เดินเท้าเปล่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพหรือไม่?

เผยแพร่ครั้งแรก 7 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เดินเท้าเปล่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพหรือไม่?

การเดินเท้าเปล่าในบ้านคือสิ่งที่เราทำกันจนเป็นเรื่องปกติ แต่ก็มีหลายคนที่ฝึกเดินและบริหารฝ่าเท้าที่เปลือยเปล่าทุกวัน อย่างไรก็ดี หากนึกย้อนกลับไปสมัยที่เราเป็นเด็ก คุณจะพบว่าเด็กเล็กเรียนรู้ที่จะเดิน ซึ่งผู้ปกครองมักจะปล่อยให้กระบวนการดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติโดยไม่ให้ลูกใส่รองเท้า เพราะรองเท้าสามารถส่งผลต่อการใช้กล้ามเนื้อ และกระดูก อย่างไรก็ตาม สำหรับบทความในวันนี้ เราจะพาคุณไปดูประโยชน์ของการเดินเท้าเปล่าให้มากขึ้น มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของการเดินเท้าเปล่า

  • ช่วยฟื้นฟูรูปแบบการเดินตามธรรมชาติ
  • ควบคุมตำแหน่งของเท้าเมื่อสัมผัสกับพื้น
  • ช่วยให้การทรงตัว การรู้อากัปกิริยา และการรับรู้ส่วนต่างๆ ของร่างกายดีขึ้น ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บ
  • กลไกการทำงานของเท้าดีขึ้น ทำให้สะโพก หัวเข่า และแกนกลางของร่างกายมีกลไกการทำงานที่ดีขึ้นตามไปด้วย
  • ช่วยให้เท้าและข้อเท้าเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสม อีกทั้งยังช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นแข็งแรงและมั่นคง
  • ช่วยให้เท้าได้ผ่อนคลายจากการใส่รองเท้าที่คับแน่น ซึ่งอาจทำให้นิ้วหัวแม่เท้าเอียง นิ้วเท้างอ หรือมีนิ้วเท้าที่ผิดรูป
  • กล้ามเนื้อขาแข็งแรงขึ้น ทำให้ช่วยพยุงหลังส่วนล่าง

อันตรายจากการเดินหรือออกกำลังกายด้วยเท้าเปล่า?

การเดินเท้าเปล่าในบ้านเป็นเรื่องที่ปลอดภัย แต่หากคุณทำเช่นนี้เมื่ออยู่นอกบ้าน มันก็จะทำให้ฝ่าเท้าเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ อย่างไรก็ดี คุณจำเป็นต้องพิจารณาพื้นผิวที่เดินด้วย เพราะฝ่าเท้าอาจบาดเจ็บจากการสัมผัสพื้นผิวที่ขรุขระ เปียก ร้อนหรือเย็น รวมถึงอาจถูกแก้ว หรือวัตถุที่มีความแหลมคมบนพื้นดินบาดเท้า นอกจากนี้มันก็อาจทำให้ฝ่าเท้าสัมผัสกับแบคทีเรียที่อันตรายและทำให้เกิดการติดเชื้อ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วิธีการเดินและออกกำลังกายด้วยเท้าเปล่าที่ถูกต้อง

  • ค่อยๆ เริ่ม: คุณจำเป็นต้องอดทนและเริ่มเดินเท้าเปล่าครั้งละ 15-20 นาที ซึ่งการปล่อยให้เท้าและข้อเท้าได้ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ คือเรื่องสำคัญ เมื่อฝ่าเท้าของคุณคุ้นเคยกับการเดินโดยไม่ใส่รองเท้า คุณก็ค่อยเพิ่มระยะทางและเวลา
  • พักเท้าเมื่อรู้สึกเจ็บหรือไม่สบายเท้า: หากเท้าไม่แข็งแรง มันก็จะทำให้คุณเดินไม่สะดวก และเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บ
  • เดินในบ้าน: ก่อนที่คุณจะออกไปเดินเท้าเปล่านอกบ้าน การฝึกเดินในบ้านเพื่อให้เท้าคุ้นชินกับพื้นผิวที่ปลอดภัยก็เป็นไอเดียที่ดี
  • ฝึกบนพื้นผิวที่ปลอดภัย: เมื่อคุณเดินเท้าเปล่าในบ้านจนชำนาญแล้ว ให้คุณลองเดินนอกบ้านโดยเลือกบริเวณที่มีพื้นผิวที่อันตรายน้อยลง เช่น หญ้าเทียม ชายหาด สนามหญ้า ฯลฯ
  • ทำพร้อมกับออกกำลังกายที่ช่วยเรื่องการทรงตัว:  คุณอาจออกกำลังกายง่ายๆ อย่างยืนด้วยขาข้างเดียว หรือเขย่งเท้า และค่อยๆ ลดเท้าต่ำลงอย่างช้าๆ
  • ทำกิจกรรมที่จำเป็นต้องใช้เท้าเปล่า: ตัวอย่างเช่น โยคะ พิเลต หรือศิลปะการต่อสู้
  • ตรวจสอบเท้าว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่: ให้คุณตรวจสอบฝ่าเท้าทุกวัน เพราะมีหลายคนที่ฝ่าเท้ามีความรู้สึกน้อยลง นอกจากนี้คุณไม่ควรวิ่งหรือปีนเขาด้วยเท้าเปล่าหากคุณไม่ได้ใช้เวลาอย่างเพียงพอในการเตรียมเท้าให้พร้อมกับกิจกรรมเหล่านี้

หากคุณรู้สึกเจ็บส้นเท้าหลังพักหรือเจ็บเท้าขณะเดิน คุณคงต้องกลับไปใส่รองเท้า และค่อยๆ เริ่มอีกครั้งเมื่อเท้าหายดี การเดินและออกกำลังกายด้วยเท้าเปล่านับว่ามีประโยชน์ตราบใดที่คุณทำด้วยความระมัดระวังและทำแค่ในระดับปานกลาง หากคุณกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือสุขภาพเท้าของตัวเอง การปรึกษาแพทย์ก็เป็นไอเดียที่ดี

ที่มา: https://www.healthline.com/hea...


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Walking Barefoot: Benefits, Potential Dangers, How to Do It Prope. Healthline. (https://www.healthline.com/health/walking-barefoot)
Hollander K, et al. (2017). Long-term effects of habitual barefoot running and walking: A systematic review. (https://www.researchgate.net/publication/309617514_Long-Term_Effects_of_Habitual_Barefoot_Running_and_Walking_A_Systematic_Review)
Franklin S, et al. (2015). Barefoot vs. common footwear: A systematic review of the kinematic, kinetic and muscle activity differences during walking. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26220400)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
3 เหตุผลที่ทำให้การพยายามทำหลายสิ่งขณะขี่จักรยานเป็นความผิดพลาด
3 เหตุผลที่ทำให้การพยายามทำหลายสิ่งขณะขี่จักรยานเป็นความผิดพลาด

การพยายามทำหลายอย่างเกินไปขณะขี่จักรยานอาจกลายเป็นผลเสียได้และนี่คือเหตุผล

อ่านเพิ่ม
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน

ใช้เทคนิคต่อไปนี้มาช่วยเผาผลาญพลังงานระหว่างการเดินกันเถอะ

อ่านเพิ่ม
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ

อัตราการเต้นของหัวใจคืออะไร สำคัญอย่างไร ค่าอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมในช่วงปกติและขณะออกกำลังกายของแต่ละช่วงวัยคือเท่าไร

อ่านเพิ่ม