March 12, 2017 18:14
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
การรักษาเส้นเลือดขอดด้วยวิธีใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของเส้นเลือดขอด ดุลยพินิจของแพทย์ และความต้องการของผู้ป่วย
1.การรักษาเส้นเลือดขอดแบบไม่ต้องผ่าตัด (Conservative treatment)เหมาะกับผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดขอดขนาดเล็กมากหรือเป็นเส้นเลือดฝอยที่ขาขนาดเล็ก ๆ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่า โดยการใส่ถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอด (Compression stocking) ตลอดเวลาที่ทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ยืน เดิน นั่ง ยกเว้นในขณะนอน
2.การฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำที่ขอดเพื่อให้เส้นเลือดตีบตัน (Sclerotherapy) สามารถรักษาได้ทั้งเส้นเลือดขอดและเส้นเลือดฝอยที่ขา โดยจะเป็นการฉีดยา (ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติในการทำลายผนัง (Endothelium) ของเส้นเลือดขอด) เข้าไปในเส้นเลือดดำที่ขอดเพื่อทำให้ผนังเส้นเลือดบวมและติดกันจนเลือดไม่สามารถไหลผ่านไปได้และเกิดการแข็งตัวจนตีบตันในที่สุด เพียง 2-3 สัปดาห์เส้นเลือดขอดที่โป่งพองก็จะยุบและจางหายไป โดยยาหรือสารเคมีที่แพทย์นำมาใช้ฉีดก็มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่ชนิดที่ใช้บ่อย ๆ จะมีชื่อว่า เอธอกซีสเครอล (Aethoxysklerol inj) ซึ่งมีความเข้มข้นตั้งแต่ 1-3% ภายหลังการฉีดยารักษาผู้ป่วยควรเดินอย่างต่อเนื่องประมาณ 30 นาทีทันทีหลังการฉีดยาเพื่อช่วยให้ยากระจายตัวได้ดีขึ้น และควรสวมถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอดเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของยาฉีดให้ได้ผลดี โดยควรสวมติดต่อกันอย่างน้อย 5-7 วัน
3.การผ่าตัดเอาเส้นเลือดขอดออก (Varicose vein stripping) เป็นวิธีการผ่าตัดแบบดั้งเดิมและยังคงเป็นการรักษามาตรฐานในผู้ป่วยเส้นเลือดขอด โดยจะเป็นการผ่าตัดดึงเอาเส้นเลือดที่ขอดออกไปตลอดทั้งเส้นเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีก วิธีนี้จะเหมาะสำหรับการรักษาเส้นเลือดขอดที่มีขนาดใหญ่และมีขนาดยาวมากๆ
4.การรักษาเส้นเลือดขอดด้วยเลเซอร์ เป็นการรักษาด้วยเครื่องเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่น 1,064 นาโนเมตร (Nd:YAG laser) ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการรักษาที่ไม่ทำให้เกิดบาดแผลและไม่มีแผลเป็น สามารถรักษาเส้นเลือดขอดได้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว เหมาะสำหรับเส้นเลือดขอดที่มีขนาดเล็กกว่า 3 มิลลิเมตร และผู้ป่วยที่กลัวการฉีดยาหรือการผ่าตัด (ส่วนผู้ที่เป็นเส้นเลือดฝอยที่บริเวณใบหน้าและขาก็สามารถใช้เลเซอร์รักษาได้ด้วยเช่นกัน
5.การรักษาด้วยเลเซอร์แบบพิเศษที่มีช่วงคลื่นต่ำ (Low level laser therapy) เป็นวิธีที่ช่วยบำบัดอาการเส้นเลือดขอดโดยการลดอาการบวมน้ำจากการคั่งของเส้นเลือดดำ โดยจะเป็นการส่งพลังงานเข้าไปที่ตำแหน่งของเส้นเลือดดำ โดยเฉพาะบริเวณเส้นเลือดดำที่มีขนาดใหญ่ที่มีปัญหา ซึ่งพลังงานจะเข้าไปทำให้เกิดการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด จึงช่วยลดอาการบวมน้ำจากการคั่งของเส้นเลือดดำกรณีเส้นเลือดขอด ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ข้อดีของการบำบัดด้วยวิธีนี้คือ ไม่ต้องฉีดยาชา ไม่ทำให้เกิดแผล ทำเสร็จแล้วสามารถกลับบ้านไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ สามารถบำบัดได้ทั้งอาการของเส้นเลือดใหญ่และเส้นเลือดฝอย แต่หลังทำเสร็จจะต้องใส่ถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอดร่วมด้วยเหมือนการรักษาอื่น ๆ
6.การรักษาเส้นเลือดขอดโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency Ablation – RFA) เป็นวิธีการรักษาแบบใหม่ที่ใช้หลักการเดียวกับการรักษาด้วยเลเซอร์ และไม่ต้องทำการผ่าตัดเปิดแผล แต่แพทย์จะใช้วิธีเจาะผ่านรูเข็มขนาดเล็ก แล้วใส่ขดลวด (สาย Fiberoptic) เข้าไปสลายเส้นเลือดขอดที่มีปัญหา โดยเครื่องจะแปรพลังงานจากคลื่นวิทยุนั้นมาเป็นความร้อน
7.ยารับประทานบรรเทาอาการเส้นเลือดขอด เพราะมีการวิจัยออกมาว่า การรับประทานยาในกลุ่มไดออสมิน (Diosmin) และเฮสเพอริดิน (Hesperidin) จะทำหน้าที่ยับยั้งกระบวนการอักเสบให้ลดลงและทำให้ลิ้นในเส้นเลือดกลับมาเป็นปกติได้ โดยเฉพาะในเส้นเลือดขอดที่มีขนาดเล็ก ๆ ดังนั้น
Reference:
https://medthai.com/เส้นเลือดขอด/
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ฉีดยาเสันเลือดขอดมา5วันแล้วค่ะมีอาการปวดเดินไม่ค่อยได้ค่ะเป็นเพราะสาเหตใดค่ะ
อยากทราบว่าอาการปวดขา และเส้นเลือดขอดรักษายังไงค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)