January 24, 2017 07:30
ตอบโดย
วิภา สุวรรณชีวะศิริ (พญ.)
อาการดังกล่าวน่าจะเป็นโรครองช้ำ คือโรคที่เกิดจากการอักเสบบริเวณพังผืดใต้ฝ่าเท้า ส่วนใหญ่มักเป็นบริเวณที่พังผืดยึดกับกระดูกส้นเท้า ผู้ป่วยมักมีการเจ็บปวดบริเวณส้นเท้าเวลาลงน้ำหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกๆ ของการลงน้ำหนัก เช่น ตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังจากการนั่งนานๆ แต่เมื่อเดินไปเรื่อยๆ อาการปวดจะดีขึ้น
สาเหตุ และที่มาของโรคเกิดประกอบด้วยหลายปัจจัยดังนี้
-การใช้งานที่มากเกินไปจนร่างกายทนไม่ไหว เช่น การฝึกวิ่งที่หักโหมจนเกินไป หรือการวิ่งในระยะทางที่ไกลเกินไป
-การวิ่งกระแทกส้น สาเหตุนี้มักพบในคนที่ชอบวิ่งก้าวยาวๆ ทำให้จังหวะลงเท้ามีการกระแทก อย่างรุนแรงที่ส้นเท้า
-การวิ่งบนพื้นแข็ง หรือใช้รองเท้าที่พื้นบางเกินไป จนไม่สามารถรับแรงกระแทกได้ดีพอ
-น้ำหนักตัวที่มากเกินไป ในคนอ้วนมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากกว่า เนื่องจากแรงกระแทก จะมีการแปรผันตามน้ำหนักตัวที่ลงไปบนส้นเท้า
-โครงสร้างร่างกายผิดปกติ เช่น อุ้งเท้าสูง เท้าแบนและคว่ำ หรือส้นเท้าบิดออกด้านนอก
การรักษาสามารถทำได้โดยยึดหลัก 3 ลด
ได้แก่ ลดการใช้ ลดการอักเสบ และที่สำคัญคือ ลดแรงกระแทกที่ส้นเท้า
ในรายที่เป็นมาก จำเป็นต้องทานยาแก้อักเสบ และรักษาด้วยการกายภาพบำบัด เช่น การทำอัลตร้าซาวน์ หรือเลเซอร์ ร่วมด้วยค่ะ
หากฉีดยาแล้วไม่หายอาจต้องลองทำกายภาพบำบัดช่วย ถ้ายังไม่ดีขึ้นแนะนำพบหมอกระดูก เพื่อหาสาเหตุและแนวทางการรักษาอื่นค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
วลีรักษ์ จันทร (พว.)
อาการที่เกิดขึ้นเรียกว่าโรครองช้ำ หรือโรคพังผืดส้นเท้าอักเสบ คือ การมีจุดปวดบนเท้า ส้นเท้า เช่น เวลาเดินลงน้ำหนัก โดยเกิดจากการอักเสบ หรือฉีกขาดของผังผืดฝ่าเท้า Placentar Fascia ที่สัมพันธ์กับการเดินลงน้ำหนักที่เท้า
อาการของ โรครองช้ำ
ที่พบบ่อยคือ จะมีอาการปวดส้นเท้า หรือส่วนโค้งใกล้ส้นเท้า โดยเจ็บคล้าย ๆ กับมีของแหลมมาทิ่ม และกล้ามเนื้อน่องจะมีอาการเกร็ง ซึ่งอาการเจ็บ โรครองช้ำ นี้จะเป็นมากช่วงเช้า หลังตื่นนอน เมื่อก้าวเท้าก้าวแรก และจะมีอาการดีขึ้น เมื่อมีการบริหารฝ่าเท้า แต่บางครั้งอาจจะปวดทั้งวัน หากยืนนาน ๆ หรือเดินนาน ๆ
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงกับ โรครองช้ำ ได้แก่
- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
- นักกีฬาที่ต้องใช้เท้ามาก ๆ เช่น นักวิ่ง
- ผู้ที่มีฝ่าเท้าแบน หรือมีส่วนโค้งของเท้ามาก
- ผู้ที่ใส่รองเท้าไม่พอดีกับรองเท้า
- ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเพศหญิง
- ผู้หญิงที่ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ
การดูแลรักษา
1การดูแลรักษาด้วยตัวเอง
- หยุดกิจกรรมที่ต้องใช้เท้านาน ๆ หากเป็นการเล่นกีฬา ออกกำลังกาย ควรเลือกกีฬาที่ไม่ต้องลงน้ำหนักที่เท้ามากนัก เช่น การว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ๆ เป็นต้น และควรหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาบนพื้นแข็ง
- สวมรองเท้าส้นนิ่มขณะออกกำลังกาย โดยอาจใช้แผ่นรองเสริมอุ้งเท้า เพื่อลดแรงกระแทกที่ฝ่าเท้าที่กระทำกับพื้นรองเท้า และช่วยกระจายน้ำหนักขณะเดิน
- ออกกำลังกายด้วยการยืดกล้ามเนื้อน่อง และยืดพังผืดใต้ฝ่าเท้าบ่อย ๆ
- ไม่ควรเดินเท้าเปล่า ควรใส่รองเท้าที่มีพื้นนุ่มส้นสูงกว่าส่วนหน้าเล็กน้อย อย่าเกิน 1-2 นิ้ว และไม่ควรใส่รองเท้าที่แบนราบเสมอกัน
- ควบคุมน้ำหนักตัว ไม่ให้มากเกินไป เพราะหากน้ำหนักมาก เส้นเอ็นฝ่าเท้าก็ต้องรับน้ำหนักมาก ทำให้รักษาหายช้า
- ประคบด้วยความร้อน หรือความเย็น เพื่อรักษาการอักเสบของเอ็น โดยอาจใช้ยานวด นวดฝ่าเท้า หรือใช้ผ้าพันที่ฝ่าเท้าและส้นเท้า
แนวทางการรักษาโดยแพทย์
1.รับประทานยา หากวิธีบำบัดเท้าข้างต้นไม่ได้ผล แพทย์อาจจะให้รับประทานยา เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวด
2. ฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ บริเวณส้นเท้าจุดที่ปวด แต่ไม่ควรฉีดเกิน 2 ครั้งใน 1 เดือน เพราะอาจทำให้เส้นเอ็นฝ่าเท้าเปื่อยและขาดได้
3.ทำกายภาพบำบัด โดยใช้ความร้อนลึก (อัลตร้าซาวด์) ดัดยืดเส้นเอ็นฝ่าเท้า ใช้ไม้เท้าช่วยเดิน เป็นต้น
4.ใส่เฝือกชั่วคราวให้ข้อเท้ากระดกขึ้น ในตอนกลางคืน หรือถ้าเป็นมาก อาจต้องใส่เฝือกตลอดทั้งวัน
5.ผ่าตัดเลาะพังผืด จะทำต่อเมื่อรักษาวิธีอื่นไม่ได้ผล แต่แพทย์ไม่ค่อยแนะนำวิธีนี้ เพราะมีโอกาสทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
เวลาตื่นตอนเช้ามีอาการปวดสันเท้ามาก เกินจากสาเหตุใด
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)