June 02, 2019 13:45
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การมีเลือดปนตกขาวออกมาในระหว่างรอบเดือนนั่นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- เป็นอาการนำก่อนมีการตกไข่
- มีการอักเสบติดเชื้อในช่องคลอดหรืออุ้งเชิงกราน
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติ
- การทีติ่งเนื้อหรือเนื้องอกบางอย่างที่ซ่อนอยู่
ถ้าหากตกขาวปนเลือดดังกล่าวออกมาในปริมาณมากหรือออกมาติดต่อกันหลายวัน หมอก็แนะนำว่าควรไปพบแพทย์นรีเวชเพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
สวัสดีค่ะ เลือดปนตกขาวอาจคิดถึงได้จากหลายสาเหตุค่ะ เช่น
-ช่องคลอดหรือปากมดลูกอักเสบจากการติดเชื้อ จะมีอาการตกขาวมีกลิ่นเหม็นและมีสีน้ำตาลจากเลือดเก่า
-เลือดออกจากการตกไข่ ซึ่งถ้ารอบประจำเดือนมาทุก 28 วัน มักจะเกิดประมาณวันที่ 14 หลังจากที่มีประจำเดือนวันแรก บางรายอาจมีปวดท้องน้อยร่วมด้วย
-เลือดออกจากประจำเดือนที่มาช้าหรือมาไม่ตรงรอบ
-เลือดล้างหน้าเด็ก หรือเลือดออกที่เกิดจากการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ 3 หลังจากที่มีประจำเดือนวันแรก หรือ 1 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิ แต่จะไม่มีอาการปวดท้อง เลือดสีน้ำตาลมักออกกะปริบกะปรอย
-เลือดออกจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก มีอาการเลือดออกกะปริบกะปรอยและมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วย
ถ้ามีอาการผิดปกติอื่นๆคล้ายกับที่กล่าวไปแนะนำให้ไปพบสูตินารีแพทย์ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
สวัสดีค่ะคุณหมอ หนูมีอาการที่มีเลือดปนกับตกขาวใสๆไม่มีกลิ่น อยากทราบว่าน่าจะเป็นเพราะอะไรหรือเป็นอันตรายไหมคะ ก่อนหน้านี้ไม่เคยเป็นมาก่อนนะคะ เป็นครั้งแรกก็รีบมาถามเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)