วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
ภญ.สุภาดา ฟองอาภา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ภญ.สุภาดา ฟองอาภา

บลูเบอร์รีมีดีอย่างไร?

รวมประโยชน์ต่อสุขภาพของผลเบอร์รี
เผยแพร่ครั้งแรก 16 พ.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 ก.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
บลูเบอร์รีมีดีอย่างไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • บลูเบอร์รี เป็นผลจากพืชล้มลุกรสหวานอมเปรี้ยวที่มีประโยชน์ สามารถนำมาทำอาหาร และดัดแปลงเป็นส่วนผสมของน้ำหอม แชมพู สบู่
  • บลูเบอร์รีมีจุดเด่นด้านเป็นผลไม้รวมวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระ และมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย ทั้งยังช่วยบำรุงความแข็งแรงของกระดูก
  • หลายพื้นที่ที่ปลูกบลูเบอร์รีมักใช้ยาฆ่าแมลงในการเพาะปลูกทำให้อาจมีสารพิษตกค้าง ผู้บริโภคจำเป็นต้องทำความสะอาดก่อนรับประทาน และหาซื้อในแหล่งขายที่มีมาตรฐาน
  • หากรับประทานบลูเบอร์รีมากเกินไป ร่างกายอาจรับไฟเบอร์เกิดขนาดได้ซึ่งอาจทำให้เกดิอาการตัวบวม การดูดซึมแคลเซียมในร่างกายถูกขัดขวาง
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจวิตามิน

บลูเบอร์รี ผลไม้ชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย ด้วยรสชาติหวานอมเปรี้ยว จัดเป็นของทานเล่นระหว่างวันที่ช่วยให้อิ่มท้องได้ดีโดยไม่ทำให้อ้วน นอกจากนี้บลูเบอร์รียังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย

บลูเบอร์รีคืออะไร

บลูเบอร์รี (Blueberry) เป็นพืชล้มลุกทรงพุ่มขนาดเล็ก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Vaccinium spp. จัดเป็นพืชในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae) มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาเหนือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ลักษณะใบต้นเบอร์รีเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ มีก้านใบยาวเป็นสีเขียว ดอกออกเป็นช่อ มีดอกย่อยเป็นรูปทรงระฆัง กลีบเป็นสีขาว ชมพู หรือแดง มีกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว

ผลเบอร์รีมีขนาดเล็กกลม เมื่อผลยังอ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้ม หรือสีฟ้าเข้มอมม่วง ส่วนผลแก่เป็นสีม่วงแดง ตัวผลเนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ รสชาติหวานอมเปรี้ยวแล้วแต่สายพันธุ์

ขนาดของต้นบลูเบอร์รีมีความสูงไปตามความแตกต่างของสายพันธุ์ โดยมีตั้งแต่ 10 เซนติเมตรไปจนถึง 10 เมตร

มีการนำบลูเบอร์รีมาแปรรูป กลายเป็นเครื่องดื่ม อาหาร เช่น น้ำบลูเบอร์รี แยมบลูเบอร์รี บลูเบอร์รีอบแห้ง บลูเบอร์รีแช่แข็ง และบางครั้งยังใช้บลูเบอร์รีเป็นส่วนประกอบในของหวาน เช่น เค้กรสบลูเบอร์รี โยเกิร์ตรสบลูเบอร์รี

กลิ่นหอมและรสชาติของบลูเบอร์รียังถูกนำมาดัดแปลงให้อยู่ในผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในบ้านหลายอย่าง เช่น น้ำหอมกลิ่นบลูเบอร์รี สบู่ หรือแชมพูกลิ่นบลูเบอร์รี

สารอาหารในบลูเบอร์รี

บลูเบอร์รี 148 กรัมให้พลังงานประมาณ 84 แคลอรี แบ่งออกเป็น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ไฟเบอร์ 4 กรัม
  • โปรตีน 1.1 กรัม
  • ไขมัน 0.49 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 21.45 กรัม
  • แคลเซียม 9 มิลลิกรัม
  • น้ำตาล 14.74 กรัม

นอกจากนี้บลูเบอรียังอุดมไปด้วยแร่ธาตุสำคัญต่อร่างกายหลายชนิด เช่น ธาตุเหล็ก 0.41 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 114 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของบลูเบอร์รี

บลูเบอร์รีอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุที่ให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น

1. เป็นสุดยอดสารต้านอนุมูลอิสระ

บลูเบอร์รีเป็นผลไม้ที่เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินเอ วิตามินซี ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง รวมถึงความเสื่อมของร่างกายก่อนวัยอันควรได้

สารต้านอนุมูลอิสระที่มีในบลูเบอรีมากที่สุดคือสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มโพลีฟีนอล (Polyphenols) ชื่อว่า "ฟลาโวนอยด์"

สารฟลาโวนอยด์ยังแบ่งออกได้อีกหลายกลุ่ม ในกลุ่มที่มีในบลูเบอร์รีมากและดีต่อสุขภาพที่สุดก็คือ สารแอนโทไซนานิน (Anthocyanins) ซึ่งพบได้มากในผลไม้สีน้ำเงิน หรือม่วง

2. ป้องกันการเกิดภาวะเครียดจากออกซิเดชัน

ภาวะเครียดจากออกซิเดชัน (Oxidative damage) คือ ภาวะที่เกิดจากสารอนุมูลอิสระในร่างกายเข้าไปทำลายระบบการทำงานของเซลล์ โดยเฉพาะเมื่อมันเกิดขึ้นจากไขมันไม่ดี (Low Density Lipoprotein: LDL) ในร่างกาย ซึ่งเป็นตัวนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แต่สารต้านอนุมูลอิสระในบลูเบอร์รีจะช่วยกำจัดไขมันไม่ดีในเส้นเลือดให้ลดลงได้ ดังนั้นโอกาสการเกิดโรคร้ายชนิดนี้จึงน้อยลง

3. บำรุงระบบการทำงานของสมองและความทรงจำ

สารต้านอนุมูลอิสระจากบลูเบอร์รีมีประโยชน์ในการบำรุงเซลล์ประสาท และสมองส่วนที่สำคัญต่อเชาว์ปัญญา รวมถึงช่วยปรับความมั่นคงทางอารมณ์ให้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้บลูเบอร์รียังช่วยชะลอการเกิดโรคสมองเสื่อมในหญิงสูงวัยได้ด้วย ทั้งยังช่วยเสริมระบบการประสานงานของระบบประสาทด้วย

4. ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน

สารแอนโทไซยานินในบลูเบอร์รีมีประโยชน์ในการบำรุงประสิทธิภาพของการผลิตอินซูลิน รวมถึงบำรุงการทำงานของน้ำตาลกลูโคสในเลือด จึงสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้

5. รักษาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

การดื่มน้ำแครนเบอรี่ หรือน้ำบลูเบอรี อาจเป็นตัวเลือกหนึ่งในการรักษาอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 

6. บำรุงผิวพรรณ

คุณผู้หญิงหลายคนคงทราบกันดีว่า บลูเบอร์รีเป็นหนึ่งในผลไม้ช่วยบำรุงสุขภาพผิวได้ เพราะบลูเบอร์รีอุดมไปด้วยสารคอลลาเจนและวิตามินซีซึ่งมีส่วนช่วยให้ผิวอ่อนนุ่ม ลดริ้วรอยแห่งวัย

นอกจากนี้วิตามินซีในบลูเบอร์รียังช่วยป้องกันผิวหนังจากปัญหามลภาวะทางอากาศ ฝุ่นควัน และแสงแดดที่ทำให้ผิวเสียได้

7. บำรุงสุขภาพกระดูก

สารอาหาร แร่ธาตุ วิตามินในบลูเบอร์รีไม่ว่าจะเป็นธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม แคลเซียม สังกะสี และวิตามินเค ล้วนมีส่วนสำคัญในการบำรุงความแข็งแรงของกระดูก

โดยเฉพาะธาตุเหล็กและสังกะสี มีบทบาทสำคัญมากในการสร้างความแข็งแรงของกระดูก รวมถึงความยืดหยุ่นของข้อต่อต่างๆ

8. ช่วยให้อิ่มท้องได้นาน

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า บลูเบอร์รีถือเป็นอาหารรับประทานเล่นระหว่างวันได้ดี เพราะอุดมไปด้วยไฟเบอร์ที่ทำให้อิ่มท้องได้นาน รวมถึงช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้ดี

ข้อควรระวังในการรับประทานบลูเบอร์รี

1. อาจมีสารพิษตกค้าง

การเพาะปลูกบลูเบอร์รีในหลายพื้นที่มีการใช้ยาฆ่าแมลง ยากำจัดศัตรูพืช สารควบคุมการเจริญเติบโต หรือสารพิษอื่นๆ ซึ่งอาจยังตกค้างอยู่ในผลไม้ได้

2. อาจก่อให้เกิดภาวะแพ้อาหาร

เช่นเดียวกับอาการแพ้อาหารชนิดอื่นๆ หากมีอาการแพ้ผลไม้โดยเฉพาะผลไม้ในตระกูลเบอร์รี ก็มีความเสี่ยงที่จะแพ้บลูเบอร์รีด้วย ดังนั้นผู้เป็นโรคภูมิแพ้อาหารจึงควรระมัดระวังการรับประทานบลูเบอร์รีให้ดี

หรือหากรับประทานบลูเบอร์รีแล้วมีอาการคันระคายเคืองผิว มีผื่นลมพิษขึ้น ปากบวม ลิ้นบวม หายใจลำบาก จามเรื้อรังอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะนั่นคือสัญญาณของอาการแพ้อาหาร

3. อาจรับไฟเบอร์เกินขนาด

ไฟเบอร์ในบลูเบอร์รี่มีประโยชน์ต่อร่างกายก็จริง แต่หากรับประทานมากเกินไป กระเพาะอาหารจะเกิดแก๊สจำนวนมาก อาจเกิดอาการตัวบวม เป็นตะคริวขึ้นได้

นอกจากนี้การรับไฟเบอร์เข้าร่างกายมากเกินไปยังอาจเข้าไปขัดขวางการดูดซึมแร่ธาตุบางชนิด เช่น ธาตุเหล็กสารอาหารแคลเซียม

หากไม่ทราบว่า ควรรับไฟเบอร์ในปริมาณเท่าไรจึงจะเหมาะสม อาจควรลองไปขอคำแนะนำจากแพทย์

4. ส่งผลกระทบต่อยาบางชนิด

บลูเบอร์รีอาจส่งผลกระทบต่อยาบางชนิด โดยเฉพาะยาเจือจางเลือด (Blood thinner) เช่น ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากวิตามินเคในบลูเบอร์รี ส่งผลให้ยาไม่สามารถออกฤทธิ์ทำงานได้เท่าที่ควร

ผู้ที่รับประทานยาชนิดนี้ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรับประทานบลูเบอร์รีก่อนว่า เหมาะสมและส่งผลกระทบต่อยาหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยต่อระบบไหลเวียนเลือดในร่างกาย

บลูเบอร์รีถือเป็นผลไม้รสอร่อยที่ให้ประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องเลือกซื้อและรับประทานบลูเบอร์รีอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้ส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพในอนาคต

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจวิตามิน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Megan Ware, Everything you need to know about blueberries (https://www.medicalnewstoday.com/articles/287710), 20 มกราคม 2563.
Joe Leech, 10 Proven Health Benefits of Blueberries (https://www.healthline.com/nutrition/10-proven-benefits-of-blueberries), 20 มกราคม 2563.
THAI-THAIFOOD.COM, บลูเบอร์รี (https://www.thai-thaifood.com/th/บลูเบอร์รี/), 20 January 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ปากนกกระจอก เกิดจากอะไร หายเองได้ไหม?
ปากนกกระจอก เกิดจากอะไร หายเองได้ไหม?

ปากนกกระจอก เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น มีสรีระหรือพฤติกรรมที่ทำให้เกิดน้ำลายขังมุมปาก มีโรคภายใน ติดเชื้อ ฯลฯ บางสาเหตุหายเองได้ บางสาเหตุต้องรับการรักษาจากแพทย์เท่านั้น

อ่านเพิ่ม
โรคขาดสารอาหาร คืออะไร มีกี่แบบ รักษาได้อย่างไรบ้าง?
โรคขาดสารอาหาร คืออะไร มีกี่แบบ รักษาได้อย่างไรบ้าง?

โรคขาดสารเป็นโรคที่ยังพบได้แม้ภาวะเศรษฐกิจและรายได้ประชากรเพิ่มขึ้น โรคนี้มีหลายสาเหตุ การรักษาเฉพาะสำหรับแต่ละสาเหตุจึงแตกต่างกันออกไป

อ่านเพิ่ม
มือลอกเกิดจากอะไร สาเหตุแค่เพราะขาดวิตามินจริงหรือเปล่า?
มือลอกเกิดจากอะไร สาเหตุแค่เพราะขาดวิตามินจริงหรือเปล่า?

รวมสาเหตุที่ทำให้มือลอก วิธีรักษา การดูแล และป้องกันไม่ให้มือลอก

อ่านเพิ่ม