August 13, 2019 09:58
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
ถ้าเป็นผู้หญิง เบื้องต้นก่อนมีเพศสัมพันธ์ควรเพิ่มการเล้าโลม (Foreplay) ให้มากขึ้นครับ
เเนะนำปรึกษา จิตเเพทย์ หรือ สูตินรีเเพทย์ครับ
ส่วนผู้ชาย
ถ้ามีภาวะที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวได้สมบูรณ์ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์(Erectile dysfunction)
มักเป็นในคนที่อายุมากเเต่ก็พบได้ทุกอายุครับ
สาเหตุ เช่น
- ปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ เช่น ความรู้สึกผิดหรือความกังวลต่างๆ
- การใช้ยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยาระงับประสาท ยาต้านการซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด และแอลกอฮอล์
- ระดับฮอร์โมนเพศชายผิดปกติ จากสาเหตุของต่อมใต้สมองเป็นต้น
เบื้องต้น หลีกเลี่ยงการรับสารนิโคตินจากการสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพย์ติดอื่นๆ
และควรหาเวลาไปพบเเพทย์ครับ เเนะนำพบศัลยเเพทย์ทางเดินปัสสาวะ (Urologist) เพื่อหาสาเหตุ เเละพิจารณายา เช่น Sidenafil หรือรักษาตามสาเหตุอื่นๆครับ
ถ้ามีภาวะหลั่งเร็ว (Premature Ejaculation) คือ ภาวะที่มีการหลั่งน้ำอสุจิเมื่อมีกิจกรรมทางเพศเร็วเกินไป ไม่สามารถควบคุมหรือชะลอการหลั่งได้ หลั่งภายในช่วงเวลาสั้น ๆ
เเนะนำปรึกษาเเพทย์เฉพาะทาง ทางเดินปัสสาวะครับ (ร่วมกับจิตเเพทย์ ในบางกรณี)
การหลั่งเร็วในเพศชายมี 2 ลักษณะ คือ ภาวะหลั่งเร็วตั้งแต่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกตลอดจนหลั่งเร็วทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ และภาวะหลั่งเร็วในภายหลัง หลังจากที่เคยหลั่งปกติ โดยอาการหลักของการหลั่งเร็ว ได้แก่
- หลังการสอดใส่อวัยวะเพศ ไม่สามารถควบคุมหรือไม่สามารถชะลอการหลั่งได้เกินกว่า 1 นาที
- หลั่งก่อนที่จะสอดใส่อวัยวะเพศเข้าในช่องคลอด
สาเหตุของการหลั่งเร็ว
การหลั่งเร็วอาจเกิดจากบางสาเหตุ หรืออาจมาจากหลายสาเหตุทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อการหลั่งเร็ว คือ
ทางร่างกาย อาจเกิดจากความผิดปกติของระดับฮอร์โมน ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง (สารสื่อประสาท) ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ การอักเสบและติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะหรือบริเวณต่อมลูกหมาก การถ่ายทอดทางพันธุกรรม อยู่ในภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และการใช้ยาหรือสารเสพติด
ทางจิตใจ อาจมีปัจจัยที่กระทบต่อจิตใจจนส่งผลต่อการหลั่งเร็ว เช่น เครียด มีความวิตกกังวล อยู่ในภาวะซึมเศร้า มีปัญหาความสัมพันธ์ มีประสบการณ์ทางเพศเร็วหรือก่อนวัย มีเพศสัมพันธ์จากการทารุณกรรมทางเพศ เป็นต้นครับ
การรักษาการหลั่งเร็ว
ในเบื้องต้น สามารถดูแลรักษาอาการได้ด้วยตนเองคือ
- การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองก่อนการมีเพศสัมพันธ์ 1-2 ชั่วโมง
- การเลือกใช้ถุงยางอนามัยที่มีความหนาไม่ให้อวัยวะเพศไวต่อความรู้สึกจากผิวสัมผัส ขณะมีเพศสัมพันธ์ให้หยุดพักและนึกถึงเรื่องอื่นที่ไม่ทำให้เกิดอารมณ์
- หยุดการทำกิจกรรมทางเพศ หรือหายใจเข้าลึก ๆ แล้วพยายามชะลอการหลั่งในขณะที่ใกล้หลั่ง แล้วค่อยเริ่มทำกิจกรรมต่ออีกครั้งหนึ่งครับ
หากผู้ป่วยมีอาการป่วยเดิมที่เกี่ยวข้องเป็นเหตุทำให้เกิดการหลั่งเร็ว แพทย์จะรักษาด้วยการให้ยาตามอาการและความเหมาะสม ได้แก่
- ยาต้านเศร้า (Antidepressant) นอกจากจะใช้รักษาผู้ที่มีอาการและอยู่ในภาวะซึมเศร้า ผลข้างเคียงของกลไกการออกฤทธิ์ของยาต้านเศร้า คือ ชะลอการถึงจุดสุดยอดของการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเท่ากับชะลอการหลั่งอสุจิในเพศชายด้วยครับ ช่น พาร็อกซีทีน (Paroxetine) เซอทราลีน (Sertraline) และ ฟลูออกซีทีน (Fluoxetine)
ดาพ็อกซิทีน (Dapoxetine)
- ยาชาเฉพาะที่ ในบางครั้งอาจใช้ยาชาในรูปแบบครีมทา เช่น เบนโซเคน (Benzocaine) ลิโดเคน (Lidocaine) และไพรโลเคน (Prilocaine) ทาบริเวณอวัยวะเพศชายก่อนมีเพศสัมพันธ์ 10-15 นาที เพื่อลดความรู้สึกและชะลอการหลั่งอสุจิ แต่ยาเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อฝ่ายหญิงไปด้วยเมื่อมีการดูดซึมยาบริเวณช่องคลอดครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ที่โรงบาลมีหมอรักษาเกี่ยวกับการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศไหม
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)