January 25, 2017 07:29
ตอบโดย
ชมชนัท ทับเจริญ (พญ.)
อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากการได้รับ โปรตีนบางชนิดในนมวัว โดยอาจเข้าสู่ร่างกายตั้งแต่อยู่ในครรภ์คุณแม่ เนื่องจากคุณแม่กินนมวัวเพื่อบํารุงครรภ์มากเกินกว่าปกติที่ตนเคยกิน หรือได้รับเข้าสู่ร่างกายหลังจากคลอดแล้ว แต่เนื่องจากทารกยังมีข้อจํากัดของระบบการย่อย และระบบ ภูมิคุ้มกันในลําไส้ที่ ไม่แข็งแรง อีกทั้งมีระบบน้ําย่อยยังไม่สมบูรณ์ และเซลล์ เยื่อบุทางเดินอาหารยังอยู่กันห่างๆ จึงทําให้โปรตีนแปลกปลอม ของนมวัว เล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือด ไปกระตุ้นให้ร่างกายของทารกที่มีความเสี่ยง (ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัว หรือผู้ที่แม่ดื่มนมวัวหรือผลิตภัณฑ์นมวัวขณะตั้งครรภ์) สร้างภูมิต่อต้านชนิดผิดปกติขึ้นในร่างกาย ซึ่งจะไวต่อสารก่อภูมิแพ้ประเภทอื่นอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในอากาศ เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น ซากแมลงสาบ เกสรหญ้าหรือดอกไม้ รังแค หมา แมว นก หรือสารก่อแพ้จากการกิน เช่น นมวัว ถั่ว ไข่ หรืออาหาร ทะเล อาการบางอย่างแสดงออกเมื่ออายุน้อย เช่น อาการผื่นแพ้ผิวหนัง อาการถ่ายเป็นมูกเลือด เมื่อโตขึ้น ระบบผิวหนัง และระบบลำไส้ แข็งแรงมากขึ้น ถึงแม้จะได้รับนมวัวเข้าไปภายหลัง ก็ไม่แสดงอาการออกเหมือนเดิม ทำให้พ่อแม่เข้าใจผิดว่า ลูกหายจากแพ้นมวัวแล้ว จึงให้ลูกกินนมวัวใหม่ แต่ที่จริงแล้ว บางคนอาจยังแพ้อยู่ แล้วแสดงอาการทางระบบทางเดินหายใจ ทำให้เป็นหวัดบ่อย หอบหืด ปอดบวม ไซนัสอักเสบ หูอักเสบบ่อยๆ ต้องกินยาปฏิชีวนะมากมาย แต่หากฉุกใจคิดว่า อาจเป็นจากนมวัว เมื่อหยุดกินนมวัว อาการก็จะดีขึ้น ทำให้ป่วยน้อยลงอย่างชัดเจน เมื่อลูกแพ้นมวัวแล้วลูกมีความเสี่ยงในการแพ้อาหารชนิดอื่นร่วมด้วย ที่พบบ่อย ได้แก่ ไข่ อาหารทะเล (ปลา น้ำปลา กุ้ง หอย น้ำมันหอย ปู ปลาหมึก) แป้งสาลี (ขนมปัง บะหมี่ เกี๊ยว ซาลาเปา ปาท่องโก๋ อาหารชุบแป้งทอด) ถั่วเมล็ดแข็ง (ถั่วลิสง วอลนัท อัลมอนด์ พินัทชิโอ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ฮาเซลนัท) ผลไม้รสเปรี้ยว (มะเขือเทศ ส้ม มะนาว สตรอเบอรี่ บลูเบอรี่ ราสเบอรี่ กีวี) ดังนั้นจึงแนะนำว่าควรเริ่มอาหารเหล่านี้หลังอายุ 2 ปีเป็นต้นไป และเมื่อเริ่มลองให้ ต้องลองทีละอย่างและเริ่มจากปริมาณน้อยเพื่อดูว่าแพ้หรือไม่ ส่วนอาหารเสริมที่ให้ได้ตามปกติ ได้แก่ ผักส่วนใหญ่ เนื้อไก่ หมู เนื้อวัว ปลาน้ำจืด ให้เริ่มหลัง 6 เดือน ไม่ควรเริ่มก่อน 6 เดือนเนื่องจากระบบภูมิต้านทานในลำไส้ยังพัฒนาไม่เต็มท เด็กที่แพ้นมวัว เมื่อโตขึ้นอาการแพ้นมวัวจะดีขึ้นจนหายได้ และพบว่ามีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้อากาศ โรคหอบหืด มากขึ้น และมีโอกาสแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดอื่น เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น แมลงสาบ ละอองหญ้า ขนหมาแมว ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารดังกล่าวด้วย
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
สุเทพ สุขนพกิจ
ขออนุญาติเสริมเรื่องการรักษา
การรักษาที่ถูกต้องและดีที่สุด คือ การงดรับประทานนมวัวและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัวทุกชนิดอย่างน้อย 1 ปี และค่อยๆกลับมาทดลองรับประทานดูใหม่ ในกรณีที่รับประทานนมแม่ร่วมด้วยอยู่แล้ว ก็ให้รับประทานนมแม่ต่อไปโดยที่แม่ต้องงดรับประทานนมวัว และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัวทุกชนิดด้วยเช่นกันในระหว่างที่ให้นมบุตร สำหรับนมที่จะนำมาทดแทนหรือเสริมกับนมแม่นั้นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย แนะนำให้ใช้ eHF เท่านั้น ไม่แนะนำให้ใช้ pHF หรือ นมถั่วเหลือง เพราะอาจจะทำให้เกิดการแพ้ได้ แต่ในทางปฏิบัติพบว่า เนื่องจากนมสูตร eHF นั้นมีปัญหาเรื่องรสชาติและราคา ทำให้ขาดความร่วมมือของพ่อและแม่ในการใช้นมชนิดนี้
ดังนั้น ในทางปฏิบัติที่ผ่านมาได้รักษาผู้ป่วยที่แพ้นมวัวด้วยนมถั่วเหลืองมาก่อนที่จะมีนมสูตร pHF
ดังนั้น นมที่ดีที่สุด จึงเป็นนมมารดาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ถ้าเด็กเเพ้นมวัวต้องเเพ้ซีรีเเลคด้วยไหมค่ะ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ถ้าเด็กเเพ้นมวัวต้องเเพ้ซีรีเเลคด้วยไหมค่ะ
เด็กที่มีอาการแพ้นมวัวจะมีโอกาสหายแล้วกลับมาทานนมวัวได้มั้ยคะ แล้วมีการรักษามั้ยคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)