March 15, 2017 21:28
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
การรักษาโรคภูมิแพ้ อาจจะไม่หายขาด แต่ถ้าปฏิบัติตัวดูแลตัวเอง ร่วมกับการรักษาของแพทย์แล้วก็จะทำให้ไม่มีอาการกำเริบ สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ และมีคุณภาพได้เริ่มตั้งแต่การอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับโรคให้คนรอบๆตัวผู้ป่วยฟัง เพื่อให้เกิดความเข้าใจและช่วยกันดูแลได้อย่างเหมาะสม ออกกำลังกายอย่างสม่าเสมอ ทานอาหารครบ 5 หมู่และมีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอรักษาสุขภาพจิตให้สดใส เพราะถ้ามีอาการเครียด วิตกกังวล อาจทำให้อาการของโรคเป็นมากขึ้น
หลักการรักษาหากมีอาการของระบบทางเดินหายใจ
1.หลีกเลี่ยง หรือกำจัดสิ่งที่แพ้
เป็นการรักษาที่สำคัญที่สุด โดยหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ กำจัด หรือลดปริมาณของสารก่อภูมิแพ้ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เหลือน้อยที่สุด โดยเฉพาะห้อนนอนเพราะเราใช้เวลาอยู่มาก ทำความสะอาดเครื่องนอนเป็นประจำ ซักและนำมาตากแดด หลีดเลี่ยงสัตว์ที่แพ้ หลีกเลี่ยงสารระคายเคืองต่างๆ ที่เป็นปัจจัยชักนำอาการ เช่น การอดนอน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ การสัมผัสฝุ่น ควัน กลิ่นฉุน อากาศที่ร้อน หรือเย็นจนเกิดไป และต้องสังเกตด้วยว่าสภาวะแวดล้อมอะไรที่ชักนำให้เรามีอาการมากขึ้น เพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยง
2.การใช้ยาบรรเทาอาการ
มีหลายตัวยาที่ใช้ในการบรรเทาอาการ ได้แก่กลุ่มยาต้านฮิสตามีนหรือยาแก้แพ้ ใช้ในคนที่อาการเป็นไม่มากนัก ยาลดการบวมของเยื่อบุจมูก(decongestant) ให้ในคนที่คัดจมูกมากๆและไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 1 สัปดาห์ และยากลุ่มอื่นๆเช่น กลุ่มสเตอรอยด์ ควรได้รับคำแนะนำการใช้จากแพทย์ผู้รักษา
3.การฉีดวัคซีน (allergen immunotherapy)
เป็นการฉีดสารภูมิแพ้ที่คิดว่าเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการเข้าไปในร่างกายทีละน้อย แล้วค่อยๆเพิ่มขนาดจนได้ขนาดสูงสุดที่ผู้ป่วยรับได้ มีข้อบ่งชี้ในการใช้วิธีนี้เช่น แพ้สารที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หรือใช้ยาแล้วไม่ได้ผล มีอาการมากทั้งปี
4.การรักษาโดยการผ่าตัด
เป็นการผ่าตัดเพื่อหวังผลรักษาอาการบางอย่าง เช่นอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล โดยใช้ยาเต็มที่แล้วไม่ได้ผล
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
ภูมิแพ้เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่สามารถไม่ให้เกิดอาการโดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นภูมิแพ้
การปฏิบัติตนมีอยู่ด้วยกัน 3 ข้อ คือ
1. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ การปฏิบัติตนข้อนี้นับว่าสำคัญมาก เนื่องจากการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จะทำให้ร่างกายของผู้ป่วยลดปริมาณการสร้างสารแพ้ ทำให้อาการของโรคภูมิแพ้ลดน้อยลง และผู้ป่วยสามารถลดปริมาณการใช้ยาให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อควบคุมอาการของโรค
**สารก่อภูมิแพ้มี 2 ประเภท ได้แก่
1.สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ ขนสุนัข ขนแมว เกสรหญ้า หรือเชื้อรา เป็นต้น
2.สารก่อภูมิแพ้ประเภทอาหาร เช่น นมวัว นมถั่วเหลือง ไข่ อาหารทะเล หรือแป้งสาลี เป็นต้น
2. การใช้ยาอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์ รวมถึงผู้ป่วยสามารถล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ และบริหารยาพ่นผ่านทางจมูกหรือปากได้ถูกต้องตามขั้นตอน เนื่องจากการรักษาโรคภูมิแพ้ผู้ป่วยจำเป็นต้องล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ และบริหารยาพ่นผ่านทางจมูกและปากนอกเหนือจากการรับประทานยา ฉะยนั้นแพทย์ผู้ทำการรักษารวมถึงผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลผู้ป่วยจำเป็นต้องคอยให้ความรู้ ความเข้าใจ และตรวจสอบความถูกต้องของขั้นตอนการบริหารยา เนื่องจากการบริหารยาไม่ถูกต้องจะทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับยาตามขนาดที่แพทย์ต้องการ
3.การดูแลตนเองให้มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงอยู่เสมอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทแป้งและไขมันจนมากเกินไปที่จะทำให้เกิดโรคอ้วน และทำให้การรักษาโรคภูมิแพ้ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรนอนดึก รวมถึงหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่อาจกระตุ้นให้อาการของโรคเป็นมากขึ้น เช่น ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรือควันจากการประกอบอาหาร เป็นต้น
**ส่วนการรักษาโรคภูมิแพ้โดยการฉีดวัคซีนนั้น ปัจจุบันสามารถทำการรักษาได้ในโรคภูมิแพ้ 2 โรค คือ โรคแพ้อากาศ และโรคหืด
หลักการฉีดวัคซีนรักษาโรคภูมิแพ้ คือ แพทย์ผู้ทำการรักษาจะทำการฉีดสารก่อภูมิแพ้ชนิดที่ผู้ป่วยแพ้ให้แก่ผู้ป่วย และจะเพิ่มปริมาณสารก่อภูมิแพ้ที่ฉีดทีละน้อย โดยหวังผลว่าร่างกายของผู้ป่วยจะลดการตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ดังกล่าว ทำให้มีการสร้างสารแพ้ในร่างกายลดลง และอาการต่าง ๆ ของโรคภูมิแพ้ลดน้อยลงตามลำดับภายหลังการรักษา ผู้ป่วยที่ตอบสนองดีต่อการฉีดวัคซีนแพทย์จะทำการรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณ 3-5 ปี ส่วนผู้ป่วยบางรายที่ไม่ตอบสนองต่อการฉีดวัคซีนภายหลังการรักษาแล้ว 1 ปีแพทย์จะหยุดทำการรักษา
Reference: รพ.พญาไท
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
เป็นภูมแพ้รักษาอย่างไรถึงหายขาดค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)