ทำไมเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน?

เผยแพร่ครั้งแรก 11 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ทำไมเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน?

แม้ว่าการมีเลือดกำเดาไหลสามารถทำให้เรารำคาญใจได้ โดยเฉพาะถ้ามันเกิดขึ้นตอนกลางคืน แต่ก็มักไม่ทำให้เกิดอันตราย ซึ่งคนส่วนมากก็น่าจะเคยมีประสบการณ์ที่ว่าอย่างน้อย 1 ครั้ง และมักพบได้บ่อยในเด็กที่ดึงหรือขยี้จมูกบ่อยครั้งในระหว่างนอน สำหรับบทความในวันนี้ เราจะพาคุณไปดูสาเหตุ วิธีรักษา และวิธีป้องกันเลือดกำเดาไหล

สาเหตุที่ทำให้เลือดกำเดาไหล

ภายในจมูกของเราถูกปกคลุมไปด้วยเนื้อเยื่อเมือกที่ชื้นและบอบบาง ซึ่งมีเส้นเลือดแดงอยู่ใกล้พื้นผิวเป็นจำนวนมาก หากเนื้อเยื่อเหล่านี้บาดเจ็บเล็กน้อย มันก็สามารถทำให้เลือดไหล และในบางครั้งเลือดก็จะไหลออกมาเป็นจำนวนมาก สำหรับสาเหตุทั่วไปที่ทำให้เสี่ยงต่อการมีเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืนมีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1.อากาศหรือสภาพแวดล้อมแห้ง

อากาศแห้งสามารถทำให้ผิวที่บอบบางภายในจมูกแห้งแตก ทำให้เลือดไหลได้ในที่สุด อย่างไรก็ดี เลือดกำเดาไหลมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเมื่ออากาศเปลี่ยนหรือก่อนที่เนื้อเยื่อในจมูกจะปรับสภาพให้เข้ากับความชื้นที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง อย่างไรก็ดี การเปิดฮีทเตอร์ในช่วงฤดูหนาวสามารถทำให้อากาศภายในบ้านแห้งได้

2.โรคหวัดธรรมดาและโรคภูมิแพ้

โรคหวัดธรรมดาและการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบนสามารถทำให้เมือกเพิ่มขึ้น และทำให้เราจามบ่อยกว่าเดิม นอกจากนี้ปฏิกิริยาแพ้ก็สามารถทำให้เกิดผลลัพธ์เช่นเดียวกัน ซึ่งมันจะทำให้เกิดการระคายเคืองภายในจมูก และเสี่ยงต่อการมีเลือดกำเดาไหลเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะถ้าอาการแย่ลงตอนกลางคืน นอกจากนี้การมีอาการคัดจมูกสามารถทำให้เส้นเลือดขยายตัว และนั่นก็จะทำให้เสี่ยงต่อการบาดเจ็บมากขึ้น

3.การสัมผัสกับสารเคมี

การสัมผัสกับสารเคมีไม่ว่าจากมลภาวะในอากาศหรือในที่ทำงานก็ล้วนแต่ทำให้ภายในจมูกของเราระคายเคืองและเสียหาย ส่งผลให้เสี่ยงต่อการเกิดเลือดกำเดาไหล นอกจากนี้การสูบบุหรี่ก็สามารถทำให้เกิดผลลัพธ์เช่นเดียวกัน

4.ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปทำให้เสี่ยงต่อการเกิดเลือดกำเดาไหลในตอนกลางคืน อันดับแรกคือ แอลกอฮอล์จะไปขัดขวางกิจกรรมของเกล็ดเลือด ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำให้เลือดจับตัวกันเป็นลิ่ม นอกจากนี้แอลกอฮอล์สามารถทำให้เส้นเลือดในโพรงจมูกขยายตัว และเสี่ยงต่อการบาดเจ็บและมีเลือดไหล

5.ยา

ยาบางชนิดสามารถขัดขวางความสามารถในการแข็งตัวของเลือด ตัวอย่างเช่น ยาเจือจางเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์อย่างแอสไพรินและไอบูโพรเฟน อย่างไรก็ดี คนที่ทานยาเหล่านี้อาจเสี่ยงต่อการเกิดเลือดกำเดาไหลสูงขึ้น นอกจากนี้เลือดกำเดาไหลยังเป็นผลข้างเคียงของสเปรย์พ่นจมูกบางชนิดที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์

วิธีรักษาเลือดกำเดาไหลที่บ้าน

  • เด็กที่มีอายุมากและผู้ใหญ่ควรสูดจมูกเพื่อกำจัดลิ่มเลือดที่อาจก่อตัวขึ้นในจมูก แต่การทำขั้นตอนนี้อาจทำให้เลือดไหลมากขึ้นชั่วคราว
  • นั่งลง งอตัวเล็กน้อยจนอยู่ในตำแหน่งเอว และหลีกเลี่ยงการนอนราบหรือเอนศีรษะไปด้านหลัง เพราะมันจะทำให้เลือดไหลลงคอ และเกิดการสำลักหรืออาเจียน
  • จับจมูกส่วนที่นิ่ม และออกแรงกดทั้งสองข้าง
  • เด็กและผู้ใหญ่ควรบีบจมูก 5 นาทีติดต่อกันตามลำดับ และหายใจผ่านทางปาก
  • การประคบเย็น หรือใช้ไอซ์แพคที่สันจมูกอาจช่วยชะลอการไหลของเลือด
  • หากเลือดยังไม่หยุดไหล ให้คุณทำซ้ำตามที่เรากล่าวไปอีกครั้ง และออกแรงกดอีกอย่างน้อย 30 นาที

อย่างไรก็ตาม คุณสามารถรักษาเลือดกำเดาไหลได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายที่บ้าน หากเลือดไหลออกเป็นจำนวนมาก หรือมีบางอาการเกิดขึ้นร่วมด้วย คุณก็ควรรีบไปพบแพทย์ สำหรับตัวอย่างอาการที่ว่า เช่น หายใจลำบาก ตัวซีด อ่อนเพลีย งุนงงสับสน มีเลือดไหลไปยังบริเวณอื่นๆ หรือมีรอยช้ำหลายที่ เพิ่งผ่าตัดจมูกเมื่อไม่นาน มีเนื้องอก เจ็บหน้าอก มีเลือดไหลออกทางจมูกบ่อยครั้ง มีของเหลวที่มีกลิ่นเหม็น ฯลฯ

วิธีป้องกันเลือดกำเดาไหล

  • หลีกเลี่ยงการแคะจมูก
  • เป่าลมออกจากจมูกไม่ให้รุนแรงเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • ใช้เครื่องเพิ่มความชื้นในช่วงฤดูหนาวเมื่ออากาศภายในบ้านแห้ง
  • ป้ายเจลสำหรับจมูกหรือปิโตรเลียมเจลภายในรูจมูกก่อนเข้านอน
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันในที่ทำงานเพื่อหลีกเลี่ยงการสูดดมสารเคมี และสารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองอื่นๆ

ที่มา: https://www.medicalnewstoday.c...322333.php


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Nosebleed (Epistaxis). Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/a_to_z/nosebleed-epistaxis-a-to-z)
HHT: When Do Frequent Nose Bleeds Signal a Rare and Dangerous Disorder?. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/bloody-nose-cause-concern/)
Nose Bleeds at Night: 5 Causes. Healthline. (https://www.healthline.com/health/nose-bleeds-at-night)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)