July 02, 2019 23:26
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
สวัสดีค่ะ จากประวัติปัสสาวะบ่อย 6-7 ครั้งต่อชั่วโมง ปัสสาวะออกนิดเดียว มีประวัติไม่ชอบดื่มน้ำ อาจคิดถึงการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection) ไม่ว่าจะเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (cystitis) ท่อปัสสาวะอักเสบ (Urethritis) หรือแม้กระทั่งกรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) ซึ่งการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจะมีอาการดังนี้ เช่น ปัสสาวะกะปริบกะปรอย แสบปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นเหม็น ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นหนอง ปวดท้องน้อย ปวดเอว หนาวสั่น มีไข้ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น กรณีมีเพียงปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะออกนิดเดียว ไม่ได้มีปัสสาวะเป็นหนอง ปวดเอว หนาวสั่น มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน อาจคิดถึงเพียงกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (cystitis)ค่ะ
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น กลั้นปัสสาวะนาน ดื่มน้ำน้อยทำให้ปัสสาวะออกน้อย ท่อปัสสาวะสั้น เป็นนิ่วบริเวณกรวยไต มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน การติดเชื้อจากรูทวาร ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้สูงอายุ เป็นต้น
สำหรับการป้องกันที่ช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ไม่กลั้นปัสสาวะนาน ดื่มนานให้เพียงพอ ใช้ถุงยางป้องกันเมื่อมีคู่นอนหลายคู่ ปัสสาวะหลังมีเพศสัมพันธ์เสร็จ หลังขับถ่ายให้เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เป็นต้นค่ะ
เบื้องต้นให้ดื่มน้ำมากๆซึ่งการดื่มน้ำจะช่วยขับเชื้อโรคออกและลดอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะได้ และไปพบแพทย์เพื่อตรวจยืนยันการวินิจฉัยและจะได้ทำการรักษาค่ะ อาจจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะมาทานค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สวัสดีครับคุณหมอผมถามเลยแล้วกันนะครับเมียผมฉี่บ่อยมากๆครับ6-7ต่อชั่วโมงครับแต่ไปฉี่แล้วออกนิดเดียวครับ เขาก็ไม่ชอบดื่มน้ำนะครับแลัวไม่มีอาการปวดตรงไหนเลยครับ ปวดแต่ฉี่อย่างเดียวครับ ผมขอวิธีแก้ด้วยครับสงสารเมียมากครับผม แต่ผมยังไม่เคยภาเมียไปหาหมอที่ไหนเลยนะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)