วัคซีนบีซีจี

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
วัคซีนบีซีจี

ภาพรวม

วัคซีนบีซีจี (Bacillus Calmette-Guérin) ช่วยปกป้องลูกคุณจากวัณโรค (Tuberculosis: TB)

วัณโรคคืออะไร?

วัณโรคเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อที่รุนแรง สามารถก่อตัวอย่างรวดเร็วได้โดยเฉพาะในเด็กเล็กและทารก ตลอดจนสามารถนำไปสู่การเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ในทารกได้อีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนเด็ก ตรวจพัฒนาการเด็กวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 728 บาท ลดสูงสุด 57%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ในกลุ่มคนวัยรุ่นและผู้ใหญ่มักจะส่งผลกระทบต่อปอด แต่ยังสามารถส่งผลต่อ:

วัณโรคเป็นโรคสามัญได้อย่างไร?

วัณโรคไม่ใช่โรคสามัญ ในประเทศสกอตแลนด์ ประมาณ 400 เคสใหม่ๆของวัณโรคถูกวินิจฉัยขึ้นทุกปี และส่วนใหญ่ของเคสเหล่านี้เกิดขึ้นในผู้ใหญ่ที่อายุ 25 ปีขึ้นไป

กรณีต่างๆของวัณโรคสามารถพบได้ทั่วโลก เนื่องจากมีผู้คนที่เดินทางท่องเที่ยวทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น ความเสี่ยงที่ผู้คนจะได้รับการสัมผัสกับโรคหรือนำโรคมาสู่ประเทศนั้นๆจึงเพิ่มสูงขึ้นด้วย

เรื่องราวอื่นๆเกี่ยวกับวัณโรค

ใครบ้างที่สมควรได้รับวัคซีน?

เด็กทารกควรได้รับการฉีดวัคซีนบีซีจีมากกว่าวัยอื่นๆ ที่จะได้รับการติดต่อกับผู้คนที่เป็นวัณโรค ทั้งนี้ก็เพราะว่า:

  • อยู่ในพื้นที่ที่มีอัตราของโรควัณโรคสูง
  • ครอบครัวหรือปู่ย่าตายายมาจากประเทศอัตราของโรควัณโรคสูง-รวมทั้งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ประเทศในทวีปแอฟริกาที่ตั้งอยู่ใต้ทะเลทรายซาฮารา และบางประเทศในยุโรปตะวันออก
  • รายชื่อกลุ่มประเทศล่าสุดที่มีอัตราของโรควัณโรคสูงสามารถตรวจดูได้ที่เว็บไซต์ GOV.UK

เมื่อไหร่ที่ลูกของฉันจะได้รับวัคซีน

วัคซีนมักถูกเสนอให้ใช้ได้ทันทีหลังจากที่เด็กคลอด ระหว่างที่ลูกของคุณยังอยู่หรือภายหลังที่คุณกลับมาโรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม วัคซีนนี้สามารถใช้ได้ทุกเวลาในกรณีจำเป็น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วัคซีนมักจะถูกเตรียมพร้อมให้ใช้งานได้ทันทีกับลูกของคุณเมื่อแรกคลอด หรือสามารถให้หลังจากนั้นก็ได้ แพทย์จะเป็นผู้ให้การแนะนำเรื่องการจัดการต่างๆของคุณ

ประเทศที่มีอัตราของโรควัณโรคสูง

ถ้าคุณตอบว่า ‘ใช่’ ในคำถามข้อใดต่อไปนี้ ลูกของคุณอาจจะต้องได้รับวัคซีนบีซีจีถ้าลูกของคุณยังไม่เคยไม่ได้รับวัคซีนนี้มาก่อน:

  • คุณ ครอบครัวของคุณ พ่อของเด็ก หรือคนในครอบครัวของเขามาจากประเทศที่มีอัตราของโรควัณโรคสูงหรือไม่ ?(ถ้ามีข้อสงสัย สอบถามเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพ)
  • คุณและลูกกำลังจะพักอาศัยในประเทศที่มีอัตราของโรควัณโรคสูงเป็นระยะเวลามากกว่า 3 เดือนในอนาคตอันใกล้นี้หรือไม่?
  • คุณและลูกมักจะเดินทางไปยังประเทศที่มีอัตราของโรควัณโรคสูงอยู่บ่อยๆในอนาคตอันใกล้นี้ใช่หรือไม่?
  • มีสมาชิกในบ้านที่เป็นโรควัณโรค หรือเคยเป็นในอดีต หรือมาจากประเทศที่มีอัตราของโรควัณโรคสูงใช่หรือไม่?

วัคซีน

วัคซีนบีซีจีประกอบไปด้วยแบคทีเรีย(เชื้อโรค) ที่ทำให้เป็นโรควัณโรคในรูปแบบที่อ่อนแอ วัคซีนนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดวัณโรคแต่กลับช่วยให้เด็กพัฒนาการป้องกัน(ภูมิคุ้มกัน) ต่อต้านโรคนี้ ในกรณีที่เด็กเคยได้รับการติดต่อกับโรคนี้มาก่อน

  • วัคซีนจะถูกฉีดเข้าที่ใต้ผิวหนังบริเวณต้นแขนซ้าย

มีเหตุผลใดบ้างที่ลูกของฉันไม่สมควรได้รับการฉีดวัคซีนบีซีจี

วัคซีนบีซีจีไม่ควรให้กับเด็กถ้าลูกของคุณนั้น:

  • กำลังเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งหรือโรคอื่นๆที่ร้ายแรงที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง
  • มีเชื้อ HIV positive
  • กำลังทรมานจากสภาวะการติดเชื้อทางผิวหนังโดยทั่วไป-เด็กที่มีโรคผิวหนังอักเสบจะถูกให้วัคซีนในบริเวณไม่มีรอยโรค (บริเวณที่มีความผิดปกติของเนื้อเยื่อ)
  • อาศัยอยู่ในบ้านที่น่าสงสัยหรือได้รับการยืนยันว่ามีผู้ป่วยที่เป็นโรควัณโรค
  • ได้รับการยืนยันว่ามีปฏิกิริยาภูมิแพ้แบบเฉียบพลันรุนแรงต่อส่วนประกอบในวัคซีน-สามารถตรวจสอบส่วนประกอบของวัคซีนบีซีจีได้ที่ BCG vaccine SSI Patient Information Leaflet (PIL)
  • การฉีดวัคซีนบีซีจีควรเลื่อนออกไปเมื่อลูกมีไข้สูง

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าวัคซีนนั้นปลอดภัย

ยาทุกชนิด(รวมทั้งวัคซีน) ได้รับการตรวจสอบเรื่องความปลอดภัยและประสิทธิภาพโดย Medicines and Healthcare Products Regulatory Agency (MHRA) และวัคซีนเหล่านี้ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยอย่างสูงเพื่อให้ใช้งานในประเทศอังกฤษ ประเทศต่างๆในทวีปยุโรป รวมทั้งแจกจ่ายไปสู่หลายล้านคนทั่วโลก

การใช้งานจะถูกดูแลความปลอดภัยโดย MHRA และจะถูกจับตาดูต่อไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หลังจากได้รับวัคซีน

หลังจากได้รับวัคซีนอาจมีผลข้างเคียงแต่ปกติแล้วมักไม่รุนแรง

ผลข้างเคียง

ทันทีที่ได้รับวัคซีน แผลนูนจะปรากฏขึ้น แสดงให้เห็นว่าร่างกายได้รับวัคซีนอย่างเหมาะสมแล้ว

ภายใน2ถึง6สัปดาห์ จุดเล็กๆจะปรากฏขึ้น นี่อาจจะทำให้ปวดเล็กน้อยประมาณ 2-3 วัน แต่จะค่อยๆดีขึ้นและอาจคงแผลเป็นเล็กๆ เหลือไว้

หากลูกคุณรู้สึกเจ็บจากแผลที่ได้รับการฉีดวัคซีนนั้น และต้องการรักษา ให้สวมเสื้อผ้าที่โปร่งสบาย ไม่ติดพลาสเตอร์กันน้ำหรือทาครีม จนกระทั่งแผลตกสะเก็ด จะดีกว่าถ้าปล่อยให้แผลดีขึ้นด้วยตัวเองและไม่เป็นไรถ้าแผลจะโดนน้ำตอนอาบน้ำ แผลอาจใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะดีขึ้นอย่างสมบูรณ์ แต่ถ้าคุณกังวล กลัวว่าแผลจะเกิดการติดเชื้อให้ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ถ้าคุณกังวลเกี่ยวกับลูก เชื่อมั่นในสัญชาตญาณ ควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลหรือคลินิกใกล้บ้านคุณได้ทันที

สอบถามเพิ่มเติมไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

88/24 ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

โทรศัพท์ 0-2590-7000

เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา

นายแพทย์วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์

E-mail : [email protected]

ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและประสิทธิผลของยาและการใช้ยา

นางสาวดารณี เพ็ญเจริญ

E-mail : [email protected]

โทรศัพท์ : 0-2590-7165

โทรสาร : 0-2591-8446


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What Have We Learnt about BCG Vaccination in the Last 20 Years?. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5601272/)
BCG tuberculosis (TB) vaccine overview. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/vaccinations/bcg-tuberculosis-tb-vaccine/)
Fact Sheets - Infection Control & Prevention - Fact Sheet - BCG Vaccine - TB. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/tb/publications/factsheets/prevention/bcg.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)