March 19, 2017 22:27
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
ก่อนอื่นนะคะต้องถามก่อนว่าปัสสาวะบ่อยแค่ไหนตอนกลางคืน และสังเกตตัวเองว่า มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน เพราะการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนไม่ได้แปลว่าเกิดจากโรคหรือความผิดปกติอย่างเดียว แต่อาจเกิดจากพฤติกรรมที่ทำให้ ปวดปัสสาวะกลางคืนได้ ได้แก่ดื่มน้ำมากก่อนนอน โดยเฉพาะดื่มแอลกอฮอล์ หรือนอนไม่หลับเนื่องจากวิตกกังวลว่าหากหลับแล้วเมื่อ ปวดปัสสาวะจะต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะ จึงทำให้ต้องไปปัสสาวะบ่อยกลางคืนจนกลายเป็นนิสัย นอกจากนี้การกินยาบางชนิดมีผลทำให้ขับปัสสาวะ
สำหรับโรค ที่ทำให้ ปัสสาวะบ่อยกลางคืนได้แก่ โรคเบาหวาน เบาจืด โรคหัวใจ ต่อมลูกหมากโต หรือโรคทางสมองบางอย่างที่ส่งผลต่อการทำงานของการถ่ายปัสสาวะ
แต่ในสำหรับบางคน กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวกว่าปกติ ทำให้ต้องถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้ง มากกว่าคนปกติ
สำหรับการรักษาอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนถ้าไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมที่ส่งผลทำให้ปัสสาวะบ่อยดังที่กล่าวข้างต้น ควรปรึกษาพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย หรือตรวจพิเศษเพิ่มเติมในบางราย เช่นตรวจทางรังสี ส่องกล้อง เป็นต้น เพื่อที่จะได้รักษาตามสาเหตุ
แต่ถ้าเกิดจากพฤติกรรมดื่มน้ำมากก่อนนอนหรือนอนไม่หลับ ก็ควรปรับเปลี่ยนตรงนั้นเสีย
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
ปัสสาวะกลางคืน (nocturia) จะถือว่าผิดปกติ คือการปสสาวะในตอนกลางคืนมากกวา 2 ครั้ง หรือการตื่นมาปสสาวะนั้นทำใหมีปญหา จนมีรบกวนตอการนอนหลับ
ปัสสาวะกลางคืน มีสาเหตุได้ต่าง ๆ
-ดื่มน้ำก่อนนอนมาก หรือ บ่อย ๆ
-การรับประทานยา หรือ สารบางอย่าง เข่น ยาขับปัสสาวะ
-ภาวะหยุดหายใจตอนนอน (sleep apnea)
-ภาวะหรือโรคเครียด
-การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
-โรคเบาหวาน หรือ โรคเบาจืด
-หัวใจล้มเหลว
-ต่อมลูกหมากโตในผู้ชาย
-โรคไตเรื้อรัง
-โรคตับแข็ง
-โรคโลหิตจาง
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยมากๆค่ะ เพิ่งออกจากห้องน้ำมาไม่ถึงนาทีก็ปวดปัสสาวะอีกค่ะ เป็นแบบนี้มาสักพักละค่ะเป็นแต่เวลากลางคืนอะค่ะ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์นะค่ะ ไม่มีอาการปวเหลัง ปวดหัวหรืออะไรเลยน่ะค่ะปวดแค่อยากปัสสาวะ น้ำก็ทานน้อยค่ะหลัง18:00น. อยากทราบว่าเป็นอะไร
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ชอบมีอาการเจ็บท้องนิดๆในตอนกลางคืนแล้วก็จะชอบฉี่บ่อยมากมันเกิดอะไรขึ้นคะ
ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
ควรลอง ไปตรวจปัสสาวะดูครับ ว่ามีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือไม่
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
กลางคืนปัสสาวะบ่อยเหมือนกันคะ แต่ปริมณของปัสสาวะไม่มาก ปัสสาวะเกิน 2 ครั้งใน 1 คืน เคยไปหาหมอตรวจปัสสาวะแต่ไม่เจออะไร ตรวจเลือดหาเบาหวานก็ปกติคะ
ปัสสวะบ่อยมากตอนกลางคืน ปัสสวะเกิน3ครั้งใน1คืน ตามไปด้วยปวดหลังปวดตามร่างกายค่ะ กังวลมากค่ะ
ปัสสวะบ่อยมากตอนกลางคืน ปัสสวะเกิน3ครั้งใน1คืน ตามไปด้วยปวดหลังปวดตามร่างกายค่ะ กังวลมากค่ะ
ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
ก่อนนอน หนึ่งชั่วโมง ปัสสาวะให้เกลี้ยง อย่าดื่มน้ำก่อนนอน จะทำให้นอนได้ยาวขึ้น ปัสสาวะไม่แสบขัด ไม่น่าจะติดเชื้อ ควรไปตรวจปัสสาวะสักครั้งครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปัสสาวะก่อนนอนบ่อยมากค่ะ5นาทีปวดจนกว่าจะหลับเกิดจากอะไรคะ
ปัสวะกลางคืนบ่อยแต่เป็นบางวันคร้า 2-3ชม.ปวดที แต่กลางวันไม่ค่อยปวดปัสวะเกิดจากสาเหตุอะไรคร้า
ทำไมฉี่บ่อยกลางคืนคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)