มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีปัญหาทางร่างกายที่ต้องใช้ระยะเวลาพักฟื้นบนเตียงนาน โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ เมื่อผู้ป่วยเหล่านี้ได้รับการดูแลอย่างไม่เหมาะสม ก็ทำให้กลายเป็นผู้ป่วยที่ต้องนอนติดเตียงได้ ซึ่งการป่วยติดเตียงนี้เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆ มากมาย เช่น ข้อต่อติดแข็ง เป็นแผลกดทับ เป็นต้น ซึ่งมีผลให้ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ สูญเสียความสามารถในการทำกิจกรรม หรือพิการไปตลอดชีวิต
ภาวะติดเตียงคืออะไร?
ภาวะติดเตียง (Bed ridden) คือภาวะที่ผู้ป่วยใช้เวลาและทำกิจกรรมส่วนใหญ่อยู่บนเตียง ไม่ว่าจะเป็นรับประทานอาหาร อาบน้ำ เป็นต้น เนื่องจากร่างกายมีสภาวะบางอย่าง เช่น ในผู้ป่วยที่มีกระดูกหักหลายที่ และได้รับการรักษาด้วยการยึดหรือดึงกระดูก ซึ่งต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนบนเตียง เพื่อให้กระดูกติดกันอย่างสมบูรณ์ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือโดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุที่ร่างกายเสื่อมถอย มีโรคประจำตัวหลายโรค ร่างกายอ่อนแรงลง ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ น้อยลงตามไปด้วย
ศูนย์ดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วย-ผู้สูงอายุวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 ลดสูงสุด 51%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้ป่วยกลายเป็นผู้ป่วยติดตียง
1. อาการเจ็บป่วยของร่างกาย
ผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บรุนแรง ย่อมต้องใช้ระยะเวลาพักฟื้นบนเตียงนานกว่าผู้ป่วยที่มีความบาดเจ็บน้อยกว่า นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวหลายโรค เช่น ผู้สูงอายุ ซึ่งมักจะเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายโรค เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง ก็ยิ่งทำให้สภาพร่างกายอ่อนแอ การฟื้นฟูเป็นไปได้อย่างยากลำบาก ทำให้ความเสี่ยงต่อการเป็นผู้ป่วยติดเตียงสูงขึ้น
2. อายุ
ผู้ป่วยที่มีอายุมาก มีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง รวมถึงความแข็งแรงของร่างกายก็น้อยกว่าผู้ป่วยอายุน้อยๆ ยิ่งต้องพักรักษาตัวบนเตียง ยิ่งทำให้การเคลื่อนไหว กิจกรรม รวมถึงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลงอีก สุดท้ายความเสี่ยงต่อการกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงจึงสูงมากขึ้นตามไปด้วย
3. การขาดความรู้ความเข้าใจของผู้ดูแล
ข้อนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก หากผู้ดูแลทราบถึงประสิทธิภาพสูงสุดในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยแต่ละคน ก็จะลดภาวะติดเตียงลงไปได้มาก เช่น ผู้ป่วยกระดูกสันหลังทรุดที่อาการทรงตัวแล้ว เมื่อใส่อุปกรณ์พยุงหลังสามารถพาลงมานั่งเก้าอี้ได้ ถึงแม้จะมีอาการปวดหลังเล็กน้อยก็ตาม ผู้ป่วยที่ผ่าตัดข้อเข่า สามารถฝึกให้ยืนหรือเดินได้เท่าที่ไหว แม้จะมีอาการปวดและบวมของข้อเข่าอยู่ หรือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่อาการคงที่แล้ว และแพทย์ไม่ได้เฝ้าระวังเกี่ยวกับความดันในศรีษะแล้ว สามารถพาลงมาฝึกนั่งในเก้าอี้รถเข็น แต่ต้องรัดสายรัดให้เรียบร้อยเท่านั้น
อาการแทรกซ้อนที่มักพบในผู้ป่วยติดเตียง
อาการแทรกซ้อนที่มักพบในผู้ป่วยติดเตียง มีดังนี้
1. กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง (Disuse atrophy)
เมื่อต้องพักฟื้นบนเตียงเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้การเคลื่อนไหวน้อยลง กล้ามเนื้อทำงานน้อยลง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง นอกจากนี้ยังอาจสังเกตเห็นการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อด้วย กล้ามเนื้อที่สังเกตเห็นได้ง่ายว่ามีการฝ่อลีบ เช่น กล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อต้นแขนเป็นต้น กล้ามเนื้อที่ฝ่อลีบลงจะทำให้แขนขาของผู้ป่วยเล็กลง ในผู้ป่วยบางรายกล้ามเนื้อลีบลงจนสามารถเห็นขอบกระดูกได้ชัดเจน หรือเหลือเพียงหนังหุ้มกระดูกเท่านั้น
2. ข้อต่อติดแข็ง (Joint stiffness)
การเคลื่อนไหวที่ลดลงทำให้กล้ามเนื้อเริ่มเสื่อมสภาพ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อลดลง ในระยะแรกๆ อาจจะพบเห็นข้อต่อติดในท่างอที่สามารถยืดเหยียดออกได้ แต่คนไข้จะมีอาการเจ็บ เพราะการติดแข็งของข้อต่อนั้นเกิดจากความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Muscle tightness) เมื่อระยะเวลาผ่านไป ข้อต่อนั้นจะติดแข็ง หงิกงอ หรือผิดรูปจนไม่สามารถยืดเหยียดได้อีก เนื่องจากกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น รวมถึงโครงสร้างของตัวข้อต่อเองมีการเสื่อมสภาพหลังจากไม่ได้ใช้งาน (Deformity) ข้อต่อที่พบว่ามีการผิดรูปบ่อย ได้แก่ ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ เป็นต้น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
3. แผลกดทับ (Bed sore หรือ Pressure sore)
เกิดจากร่างกายไม่มีการเคลื่อนไหว และมีน้ำหนักกดทับเนื้อเยื่อส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นเวลานาน ทำให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณนั้นเป็นไปได้ไม่ดี เกิดเป็นแผลขึ้น การกดทับมักเป็นตามปุ่มกระดูก เช่น ตาตุ่มด้านนอก (Lateral malleolus) ปุ่มกระดูกด้านนอกของข้อเข่า (Head of fibular) และบริเวณที่พบได้บ่อยที่สุดคือบริเวณกระดูกก้นกบ (Coccygeal area) เพราะนอกจากจะเป็นปุ่มกระดูกแล้วยังเป็นบริเวณที่มีความอับชื้น เพราะผู้ป่วยส่วนมากต้องใส่แพมเพิสตลอดเวลา แผลกดทับนี้นำไปสู้การติดเชื้อในกระแสดเลือดได้ การป้องกันแผลกดทับจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ข้อแนะนำเบื้องต้นคือต้องพลิกตัวเปลี่ยนท่านอนให้ผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ควรหาหมอนหรือใช้ถุงมือยางใส่น้ำมัดปากให้แน่น แล้วรองตามปุ่มกระดูกที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้
4. ประสิทธิภาพการทำงานของระบบหัวใจและปอดลดลง (Decreased cardiopulmonary function)
การพักฟื้นบนเตียงนานๆ จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจและปอดลดลง เช่น เหนื่อยง่ายขึ้น เมื่อจับนั่งหรือเปลี่ยนท่าทางเร็วๆ จะมีอาการหน้ามืด (Postural hypotension) การขยายตัวของปอดลดลง หรือมีเสมหะคั่งค้างในปอด ซึ่งจะนำไปสู่การติดเชื้ออื่นๆ และทำให้เสียชีวิตได้
5. สูญเสียความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน
เมื่อผู้ป่วยต้องพักรักษาตัวบนเตียงนานๆ ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมของร่างกายก็จะลดลง เนื่องมาจากความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวของข้อต่อ รวมถึงประสิทธิภาพการทำงานของปอดและหัวใจนั้นลดลง นอกจากนี้กิจกรรมที่ผู้ป่วยสามารถทำได้ก็จะค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง หากไม่ได้รับการรักษาหรือคำแนะนำที่เหมาะสม จนกลายเป็นผู้พิการที่ต้องพึ่งพาผู้ดูแลโดยสมบูรณ์ในที่สุด
วิธีการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง
การป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยที่ต้องพักรักษาตัวบนเตียงนานๆ กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงนั้น ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจของผู้ให้การพยาบาล และผู้ดูแลเป็นสำคัญ นอกจากจะต้องกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตัวเองแล้ว การรู้ประสิทธิภาพสูงสุดและข้อห้ามข้อควรระวังของผู้ป่วยในความดูแลก็มีความสำคัญมาก ซึ่งในที่นี้จะขอแนะนำขั้นตอนที่ทำได้ค่อนข้างง่าย ดังนี้
1. กระตุ้นให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวตัวเองบนเตียง
ผู้ดูแลควรฝึกฝนให้ผู้ป่วยสามารถขยับร่างกายตนเองบนเตียงได้ ไม่ว่าจะเป็นขยับขึ้น ลง ไปทางซ้ายและขวา นอกจากนี้การฝึกให้ผู้ป่วยพลิกตะแคงตัวได้ด้วยตัวเองก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะช่วยป้องกันข้อติดแข็งและแผลกดทับได้ระดับหนึ่ง
2. นั่งบนเตียง
เมื่อผู้ป่วยสามารถเคลื่อนตัวบนเตียงได้ดีแล้ว ควรฝึกให้ผู้ป่วยนั่งบนเตียง โดยอาจเริ่มจากไขเตียงให้หลังตั้งชันขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นมุมฉากกับพื้น (90 องศา) เมื่อผู้ป่วยทรงตัวได้ดีแล้ว ก็อาจจะให้มีการทำกิจกรรมต่างๆ ในท่านี้ เช่น การรับประทานอาหาร ดูโทรทัศน์ หรืออกกำลังกาย เป็นต้น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
3. นั่งห้อยขาข้างเตียง
เมื่อผู้ป่วยนั่งบนเตียงได้มั่นคงไม่มีอาการเอนเอียง เปลี่ยนมาเป็นนั่งห้อยขาข้างเตียง โดยปรับเตียงลงให้เท้าแตะพื้นพอดี ถ้าเตียงปรับความสูงไม่ได้ อาจจะหาเก้าอี้ตัวเล็กมารองเท้าก็ได้ เพื่อให้ข้อเข่าและข้อสะโพกอยู่ในท่างอ 90 องศา หลังเหยียดตรงได้ ในระยะแรกๆ อาจจะต้องอาศัยผู้ดูแลคอยประคองด้านหลังด้วยการจับไหล่ทั้งสองข้าง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยทรงตัวได้ ก่อนจะค่อยๆ ลดการประคองลง จนผู้ป่วยสามารถนั่งได้ด้วยตนเองอย่างมั่นคง
4. นั่งบนเก้าอี้
เมื่อนั่งห้องขาข้างเตียงได้ดีแล้ว ผู้ดูแลควรย้ายให้ผู้ป่วยลงมาทำกิจกรรมต่างๆ บนเก้าอี้บ้าง เช่น รับประทานอาหาร ออกกำลังกาย หรือดูโทรทัศน์ เป็นต้น โดยควรให้นั่งอย่างน้อยครั้งละ 30 นาที วันละ 1-2 ครั้ง ขึ้นกับความสามารถของผู้ป่วย นอกจากนี้หากผู้ป่วยมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง เสี่ยงต่อการพลัดตกจากเก้าอี้ ควรใช้เก้าอี้รถเข็น (Wheel chair) แทน โดยควรรัดสายรัดให้เรียบร้อยและดูแลอย่างใกล้ชิด
5. ฝึกลุกขึ้นยืน
เมื่อผู้ป่วยสามารถนั่งบนเก้าอี้ได้ดี ควรฝึกให้ลุกยืนกับอุปกรณ์ช่วยยืนต่างๆ เช่น กรอบฝึกยืน(Walker) ราวฝึกเดิน (Pararelle bar) ในระยะแรกอาจจะต้องอาศัยการประคองจากผู้ดูแลมาก และค่อยๆ ลดการช่วยเหลือลง อาจจะให้ยืนค้างไว้ให้ได้ระยะเวลาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อทำได้ดีให้จับอุปกรณ์ช่วยได้เพียงมือเดียว และค่อยเอาอุปกรณ์ช่วยออก จนผู้ป่วยสามารถลุกขึ้นยืนได้ด้วยตนเอง
6. ฝึกเดิน
เมื่อผู้ป่วยยืนได้มั่นคง การฝึกเดินเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตประวันและทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง ในระยะแรกอาจจะต้องอาศัยทั้งผู้ดูแลประคองและอุปกรณ์ช่วยเดินต่างๆ เมื่อทำได้ดีจึงลดเหลือเพียงอุปกรณ์ช่วยเดินช่วยที่เหมาะสม และเมื่อทำได้ดี อุปกรณ์ช่วยก็ไม่จำเป็นต่อไป อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยบางกลุ่มที่มีข้อจำกัด ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยสักระยะแม้ว่าจะเดินได้ดีแล้ว เพื่อป้องการอาการแทรกซ้อน เช่น ผู้สูงอายุควรใช้กรอบฝึกเดินหรือมือคนประคองเสมอ เพื่อป้องกันการหกล้ม ซึ่งอาจจะทำให้เกิดกระดูกหักที่รุนแรง เพราะมักจะมีโรคกระดูกพรุนเป็นโรคประจำตัว ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าในระยะสองสัปดาห์แรกจำเป็นจะต้องใช้กรอบฝึกเดิน เพื่อจำกัดการลงน้ำหนักที่เข่าไม่ให้มากเกินไป เป็นต้น
กายภาพบำบัดช่วยป้องกันภาวะติดเตียงได้อย่างไรบ้าง?
นอกจากวิธีการที่ได้แนะนำไปเบื้องต้นแล้ว ในคลีนิคกายภาพบำบัดยังมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะติดเตียงอีกมากมาย เช่น การฝึกยืนด้วยเตียงฝึกยืน (Tilt table) หากผู้ป่วยกล้ามเนื้ออนแรงจนไม่สามารถขยับร่างกายได้ด้วยตนเอง ก็มีการออกกำลังกายแบบผู้อื่นทำให้ (Passive exercise) เป็นต้น ซึ่งจะต้องเลือกใช้ให้เข้ากับอาการของผู้ป่วยแต่ละรายไป