March 20, 2017 16:57
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
ในคนปกติ จะมีริดสีดวง(hemorrhoidal tissue)ทุกคน โดยจะอยู่บริเวณส่วนล่างของทวารหนัก มีหน้าที่ ป้องกัน กล้ามเนื้อของทวารหนัก รวมทั้งหูรูด ระหว่าง ถ่ายอุจจาระ และช่วยให้ทวารหนักปิดได้สนิท โรคริดสีดวง เกิดจากการโตขึ้น ของ เนื้อเยื่อ Hemorrhoid ซึ่งสาเหตุแบ่งง่ายๆ เป็น 2 อย่างคือ
1.เป็นความผิดปกติของหลอดเลือดบริเวณนั้น
2.เกิดจากการเพิ่ม ความดัน ต่อ กำบังลมด้านล่าง(Pelvic Floor) นานๆ ซึ่งการเพิ่มความดัน ดังกล่าว
เกิดได้จาก การเบ่งอุจจาระบ่อยๆ จากท้องผูก การยกของหนัก การยืนนานๆ รวมทั้งการตั้งครรภ์
จากการที่มีเด็กอยู่ ทำให้ เลือดไหลกลับไม่สะดวก
ริดสีดวงมี 4 ระยะ การรักษาก็ขึ้นกับอยู่ที่ระยะเท่าไร
ระยะ1
การรักษาใน ระยะนี้ ไม่ว่าจะเลือดออกหรือไม่ จะเน้นการใช้ยาและการปฏิบัติตัว การใช้ยา จะเป็นพวก ยาที่ทำให้อุจจาระนุ่ม(Stool Softener)อาจใช้ยาประเภท Steroid เหน็บทวารเพื่อลดการอักเสบ การปฏิบัติตัว คือ ทานอาหารมีกากมากๆ ทานน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงการเบ่ง หรือนั่งนานๆ มีบางแห่ง อาจใช้ Infrared ช่วย แต่ไม่จำเป็นครับ
ระยะที่ 2
การรักษาด้วยยา รวมทั้ง การปฏิบัติตัวเหมือนเดิมอาจใช้ยางชนิดพิเศษ รัดริดสีดวงทวาร ( Rubber Band Ligation) ซึ่งได้ผลดีมาก
ไม่เจ็บ ไม่ต้องผ่าตัด ทำได้บ่อยๆ ภาวะแทรกซ้อนต่ำ
ระยะที่3-4
ควรผ่าตัดครับ
ข้อบ่งชี้
1.เป็นระยะ 3ที่ใหญ่ หรือ ระยะ 4
2.เป็นทั้ง ภายนอกและ ภายใน พร้อมกัน (Mixed Type)ซึ่งไม่สามารถ ที่จะใช้ยางรัดได้ (เพราะจะเจ็บมาก)
3.มีภาวะแทรกซ้อน เช่น เส้นเลือดอุดตัน ปวดมาก หรือ หัวริดสีดวงเน่า จากการขาดเลือดนั่นคือ จะเห็นว่า ถ้าเป็นไม่มากจริงๆ ไม่ต้องผ่าตัดครับ สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ค่าใช้จ่ายในการรักษาแพงมั้ยค่ะ
เป็นริดสีดวง เกิดจากอะไรคะ แล้วต้องดูแลรักษายังไงให้หายขาด เป็นมาหลายปีแล้ว อยากผ่าออก แต่หมอก็ไม่ให้ผ่า วันดีคืนดี ก็เลือดออกแรงมาก ตกใจเลยค่ะ อยากหายขาดค่ะเป็นมานานหลายปีแล้วค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)