กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

Q&A การกดสิว

การกดสิวคืออะไร ต้องกดอย่างไร กดแล้วช่วยให้สิวหายเร็วขึ้นจริงหรือไม่ มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง HonestDocs มีคำตอบให้
เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 26 เม.ย. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 26 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
Q&A การกดสิว

การกดสิว เป็นวิธีการรักษาสิวชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากช่วยให้สิวหายเร็วขึ้นจริง โดยเฉพาะสิวอุดตัน แต่ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นจึงจะได้ผลดีที่สุด ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็มีคนจำนวนมากที่ยังไม่แน่ใจว่าจะไปกดสิวดีหรือไม่ หรือกดแล้วจะมีผลข้างเคียงใดตามมาหรือเปล่า สามารถหาคำตอบได้จากบทความนี้

การกดสิวคืออะไร และทำอย่างไร

ใช้เครื่องมือกดสิวอุดตันทั้งสิวหัวดำและสิวหัวขาว ต้องทำโดยผู้ชำนาญ ไม่เช่นนั้นหัวสิวอาจแตกเข้าสู่ผิวข้างเคียงทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อ staphylococci, streptococci หรือเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลเป็นตามมา 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาหลุมสิว ลดรอยสิว วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 74%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โดยทั่วไปแนะนำให้ใช้เครื่องมือที่มีขอบรูแบนกว้าง (Unna type of comedo extractor)  ไม่ควรใช้ชนิดที่ขอบคมหรือเป็นห่วง 

การกดสิวหัวดำไม่ได้ทำให้การดำเนินโรคเปลี่ยนแปลง เพราะรอยโรคชนิดนี้ไม่อักเสบอยู่แล้ว จึงช่วยในแง่ความสวยงามเท่านั้น แต่การกดสิวหัวขาวจะช่วยป้องกันการเกิดสิวอักเสบได้ เพราะเป็นการป้องกันไม่ให้ก้อนไขมันอุดตันแตก

การกดสิวช่วยรักษาสิวได้จริงหรือไม่

โดยทั่วไปแล้ว การกดสิวมักนิยมทำหลังจากที่การรักษาด้วยครีมหรือรับประทานยาแล้วไม่ได้ผลเท่าที่ควร และเมื่อกดสิวแล้ว ก็จะต้องมีการรักษาด้วยวิธีอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น การทาครีมบำรุง ทายาฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นสิวซ้ำ รวมถึงลดรอยที่เกิดจากการกดสิว

การกดสิวที่มีประสิทธิภาพ จะต้องใช้อุปกรณ์ที่มีความสะอาด ทำด้วยวิธีที่ถูกต้อง และต้องทำด้วยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจึงจะช่วยขจัดสิวได้จริง ดังนั้นจึงไม่ควรทำด้วยตนเอง แต่หากจำเป็นก็ควรจะต้องรู้วิธีที่ถูกต้อง เช่น การทำความสะอาดอุปกรณ์ก่อนใช้ด้วยแอลกอฮอล์ การลงน้ำหนักมือในการกดสิว โดยการกดสิวจะได้ผลดีมากกับสิวอุดตันทั้งสิวหัวขาวและสิวหัวดำ แต่ไม่ควรทำกับสิวอักเสบที่มีหนอง เพราะอาจทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น

ผลข้างเคียงของการกดสิว

การกดสิวด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สะอาด อาจทำให้เกิดการติดเชื้อลุกลามไปยังบริเวณอื่น หรือทำให้สิวอุดตันเปลี่ยนเป็นสิวอักเสบได้ หากใช้มือกดโดยไม่ใช้อุปกรณ์ หรือไม่รู้จักชนิดของสิวที่สามารถกดสิวได้ ก็จะส่งผลให้บริเวณที่กดเกิดรอยช้ำจนเป็นแผลเป็น ผิวหน้าไม่เรียบ เป็นหลุมลึก หรือเป็นรอยแดง ซึ่งบางอาการอาจไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ตลอดชีวิต

การดูแลตนเองหลังการกดสิว

ภายหลังจากการกดสิว ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • ใช้น้ำแข็งประคบ การกดสิวมักทำให้เกิดรอยช้ำหรือรอยบวมแดงจากการเจาะเพื่อเปิดหัวสิว และการใช้ที่กดสิว ดังนั้นจึงควรใช้น้ำแข็งประคบเพื่อให้เลือดที่ออกมาจากการกดหยุดไหล และยังช่วยลดอาการบวมได้
  • งดการแต่งหน้า เพื่อลดความสกปรกและการอุดตัน หากเป็นไปได้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำมัน (Oil-based) เพราะอาจทำให้เกิดการอุดตัน จนทำให้เกิดสิวซ้ำ
  • ไม่ลูบคลำใบหน้า หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือลูบคลำใบหน้า เพื่อป้องกันความสกปรกหรือเชื้อโรคจากมือจนก่อให้เกิดหัวสิวใหม่ๆ และควรหลีกเลี่ยงการทำสครับใบหน้าชั่วคราว
  • ทายาฆ่าเชื้อ หรือครีมต่างๆ ตามที่แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญแนะนำอย่างสม่ำเสมอ

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Friedman PM, et al. "Treatment of inflammatory facial acne vulgaris with the 1450-nm diode laser : a pilot study." Dermatologic Surgery 2004 February
Emmy Graber MD, Treatment of acne vulgaris (https://www.uptodate.com/contents/treatment-of-acne-vulgaris)
Jaggi Rao MD, Acne Vulgaris Guidelines (https://emedicine.medscape.com/article/1069804-guidelines), 26 March 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ผิวระหว่างนิ้วเท้าลอก เกิดจากอะไร?
ผิวระหว่างนิ้วเท้าลอก เกิดจากอะไร?

ผิวระหว่างนิ้วเท้าลอกเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาและป้องกันอย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่ม
รวมวิธีรักษาสิวที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
รวมวิธีรักษาสิวที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

รวมวิธีรักษาสิว ทั้งแบบสิวอุดตันและสิวอักเสบ เพื่อให้สิวหายอย่างปลอดภัย ไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก

อ่านเพิ่ม