October 27, 2019 16:09
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
1.ลักษณะเหมือนหูดหงอนไก่นะครับ ถ้าเคยมีเพศสัมพันธ์ก็มีโอกาสติดได้อยู่เเล้วครับ
โดยทั่วไปแล้ว หูดหงอนไก่ นี้จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพด้านอื่นๆ แต่บางครั้งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและอาการคันครับ
บางครั้ง หูดหงอนไก่ที่เห็นชัดเจนสามารถหายเองได้ถ้าหากร่างกายประสบความสำเร็จในการต่อสู้กับเชื้อไวรัส HPV แต่อาจยังเหลือรอยโรคอยู่บ้างหรือมีขนาดของหูดที่ใหญ่ขึ้นหรือตัวหูดอาจมีการเพิ่มจำนวนครับ
การรักษาโรคนี้ต้องรักษาโดยการจี้หูดด้วยยา Podophyllin หรือยา trichloroacetic acid(TCA) หากการใช้ยาจี้เเล้วไม่ดีขึ้นอาจจะใช้เป็นการจี้ไฟฟ้า ครับ
หลังรักษาหายมีโอกาสเป็นซ้ำได้ครับ
2.เรื่องวัคซีนฉีดตั้งแต่ 9 -26 ปีจะดีที่สุดครับ โดยเฉพาะในคนที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ หรืออายุยังไม่เกิน15นั้นฉีดเเค่สองเข็มครับ เเต่อายุมากกว่านั้นก็ต้องสามเข็มครับ
การที่อายุเกิน หรือ ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์แล้วก็สามารถฉีดได้ แต่ประสิทธิภาพอาจจะลดลงทำให้ได้ผลดีไม่เท่ากับผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ครับ
เเละหลังฉีดก็ยังต้องพิจารณาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอยู่นะครับ
3.การติดเชือทางเดินปัสสาวะคือมีปัสสาวะเเสบขัด ปัสสาวะบ่อย เเนะนำให้กินยาฆ่าเชื้อที่คุณหมอจ่ายให้ครบ ดื่มน้ำให้เพียงพอ งดกลั้นปัสสาวะครับ
4.ถ้าจะมีเพศสัมพันธ์ สามารถมีได้แต่ ให้ใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
หมอให้ยา fluconazale และ metronidazole มาให้ค่ะ แต่ไม่ใช้ยาทา ในลักษณะแบบหนูควรต้องใช้ยาทาไหมค่ะ
สวัสดีคะคุณหมอ พอว่าอยากรู้ว่าตนเองเป็นโรคหูดหงอนไก่หรือเปล่าคะ ดังรูปแนบ เป็นมาได้2วีคแล้ว ช่วงแรกคันมาก กลัวว่าจะลามแล้วก็ใหญ่ขึ้นค่ะ ก็เลยไปหาหมอ หมอเลยน้ำฉี่ไปตรวจสรุปออกมาไม่เจอ HPV STD แต่ติดเชื้อในช่องปัสสวะค่ะ แต่อวัยวะก็คงมีลักษณะแบบนี้ และถ้าติดแล้วสามารถฉีดวัศซีนต้านโรค HPV ได้ไหมคะ และจะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไหมคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)