December 25, 2018 19:41
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
โรคดึงผมตนเอง อีกชื่อหนึ่งคือ Trichotillomania คือโรคที่มีความผิดปกติทางจิตเวชในกลุ่มโรคย้ำคิดย้ำทำครับ โดยอาการคือ การดึงผม หรือขนตามบริเวณต่างๆ เช่น คิ้ว ขนตาของตนเองเป็นประจำ
ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มผู้ป่วย เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รู้ตัวขณะดึงผม เนื่องจากการดึงผมทำให้ผ่อนคลาย หรือทำให้ความเครียด ความกังวลลดลง และกลุ่มที่ดึงผมโดยไม่รู้ตัว ขณะกำลังทำกิจกรรมอื่นครับ
สาเหตุมักเกิดจากความวิตกกังวล หรือ สารสื่อประสาทในสมองผิดปกติ
เเนะนำให้พบจิตเเพทย์นะครับ จะทียาช่วยปรับสารสื่อประสาทในสมอง เเละคำเเนะนำจากคุณหมอด้วยครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
ในส่วนของอาการดึงผมก็จะเป็นโรคตามที่คุณหมอได้ชี้แจงไว้ด้านบนเลยนะครับซึ่งผมได้แนบลิ้งข้อมูลของโรคมาไว้ด้านล่างนี้เลย หากสนใจก็สามารถเข้าไปอ่านได้ครับ
https://www.honestdocs.co/trichotillomania
โดยการรักษาก็สามารถรับยาที่เกี่ยวกับการคลายความกังวลได้ครับ แต่อย่างไรก็ตามยาเหล่านี้จะต้องได้รับการสั่งจากจิตแพทย์เท่านั้นและผมเองก็มองว่าตัวน้องเองควรที่จะได้รับการประเมินและวินิจฉัยจากแพทย์เสียก่อนครับเพื่อที่จะให้ได้รับการรักษาจากเหมาะสมกับอาการของน้องจริงๆ มิฉะนั้นแล้วการทานยาผิดตัวอาจจะไม่ช่วยให้อาการดีขึ้นก็ได้ครับ
ดังนั้นอาจจะต้องลองปรึกษากับผู้ปกครองดูนะครับเพื่อให้ผู้ปกครองพาไปหาจิตแพทย์ดูนะครับ ถ้าหากผู้ปกครองไม่สะดวกที่จะพาไป คุณก็สามารถไปหาจิตแพทย์ด้วยตัวคนเเดียวได้นะครับหรืออาจจะมีเพื่อนไปด้วยซัก 1-2 คนที่เราไว้ใจนะครับ
หากมีปัญหาในเรื่องของค่าใช้จ่ายคุณสามารถติดต่อไปที่โรงพยาบาลที่เรามีสิทธิรักษาพยาบาลอยู่ได้นะครับ เพื่อที่จะใช้สิทธิในการรักษาพยาบาลของเรา หากว่าโรงพยาบาลหรือคลินิกที่เรามีสิทธิอยู่ไม่มีบริการด้านจิตเวช ทางโรงพยาบาลสามารถทำใบส่งตัวให้เราไปยังโรงพยาบาลอื่นๆที่มีบริการที่เหมาะสมได้โดยที่เราแทบจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือเสียเพียงเล็กน้อยเท่านั้นครับ ขั้นตอนอาจจะมากและต้องรอนาน แต่ข้อดีก็คือจะประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้จริงๆครับหากทำตามขั้นตอน
โดยคุณสามารถตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาลของตนเองได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้นะครับ
http://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml
หากมีข้อสงสัยอื่นๆเพิ่มเติมก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ยังไงก็อยากให้หนูไปพบจิตแพทย์นะคะ ประเมินอาการเพิ่มเติม ให้คุณหมอหาสาเหตุของพฤติกรรมถอนผมให้แน่ชัด หากพฤติกรรมถอนผมเกิดจากความวิตกกังวล ก็จำเป็นต้องใช้ยาเพื่อลดความวิตกกังวลร่วมกับการทำพฤติกรรมบำบัด และจะต้องให้แพทย์ผิวหนังทำการรักษาในส่วนของหนังศีรษะและเส้นผมควบคู่กันไปด้วย ค่ะ
ถ้าหนูอยากให้อาการดีขึ้นหนูควรไปพบแพทย์นะคะ รับการรักษาให้ตรงสาเหตุ และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ดีที่สุดนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
หนูถอนผมมาตั้งแต่ป.3-ม1 มันทำให้หนูเครียดมากมันทำให้หนูยิ่งดึงเข้าไปอีกตอนนี้หนูต้องมัดผมขึ้นแล้วติดแฮพีชไปโรงเรียนมันทำให้หนูลำบากมากค่ะ หนูกลัวและกังวลเศร้า หนูอยากรู้ว่าทำยังไงดีค่ะ หนูไม่อยากไปหาหมอ อาจจะเป็นยาอะไรก็ได้ค่ะ หนูต้องการจริงๆ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)