April 22, 2017 13:47
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
การเป็นตะคริว พบได้บ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ กลไกการเกิดตะคริวนั้น และมักเกิดช่วงเวลากลางคืน ทั้งในคนที่ไม่เคยเป้นตะคริวมาก่อน ขณะตั้งครรภ์มก็เป้นตะคริวได้เช่นกัน ตะคริวเกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อทีการหดเกร็งขึ้นเองบริเวณที่พบได้บ่อคือ น่องและเท้า
สาเหตุของการเกิดตะคริวขณะตั้งครรภ์
-ขาดแคลเซี่ยม ขณะตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย ทารกในครรภ์จะดึงแคลเซี่ยมจากแม่ไปใช้ในการเสริมสร้างกระดูกและฟัน ทำให้แม่ขาดแคลเซี่ยมและเป็นตะคริวได้
-ร่างกายขาดสารน้ำและความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย
-การทำงานมากๆ จนเมื่อยล้า หรือนั่งขดแขนขาอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ ก็อาจทำให้เกิดตะคริวขึ้นได้เช่นกัน เพราะเลือดไม่สามารถไหล-เวียนไปเลี้ยงแขนขาได้สะดวก
-ไตรมาสสุดท้าย ท้องมีขนาดโตขยายมากขึ้น มดลูกจะไปกดทับตรงตำแหน่งของอุ้งเชิงกราน ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณน่องขาดออกซิเจน ทำให้เกิดเป้นตะคริวขึ้นมา
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
เกี่ยวกันค่ะ สาเหตุของการเกิดตะคริวขณะตั้งครรภ์ ได้แก่
-ขาดแคลเซี่ยม
-ร่างกายขาดสารน้ำและความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย
-การทำงานมากๆ จนเมื่อยล้า หรือนั่งขดแขนขาอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ ก็อาจทำให้เกิดตะคริวขึ้นได้เช่นกัน เพราะเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงแขนขาได้สะดวก
-ท้องขยายมากขึ้น มดลูกจะไปกดทับตรงตำแหน่งของอุ้งเชิงกราน ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณน่องขาดออกซิเจน ทำให้เกิดเป้นตะคริว
วิธีแก้ไขเมื่อเป็นตะคริวที่น่อง ให้เหยียดขาข้างที่เป็นตะคริวออกให้สุด ใช้มือข้างหนึ่งประคองส้นเท้าไว้ ส่วนมืออีกข้างค่อยๆ ดันปลายเท้าขึ้นลงอย่างช้าๆ แล้วนวดที่น่องเบาๆ ไม่ควรนวดแรง เพราะกล้ามเนื้ออาจจะบาดเจ็บทำให้ตะคริวกลับมาอีกได้
วิธีแก้ไขเมื่อเป็นตะคริวที่ต้นขา ให้เหยียดขาข้างที่เป็นตะคริวออกให้สุดใช้มือข้างหนึ่งประคองส้นเท้าไว้ส่วนมืออีกข้างค่อยๆกดลงบนหัวเข่าแล้วนวดต้นขาบริเวณที่เป็นตะคริวเบาๆ
วิธีแก้ไขเมื่อเป็นนตะคริวที่นิ้วเท้า ให้เหยียดนิ้วเท้าตรงและลุกขึ้นยืนเขย่งเท้าเดินไป-มา เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวจากนั้นค่อยๆ นวดบริเวณนิ้วเท้าเบาๆ ถ้าเป็นตะคริวที่นิ้วมือก็เหยียดนิ้วมือออก เพื่อให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นคลายออก
การป้องกันการเกิดตะคริวในระหว่างตั้งครรภ์ ได้แก่
-ยืดกล้ามเนื้อก่อนนอนเบาๆให้คุณสามีช่วยดันเท้าขึ้น ให้น่องตึง ค้างไว้ประมาณ 30 วินาที ทำสลับข้างกันไป
-เปลี่ยนท่าบ่อยๆขณะนั่งหรือทำกิจกรรม
-ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอวันละ 8 แก้ว
-รับประทานอาหารเเคลเซี่ยมสูง
-นอนตะเเคงซ้ายเพื่อเพิ่มการไหวเวียนเลือดไปเสี้ยงอวัยวะต่างๆในร่างกายได้ดีขึ้น
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
วลีรักษ์ จันทร (พว.)
การเกิดตะคริวขณะตั้งครรภ์นั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ระหว่างการตั้งครรภ์แต่ละช่วงกล้ามเนื้อฝืดไม่ยืดหยุ่นเหมือนเดิม แม้จะเป็นเรื่องปกติ แต่เชื่อว่าไม่มีคุณแม่ตั้งครรภ์คนไหนอยากเจอภาวะการเกิดตะคริว เมื่อน้ำหนักตัวคุณแม่เพิ่มขึ้น ขาทั้งสองข้างก็ต้องแบกรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้ระบบหมุนเวียนโลหิตที่ตึงแน่นเกินไปบริเวณขา ส่งผลให้เกิดตะคริวจากกล้ามเนื้อที่หดตัวขึ้นมาทันทีทันใดโดยมากมักจะเป็นกล้ามเนื้อบริเวณน่องหรือบริเวณปลายเท้า ไม่เฉพาะแต่การยืนหรือเดินเท่านั้น ท่านั่งก็อาจเกิดตะคริวได้ โดยเฉพาะคุณแม่ที่นั่งทำงานนานๆ ทำให้เลือดเดินไม่สะดวกเกิดของเสียคั่งบริเวณน่อง ทำให้กล้ามเนื้อหดตัวจนเกิดตะคริวขึ้นได้
เคล็ดลับแก้ตะคริว
ถ้าเป็นตะคริวที่น่อง ให้เหยียดขาข้างที่เป็นตะคริวออกให้สุดใช้มือข้างหนึ่งประคองส้นเท้าไว้ ส่วนมืออีกข้างค่อยๆ ดันปลายเท้าขึ้นลงอย่างช้าๆ แล้วนวดที่น่องเบาๆ ไม่ควรนวดแรง เพราะกล้ามเนื้ออาจจะบาดเจ็บทำให้ตะคริวกลับมาอีกได้
ถ้าเป็นตะคริวที่ต้นขา ให้คุณแม่เหยียดขาข้างที่เป็นตะคริวออกให้สุดใช้มือข้างหนึ่งประคองส้นเท้าไว้ส่วนมืออีกข้างค่อยๆกดลงบนหัวเข่าแล้วนวดต้นขาบริเวณที่เป็นตะคริวเบาๆ
ถ้าเป็นตะคริวที่นิ้วเท้า ให้เหยียดนิ้วเท้าตรงและลุกขึ้นยืนเขย่งเท้าเดินไป-มา เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวจากนั้นค่อยๆ นวดบริเวณนิ้วเท้าเบาๆ ถ้าเป็นตะคริวที่นิ้วมือก็เหยียดนิ้วมือออก เพื่อให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นคลายออก
หากเป็นตะคริวบริเวณท้องอย่างต่อเนื่อง ควรขอคำแนะนำจากคุณหมอ และหากมีเลือดออกเป็นจำนวนมากร่วมกับการเป็นตะคริว คุณแม่ควรรีบไปพบคุณหมอทันทีนะคะ
นอกจากนี้ ตะคริวอาจเกิดจากการที่คุณแม่ขาดธาตุแคลเซียมก็เป็นได้ เพราะแคลเซียมจะช่วยให้กล้ามเนื้อของคุณแม่ท้องแข็งแรง ดังนั้นควรพยายามทานน้ำผักใบเขียว เมล็ดฟักทอง เมล็ดอัลมอนด์ เต้าหู้ และปลาเล็กปลาน้อย หรืออาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม จะช่วยแก้อาการตะคริวได้ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอนนี้ท้องได้4เดือนแต่ช่วงดึกๆขาชอบเป็นตะคริวทุกวัน แบบนี้เกี่ยวหรือเป็นอันตรายไหมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)