January 26, 2017 11:18
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
ถ้าเป็นวงกลมนูนๆสีชมพู คันมาก อาจนึกถึงโรคกลากมากที่สุด ทั้งนี้ทั้งนั้นควรไปให้แพทย์ผิวหนังตรวจลักษณะของโรคเพื่อการวินิจฉัยอยากถูกต้อง
ส่วนการรักษาโรคกลากมีดังนี้ค่ะ
ถ้าเป็นโรคกลากที่ลำตัว, ขาหนีบ, มือ, เท้า, เครา หนวด และลำคอ แพทย์จะให้ทาด้วยขี้ผึ้งรักษากลากเกลื้อนหรือขี้ผึ้งวิตฟิลด์ (Whitfield’s oinment) หรือทาด้วยครีมรักษาโรคเชื้อรา (Antifungel cream) โดยให้ทาบริเวณที่เป็นโรค วันละ 2-3 ครั้ง แต่ถ้าจำเป็นต้องถูกน้ำบ่อย หลังทำความสะอาดและเช็ดเท้าให้แห้งแล้ว ควรทายาซ้ำทุกครั้ง (ก่อนทายาควรล้างบริเวณที่เป็นผื่นและเช็ดให้แห้งก่อน แล้วให้ทายาจากรอบ ๆ ผื่นเข้าหาศูนย์กลางของผื่น และล้างมือให้สะอาดหลังจากทายาเสร็จ โดยไม่จำเป็นต้องปิดผื่นด้วยผ้าแต่อย่างใด ถ้าจะให้ดีควรทายาหลังจากอาบน้ำเสร็จ และให้ใส่เสื้อผ้าสวมทับได้ภายหลังจากทายาประมาณ 15 นาที เพื่อป้องกันไม่ให้ยาทาหลุดจากผิวหนังไปติดเสื้อจนยาไม่ออกฤทธิ์ที่ผิวหนัง) ถ้าอาการดีขึ้น ให้ทาติดต่อกันทุกวันนาน 3-4 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย เพื่อรอให้ผิวหนังที่ปกติงอกขึ้นมาแทนที่ (ปกติโรคกลากที่ลำตัวและขาหนีบจะใช้เวลารักษาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ส่วนโรคกลากที่มือหรือเท้าจะใช้เวลารักษานานกว่านี้คือประมาณ 8 สัปดาห์) สำหรับยารักษาเชื้อราที่มีขายในท้องตลาดมีอยู่ด้วยกันหลายยี่ห้อ เช่น โทนาฟ (Tonaf), ทราโวเจน (Travogen), ไนโซรัล (Nizoral), คัตซิน (Katsin), เคนาโซล (Kenazol), เคโนราล (Kenoral), เคทาซอน (Ketazon), ดาคทาริน (Daktarin), ฟังจิซิล (Fungisil), แคนดาโซล (Candazole), คานาโซล (Canazole), คาเนสเทน (Canesten) เป็นต้น
ส่วนในรายที่เป็น ๆ หาย ๆ เป็นโรคกลากที่แผ่เป็นบริเวณกว้างหรือเรื้อรัง การทายาอาจไม่ทั่วถึงทำให้หายได้ช้า อาจต้องรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อราชนิดรับประทานแทน ได้แก่ กริซีโอฟุลวิน (Griseofulvin) ในขนาด 500-1,000 มิลลิกรัม ยารับประทานเหล่านี้มีผลข้างเคียงหลายอย่าง ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์และให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาว่าควรรับประทานยาหรือไม่และควรรับประทานยาชนิดใด และเมื่อรับประทานแล้วต้องอยู่ภายในความดูแลใกล้ชิดของแพทย์เช่นกัน
สำหรับวิธีการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคกลาก ผู้ป่วยที่เป็นโรคกลากควรปฏิบัติดังนี้
* รักษาสุขภาพและรักษาโรคประจำตัวให้หายจนกลับมาเป็นปกติ
* ถ้ามีคนในบ้านหรือสัตว์เลี้ยงที่เป็นโรคนี้ด้วย ควรให้การรักษาพร้อม ๆ กันไป
* รักษาความสะอาดของร่างกายด้วยการอาบน้ำฟอกสบู่อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยเฉพาะบริเวณข้อพับและซอกต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ขาหนีบ ซอกนิ้ว อย่าให้ขี้ไคลหมักหมม เมื่ออาบน้ำเสร็จแล้วให้เช็ดตัวให้แห้ง อย่าปล่อยให้เปียกชื้น และระวังอย่าให้มีเหงื่ออับชื้นอยู่เสมอ
* ผู้ที่เล่นกีฬาบางประเภทที่ผิวหนังมีการเสียดสีกัน เช่น มวยปล้ำ ยูโด เทควันโด คาราเต้ ฯลฯ ควรรักษาตัวให้หายเสียก่อนเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
* ควรระวังอย่าให้บริเวณที่เป็นโรคกลากเปียกชื้นหรือสัมผัสกับน้ำบ่อย ๆ หรือตลอดเวลา
* ตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้น หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ และอย่าเกาบริเวณที่ผื่นเพราะจะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
* อย่าใช้มือขยี้ตา สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคกลากที่เล็บและหนังศีรษะ
* เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่บุคคลใกล้ชิดภายในบ้าน ผู้ป่วยควรแยกสิ่งของเครื่องใช้ เช่น เสื้อผ้า ถุงเท้า รองเท้า หมวก รวมทั้งของใช้ส่วนตัวอื่น ๆ ไม่ควรใช้สิ่งของเหล่านี้ปะปนกับผู้อื่น และควรซักทำความสะอาดและตากแดดให้แห้งก่อนใช้ทุกครั้ง รวมไปถึงการแยกเตียงกันนอน ไม่ใช้ผ้าปูที่นอน หมอน และหมอนข้างร่วมกัน และหมั่นนำเบาะนอน เบาะนั่ง และหมอนออกไปตากแดดบ่อย ๆ
* ผู้ป่วยที่เป็นโรคกลากที่เท้าหรือฮ่องกงฟุต ควรล้างเท้าให้สะอาดและเช็ดเท้าให้แห้งเสมอ อย่าปล่อยให้เท้าอับชื้น และควรใส่รองเท้าสานโปร่งที่เปิดเล็บเท้าแทนการสวมถุงเท้าและรองเท้าที่มิดชิด
* ห้ามใช้ครีมสเตียรอยด์ทารักษาโรคกลาก เช่น เพรดนิโซโลน (Prednisolone), เดกซาเมทาโซน (Dexamethasone) ฯลฯ เพราะอาจจะทำให้โรคลุกลามได้
ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ในกรณีดังต่อไปนี้
* เมื่อพบว่ามีผื่นหรือตุ่มแดงคันตามลักษณะข้างต้นขึ้นตามลำตัว ใบหน้า ขาหนีบ หนวดเครา มือและเท้า หรืออาการลุกลามมากขึ้น หรืออักเสบเป็นหนองเฟอะ และได้รักษาด้วยยารักษากลากด้วยตนเองมาได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น
* หากมีผมร่วง เป็นรังแค และหนังศีรษะมีรอยโรคต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น รวมถึงผู้ป่วยที่มีรอยโรคที่เล็บ เช่น เล็บหนา เปราะ มีสีเปลี่ยนไป หรือเล็บแยกตัวออกจากหนังใต้เล็บ ควรไปพบแพทย์เสมอ เพราะผู้ป่วยต้องอาศัยการรับประทานยาเป็นเวลาหลายเดือน
* สำหรับผู้ที่ไม่มีผมร่วง ไม่มีรอยโรคที่หนังศีรษะ แต่มีเฉพาะรังแคที่เป็นมานานหลายเดือน อาจเป็นพาหะโรคของโรคกลากที่ศีรษะหรือโรคภูมิแพ้ที่หนังศีรษะ ควรไปพบแพทย์เพื่อได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องเช่นกัน
วิธีป้องกันโรคกลาก
* ไม่คลุกคลีหรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ถุงเท้า รองเท้า หมวก หวี แปรงผม มีดโกนผม เป็นต้น
* รักษาความสะอาดด้วยการอาบน้ำฟอกสบู่ทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยเฉพาะบริเวณข้อพับและซอกต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ขาหนีบ ซอกนิ้ว อย่าให้ขี้ไคลหมักหมม เมื่ออาบน้ำเสร็จแล้วให้เช็ดตัวให้แห้ง อย่าปล่อยให้เปียกชื้น และระวังอย่าให้มีเหงื่ออับชื้นอยู่เสมอ
* หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าหนา ๆ หรืออบมากจนเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีอากาศร้อนหรือมีเหงื่อออกง่าย
* หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์เลี้ยงที่เป็นขี้กลาก เช่น สุนัข แมว
* หลังสัมผัสสัตว์เลี้ยงหรือถ้าขุดดินมาก็ควรล้างมือให้สะอาด
* เล็บมือเล็บเท้าควรตัดให้สั้นอยู่เสมอ
* หมั่นล้างทำความสะอาดห้องน้ำ อ่างล้างหน้า อ่างอาบน้ำ และฝักบัวอยู่เสมอ รวมถึงสิ่งของเครื่องใช้อื่น ๆ ที่ต้องใช้ร่วมกัน
* หลังว่ายน้ำหรือออกกำลังกายต้องอาบน้ำและเปลี่ยนเป็นผ้าแห้ง
* หมั่นเปลี่ยนรองเท้าทุก ๆ 2-3 วันเพื่อให้รองเท้าแห้งอยู่เสมอ และใส่รองเท้าทุกครั้งเมื่ออยู่ในที่สาธารณะที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น ห้องน้ำ สระว่ายน้ำสาธารณะ เป็นต้น
* สำหรับโรคสังคัง (โรคกลากที่ขาหนีบ) อาจป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงการใช้กางเกงในที่รัดแน่นหรือทำให้อบมากจนเกินไป ถ้าอ้วนก็ควรลดความอ้วน หลังอาบน้ำเสร็จก็ควรเช็ดบริเวณนั้นให้แห้ง และใช้แป้งธรรมดาโรย
* สำหรับโรคฮ่องกงฟุต (โรคกลากที่เท้า) อาจป้องกันได้ด้วยการไม่ใส่ถุงเท้าและรองเท้าที่เปียกหรืออับชื้น ถุงเท้าที่ใส่ควรทำมาจากผ้าฝ้าย หลีกเลี่ยงการใส่ถุงเท้าที่ทำจากไนลอนหรือใยสังเคราะห์ซึ่งอบเกินไป ส่วนรองเท้าแบบหุ้มส้นไม่ควรใส่แล้วแน่นเท้าจนเกินไปและหมั่นนำออกมาตากแดดอยู่เสมอ และหลังอาบน้ำเสร็จควรเช็ดบริเวณง่ามเท้าให้แห้ง ถ้าซอกเท้าเปียกน้ำ เช่น ย่ำน้ำ หรือมีเหงื่อออกมาก ก็ควรล้างเท้าให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้งด้วย สำหรับผู้ที่ต้องทำงานสัมผัสกับน้ำอยู่บ่อย ๆ หรือตลอดเวลาควรป้องกันด้วยการใส่ถุงมือยาง รองเท้าบูต หรือเสื้อยาง เป็นต้น
References
1. หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2. “กลาก (Ring worm/Tinea)”. (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ). หน้า 981-983.
2. หาหมอดอทคอม. “กลาก (Tinea)”. (พญ.สลิล ศิริอุดมภาส). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : haamor.com. [14 มิ.ย. 2016].
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คันเป็นเวลาเกือบเดือนเกาจนเป็นเพราะคันพอแผลหายก็ยังคันเป็นช่วงๆบริเวรที่เดิมคันๆหายๆบางที่เป็นก้อนแข็งๆเล็กๆแล้วก็คันบริเวรนั้น
คันเป็นเวลาเกือบเดือนเกาจนเป็นเพราะคันพอแผลหายก็ยังคันเป็นช่วงๆบริเวรที่เดิมคันๆหายๆบางที่เป็นก้อนแข็งๆเล็กๆแล้วก็คันบริเวรนั้น
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
มีผื่นขึ้นตามแขนขาเป็นวงกลมๆคันบ้าง
มีผื่นขึ้นที่ขาค่ะ ตอนแรกเริ่มจะเป็นจุดสีแดงจุดนึงก่อนค่ะพอสักพักจะเริ่มคันแล้วก็จะเริ่มเป็นวงค่ะ เป็นเฉพาะที่ขาค่ะ เป็นตั้งแต่มีลูกคนแรกค่ะ มีลูกคนที่2ก็เป็นอีกค่ะ พอคลอดลูกคนที่2ปุ้บฝังยาคุมกำเหนิดค่ะแล้วก็เป็นมาตลอดเลย สังเกตตัวเองว่าเป็นเพราะประจำเดือนไม่มาหรือเปล่า เพราะตอนที่ยังไม่ได้มีน้องไม่เคยเป็นเลยค่ะ ช่วยตอบหน่อยค่ะ เพราะตอนนี้กำลังเป็นอยู่ค่ะคันมาก ไปหาหมอที่โรงพยาบาลมาหมอบอกแพ้ฝุ่น ให้ยาแก้แพ้มาทาน ยาทาแก้คันก็ยังไม่หายเลยค่ะ ตอนนี้ใส่กระโปรงไปทำงานอายคนมากค่ะมีแต่คนถาม เพราะที่ทำงานมีชุดยูนิฟอร์มเป็นกระโปรงค่ะ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ชอบมีผื่นขึ้นที่เดิม ๆ ซ้ำๆ ขึ้นเป็นวงกลมสีชมพู คันมาก ๆ หายไปซักพักก็กลับมาเป็นอีก จะเป็นตรงข้อศอก หลังคอ และหลังมือ เป็นบ่อยมาก ๆ ต้องไปตรวจหรือใช้ยาอะไรคะ ไไปพบหมอที่ไม่ใช่หมอผวหนังโดยตรงจะได้แต่ยาแก้แพ้มาทานทุกครั้ง
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)