August 25, 2019 21:38
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
ถ่ายแล้วเจ็บรูทวาร มักจะเป็นทวารหนักส่วนนอก หรือผิวหนังบริเวณนั้นครับ
สามารถเกิดจากได้ หลายอย่างครับ เช่น ฝีหรือแผลบริเวณนั้น ติ่งเนื้อ ริดสีดวงทวารที่ยื่นออกมา จนไปถึงเนื้องอกบริเวณทวารหนักครับ
เบื้องต้นอยากให้ไปพบแพทย์ เพื่อซักประวัติ และตรวจร่างกายบริเวณทวารหนักอย่างละเอียดครับ
ถ้ามีอาการท้องผูกร่วมด้วย แนะนำให้ ไม่นั่งอุจจาระนาน ดื่มน้ำให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีกากใยมากๆ ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
สุวพัชญ์ พิศาลมงคล (นพ.)
การถ่ายเป็นเลือดสด อาจเป็นได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- โรคริดสีดวงทวาร (hemorrhoid) เป็นโรคที่เกิดจากการท้องผูกนานๆ ขับถ่ายยาก มีทั้งริดสีดวงทวารภายนอก และริดสีดวงทวารภายใน ลักษณะอาจจะพบก้อนออกมาจากรูทวารหรือไม่ก็ได้ เวลาเบ่งขณะขับถ่ายจะพบว่าก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือก้อนออกมาจากรูทวารได้
- มีบาดแผลบริเวณรูทวารหนัก (anal fissure) เป็นโรคที่บริเวณทวารหนักได้รับบาดเจ็บจากอุจจาระที่แข็ง ทำให้มีแผลบริเวณรูทวารหนักได้ จะมีอาการเจ็บเวลาถ่ายอุจจาระ และอาจพบเลือดสดปนออกมาได้
- ติดเชื้อในลำไส้ใหญ่ เช่น โรคบิด จะมีอาการปวดท้องรุนแรง่ มีไข้ ถ่ายอุจจาระเหลว อาจพบมีมูกเลือดปนออกมาได้
- โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบในผู้ที่มีอายุมาก มีประวัติเบื่ออาหาร น้ำหนักลดมาเป็นเวลานาน
โรคที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ซึ่งการวินิจฉัยต้องอาศัยการซักประวัติ และตรวจร่างกายเพิ่มเติมครับ ดังนั้นแนะนำให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจและให้การรักษาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
เวลาถ่าย จะมีมูกเลือกออกมา หรือไม่ก็มีเหมือนหนองออกมาปนด้วย แล้วเวลาถ่ายจะเจ็บแสบทุกครั้ง เป็นแบบนี้มาได้ 3 วันแล้วค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)