หากเอาไปอบจะลดความขมลง ส่วนใหญ่กินเป็นอาหารว่าง นำไปโรยบนสลัดผัก โยเกิร์ต เพื่อเพิ่มรสสัมผัสของอาหาร
  • ข้อควรระวังในการรับประทาน คือ วอลนัทเป็นถั่วในกลุ่มนัท ซึ่งสหภาพยุโรป (EU) จัดให้เป็น 1 ใน 12 อาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้อาหาร (Food allergy) ที่พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้

วอลนัท (Walnuts) หรือที่คนชอบเรียกกันว่า ถั่วสมอง เพราะมีรูปร่างคล้ายสมอง เป็นหนึ่งในพืชตระกูลนัท (Tree nut) ที่คนนิยมรับประทานกัน

สายพันธุ์วอลนัทที่เป็นที่นิยมในท้องตลาดมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • Persian หรือเรียกว่า English walnut
  • Black walnut หรือเรียกว่า American walnut
  • Japanese walnut
  • Butternut หรือเรียกว่า American white walnut

เมื่อเปลือกของวอลนัทเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เกษตรกรจะเก็บเกี่ยวโดยการเขย่าลำต้น ผลวอลนัทก็จะร่วงหล่นลงมาอย่างงง่ายดาย

หลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการนำวอลนัทมาทำความสะอาด ปอกเปลือกออก แล้วนำไปอบแห้งที่อุณหภูมิไม่เกิน 43 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันการเหม็นหืนที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง

วอลนัทจะถูกบรรจุลงบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งออก หรือนำไปแปรรูปเป็นน้ำมันวอลนัทห นมวอลนัท ซึ่งล้วนแต่เป็นที่นิยมในการบริโภคของคนทั่วโลก เพราะเป็นอาหารที่อุดมไปสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

คุณค่าทางโภชนาการของวอลนัท

วอลนัท 100 กรัม ให้พลังงาน 654 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหารสำคัญดังนี้

  • โปรตีน 15.23 กรัม
  • ไขมัน 65.21 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 13.71 กรัม
  • ใยอาหาร 6.7 กรัม
  • แคลเซียม 98 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 346 มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม 441 มิลลิกรัม

นอกจากนี้ วอลนัทยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุสำคัญอื่นๆ อีกมากมาย เช่น เหล็ก ซิงก์ ซีลีเนียม วิตามินซี ไนอะซิน (Niacin) และโฟเลต (Folate)

ประโยชน์ของวอลนัท

วอลนัทอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ช่วยลดการอักเสบที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันชนิดไม่ดีสูง (LDL cholesterol) ชะลอกระบวนการแก่ชรา ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ภาวะอัลไซเมอร์ โรคหัวใจ และโรคเส้นเลือดในสมองตีบ
  • มีโอเมก้า 3 (Omega-3) สูง เป็นกรดไขมันดีที่จำเป็นต่อระบบการทำงานต่างๆ ภายในร่างกาย การรับประทานวอลนัทเป็นประจำจะลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) ในเลือดที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
  • มีวิตามินอีสูง เป็นวิตามินที่มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ป้องกันการแตกของเม็ดเลือดแดง การเกิดลิ่มเลือดและการอุดตันของเส้นเลือด ลดกระบวนการอักเสบในร่างกาย บำรุงสุขภาพผิวและเส้นผม โดยละลายได้ดีในไขมัน ซึ่งในวอลนัทก็มีไขมันดีอยู่ด้วย
  • ช่วยในการนอนหลับ เพราะในวอลนัทมีสารเมลาโทนิน (Melatonin) ประมาณ 2.5-4.5 นาโนกรัมต่อกรัม โดยเมลาโทนินจะทำให้ร่างกายรู้สึกง่วง จึงมีส่วนช่วยในการรักษาอาการนอนหลับผิดเวลา โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) และบรรเทาอาการเจ็ตแลก (Jet lag)

วอลนัท รับประทานอย่างไร?

วอลนัท เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่รับประทานง่าย โดยวอลนัทดิบจะมีรสชาติมันติดขมนิดๆ แต่หากเอาไปอบจะลดความขมลง ส่วนใหญ่กินเป็นอาหารว่าง นำไปโรยบนสลัดผัก โยเกิร์ต เพื่อเพิ่มรสสัมผัสของอาหาร หรือนำไปประกอบอาหารอื่นๆ เช่น ผัดผัก หมักไก่ หมักปลาก็ได้ ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของแต่ละบุคคล

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรรับประทานถั่ววอลนัทมากเกินไป เนื่องจากวอลนัทให้พลังงานที่ค่อนข้างสูง หากเผาผลาญไม่หมดก็อาจทำให้เกิดการสั่งสมจนกลายเป็นโรคอ้วนได้ อีกทั้งการได้รับไขมันดีมากเกินไปก็อาจให้โทษมากกว่าดี

ยังไม่มีการกำหนดปริมาณการรับประทานพืชตระกูลถั่วที่แนะนำต่อวันอย่างชัดเจน แต่ไม่ควรรับประทานเกิน 1 กำมือต่อวัน

วอลนัทราคาเท่าไร หาซื้อได้ที่ไหน?

วอลนัท มีจัดจำหน่ายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นวอลนัทดิบ วอลนัทอบพร้อมรับประทาน นมวอลนัท หรือน้ำมันวอลนัท โดยมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 150-500 บาท ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและปริมาณ

วอลนัท สามารถหาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไปหรือร้านค้าออนไลน์ต่างๆ

ข้อควรระวังในการรับประทานวอลนัท

วอลนัทเป็นถั่วในกลุ่มนัท (Tree nuts) หมายถึงผลแห้งจากพืชยืนต้นที่นำมาใช้บริโภคด้วยการคั่ว ทอด หรือนำไปประกอบอาหาร ซึ่งสหภาพยุโรป (EU) จัดให้ถั่วในกลุ่มนัทเป็น 1 ใน 12 อาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้อาหาร (Food allergy) ที่พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

หากหลังจากรับประทานวอลนัทภายใน 2-6 ชั่วโมง มีอาการชา คัน หรือบวม ที่ปาก รอบดวงตา ใบหู ในลำคอ มีผื่นคัน กลืนอาหารลำบาก หายใจติดขัด วิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม รู้สึกไม่สบาย ท้องเสีย หรือมีอาการคล้ายไข้ละอองฟาง แสดงว่าคุณแพ้วอลนัท ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจภูมิแพ้อาหารเพิ่มเติม

การตรวจภูมิแพ้อาหารจะช่วยให้คุณรู้ระดับความรุนแรงในการแพ้เพื่อเตรียมรับมือได้อย่างเหมาะสม หากตรวจพบว่ามีอาการแพ้อาหารรุนแรง แพทย์จะจัดยาฉีดอิพิเนฟริน (Epinephrine) ให้พกติดตัว

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชันเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
นศภ. ทศพล จันทร์ดี, วิตามินอี (Vitamin E) ดี โทษ อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ! (https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=33).
Jess Halliday, Walnuts are a source of melatonin, shows study (https://www.nutraingredients.com/Article/2005/09/14/Walnuts-are-a-source-of-melatonin-shows-study), 19 July 2008.
Marsha McCulloch, 13 Proven Health Benefits of Walnuts (https://www.healthline.com/nutrition/benefits-of-walnuts).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)