Anti-dsDNA

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Anti-dsDNA ทางเลือด เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคลูปัสในผู้ที่มีผลตรวจ Antinuclear antibody เป็นลบ
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
Anti-dsDNA

การตรวจ Anti-dsDNA โดยการเจาะเลือดไปตรวจ มักจะทำเพื่อยืนยันผลวินิจฉัยในผู้ที่มีผลตรวจ Antinuclear antibody เป็นบวก รวมถึงผู้ที่มีอาการของโรคลูปัสเบื้องต้น เช่น เจ็บกล้ามเนื้อ เจ็บข้อต่อ มีผื่นแดงคล้ายผีเสื้อที่จมูกและแก้ม เป็นต้น

ชื่ออื่น: Antibody to ds-DNA, Native double-stranded DNA antibody, Anti-DNA, Double stranded DNA antibody

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ชื่อทางการ: Anti-double-stranded DNA, IgG

จุดประสงค์การตรวจ Anti-dsDNA

การตรวจ Anti-dsDNA ทำเพื่อช่วยวินิจฉัยโรคลูปัสในผู้ที่มีผลตรวจ Antinuclear antibody (ANA) เป็นบวก และมีสัญญาณหรืออาการป่วยที่บ่งชี้ถึงโรคลูปัส

โดยทั่วไปแล้วการตรวจ ANA เป็นการตรวจแรกที่ใช้ประเมินโรคแพ้ภูมิตัวเอง แม้แพทย์จะสามารถพบผลตรวจ ANA ที่เป็นบวกในผู้ที่เป็นโรคลูปัสได้ประมาณ 95% แต่ก็สามารถพบผลตรวจ ANA เป็นบวกได้ในภาวะอื่นๆ เช่นกัน

การตรวจ Anti-dsDNA อาจช่วยประเมินความรุนแรงของโรคลูปัส เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคลูปัสที่มีอาการกลับมากำเริบอีกครั้งมักจะมีอาการแย่ลง ซึ่งแพทย์อาจพบ Anti-dsDNA เพิ่มขึ้นก่อนและระหว่างที่โรคกำเริบ

นอกจากนี้แพทย์อาจใช้ผลตรวจ Anti-dsDNA สำหรับติดตามโรคไตอักเสบลูปัส (Lupus nephritis) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของโรคลูปัสที่ทำให้ตับเสียหายและอักเสบ ส่งผลให้มีโปรตีนในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูง และไตวาย โดยจะเกิดขึ้นเมื่อออโตแอนติบอดีจับกับแอนติเจนที่สะสมอยู่ในไต

เมื่อไรที่ต้องตรวจ Anti-dsDNA?

แพทย์จะตรวจ Anti-dsDNA เมื่อผู้ป่วยมีสัญญาณและอาการที่เกิดจากโรคลูปัส และมีผลตรวจ ANA เป็นบวก โดยผู้ป่วยโรคลูปัสจะมีสัญญาณและอาการดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • เจ็บกล้ามเนื้อ
  • เจ็บตามข้อต่อ 1 ข้อหรือมากกว่านี้ ซึ่งจะเจ็บเหมือนกับตอนมีภาวะข้อต่ออักเสบ
  • มีผื่นแดงที่คล้ายกับผีเสื้อทั่วทั้งบริเวณจมูกและแก้ม
  • มีไข้ต่ำ
  • อ่อนเพลียบ่อย อ่อนแอ
  • ผิวไวต่อแสง
  • ผมร่วงและน้ำหนักลดลง
  • มือหรือเท้าชา
  • อวัยวะและเนื้อเยื่ออักเสบและเสียหาย เช่น ไต ปอด หัวใจ เยื่อบุหัวใจ ระบบประสาทส่วนกลาง และเส้นเลือด

วิธีเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจ Anti-dsDNA

แพทย์จะตรวจ Anti-dsDNA จากเลือดโดยการแทงเข็มเข้าไปในเส้นเลือดดำที่แขน ซึ่งผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวล่วงหน้า

รายละเอียดการตรวจ Anti-dsDNA

Anti-double stranded DNA antibody หรือ Anti-dsDNA เป็นหนึ่งในกลุ่มของออโตแอนติบอดีที่เรียกว่า Antinuclear antibodies (ANA) ร่างกายจะผลิตออโตแอนติบอดีขึ้นมาเมื่อระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถแยกระหว่างเนื้อเยื่อตัวเอง หรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย ทำให้เซลล์ที่ดีของร่างกายถูกทำลาย ส่งผลให้เนื้อเยื่อและอวัยวะเสียหาย

แม้จะมีหลายโรคที่ทำให้ร่างกายมี Anti-dsDNA ในระดับต่ำ แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะสัมพันธ์กับโรคลูปัส ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากการแพ้ภูมิตัวเอง ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ไต ข้อต่อ เส้นเลือด ผิว หัวใจ ปอด และสมอง อย่างไรก็ตาม การตรวจ Anti-dsDNA ควบคู่กับการตรวจออโตแอนติบอดีอื่นๆ อาจช่วยวินิจฉัยโรคลูปัส และแยกความแตกต่างของโรคลูปัสออกจากโรคแพ้ภูมิตัวเองชนิดอื่นๆ

หนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงของโรคลูปัส คือโรคไตอักเสบลูปัส (Lupus nephritis) ซึ่งเป็นภาวะไตอักเสบที่ส่งผลให้มีโปรตีนในปัสสาวะ มีความดันโลหิตสูง และไตวาย

ความหมายของผลตรวจ Anti-dsDNA

แพทย์มักนำผลตรวจ Anti-dsDNA มาพิจารณาร่วมกับประวัติการเจ็บป่วย สัญญาณและอาการของโรคลูปัส และผลตรวจออโตแอนติบอดีอื่นๆ การมี Anti-dsDNA ในเลือดสูงสัมพันธ์กับโรคลูปัสเป็นอย่างมาก และมักเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในระหว่างหรือก่อนที่โรคจะกำเริบ

เมื่อผล Anti-dsDNA เป็นบวก และผู้ที่เข้ารับการตรวจมีสัญญาณและอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคลูปัส ก็หมายความว่ามีโอกาสที่จะเป็นโรคลูปัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผลตรวจ Anti-Sm เป็นบวก

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Anti-dsDNA

บางครั้งแพทย์อาจพบ Anti-dsDNA ในผู้ป่วยบางโรค และผู้ที่รับประทานยาบางชนิด เช่น

  • ผู้ที่เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง
  • ผู้ที่เป็นโรคตับแข็งทางเดินน้ำดี (Primary Biliary Cirrhosis: PBC)
  • ผู้ที่เป็นโรคโมโนนิวคลิโอสิส (Infectious mononucleosis)
  • ผู้ที่รับประทานยา Procainamide และ Hydralazine

1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Anti-dsDNA (https://labtestsonline.org/tests/anti-dsdna), 20 December 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ไตอักเสบ...ภัยเงียบ นำสู่ไตวายเรื้อรัง
ไตอักเสบ...ภัยเงียบ นำสู่ไตวายเรื้อรัง

เรียนรู้เรื่องโรคไตอักเสบ ตั้งแต่สาเหตุ การรักษาโรค และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันและควบคุมอาการ เพื่อไม่ให้อาการรุนแรงไปถึงขั้นไตวายเรื้อรัง

อ่านเพิ่ม