February 06, 2017 23:23
เลือดกำเดา เลือดกำเดาไหล การใช้ยา ไซนัส ภูมิแพ้ โพรงจมูก เลือดกำเดาไหลบ่อย เลือดกำเดาไหลเกิดจาก แอสไพริน ฮิสตามีนตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
สาเหตุของเลือดกำเดาไหล เกิดจากเส้นเลือดฝอยหรือเส้นเลือดใหญ่ภายในจมูกแตก ซึ่งเลือดกำเดาไหลทั่วไป มีสาเหตุจาก
- การล้วงหรือแคะจมูก จามบ่อย ๆ สั่งน้ำมูกแรงเกินไป จมูกได้รับการกระแทกอย่างรุนแรง หรือการประสบอุบัติเหตุ
- อุณหภูมิและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในอากาศหนาว หรืออากาศแห้ง
- การใช้ยาบางชนิดที่มีผลทำให้โพรงจมูกแห้ง อย่างกลุ่มยารักษาโรคภูมิแพ้ ยารักษาไข้หวัด รวมทั้งยารักษาไซนัสอักเสบ เช่น ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamines) และยาแก้คัดจมูก (Decongestants)
- การใช้ยาแอสไพรินในปริมาณมาก
***การที่น้องมีเลือดกำเดาไหลเวลาที่โกรธหรือโมโหนั้นเป็นไปได้ว่าเวลาโกรธหรือโมโหทำให้ความดันโลหิตสูง ส่งผลให้เส้นเลือดฝอยภายในจมูกแตกกลายเป็นเลือดกำเดาค่ะ
** หากมีเลือดกำเดาไหลบ่อย ๆ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์
การป้องกันการเกิดเลือดกำเดาไหลก็จัดการที่สาเหตุค่ะ ได้แก่
ไม่พ่นจมูก สั่งน้ำมูก หรือล้วงแคะจมูกแรง ๆ และควรตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ
หลีกเลี่ยงการเผชิญกับอากาศแห้งและหนาวเย็นหากต้องอยู่ในอากาศแห้งและหนาวเย็นให้ใช้ปิโตรเลียม(Petroleum Jelly) ทา ป้องกันโพรงจมูกแห้ง หากเลือดกำเดาไหลเกิดจากการรับประทานยา ให้ปรึกษาแพทย์ถึงปริมาณและการใช้ยานั้นอย่างเหมาะสม หากเลือดกำเดาไหลเกิดจากโรค(เช่น ภูมิแพ้จมูก ป่วยไซนัสเรื้อรัง หรือป่วยด้วยโรคตับ) ก็ควรปฏิบัติตามกระบวนการรักษาที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด
ระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นและกระทบกระเทือนต่อจมูก เช่น สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันศีรษะและใบหน้าในขณะเล่นกีฬาหรือต้องทำกิจกรรมที่อาจมีภาวะเสี่ยง
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 504 บาท ลดสูงสุด 969 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีแก้ไข
ลูกชาย 5 ขวบ เลือดกำเดาไหลบ่อย ไม่ว่าจะอากาศร้อน หรือ เย็น รวมทั้งเวลาร้องไห้(ตอนโกรธหรือโมโห) อยากทราบสาเหตุ และวิธีป้องกันค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)