ดีซ่าน หมายถึง อาการที่ผิวหนังและดวงตามีสีเหลืองที่เกิดขึ้นเมื่อมีสารบิลิรูบินมากเกินไปในระบบร่างกาย ซึ่งเกิดจากการสลายของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุขัยภายในตับ ภาวะนี้ไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการแสดงของโรคซึ่งมีอยู่มากมาย การเกิดภาวะดีซ่านอาจบ่งบอกถึงปัญหาร้ายแรงของการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดแดง การทำงานของตับ ภาวะของถุงน้ำดีหรือตับอ่อน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อาการของภาวะดีซ่าน
ลักษณะเฉพาะของภาวะดีซ่าน คือ ผิวหนังมีสีเหลือง และตาขาวมีสีเหลืองชัดเจน ในกรณีที่รุนแรงมากขึ้น ตาขาวอาจเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีส้ม หากมีความผิดปกติของโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ก็อาจพบความเมื่อยล้าอย่างรุนแรง และอาเจียนหนัก
การมีผิวสีเหลืองอาจทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าตัวเองมีภาวะดีซ่าน แต่ความจริงแล้วอาจเป็นแค่การมีสารเบต้าแคโรทีนมากเกินไป การเกิดภาวะนี้ได้ จะต้องมีตาขาวสีเหลืองด้วย
สาเหตุของภาวะดีซ่าน
ตามปกติแล้ว เซลล์เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุขัยจะถูกทำลายที่ตับ และจะเกิดสารบิลิรูบินที่เป็นสารสีเหลืองขึ้น หากตับไม่สามารถทำลายสารนี้ได้ ก็จะทำให้เกิดภาวะดีซ่านขึ้น บางครั้งก็อาจเกิดจากสารบิลิรูบินไม่ถูกลำเลียงไปยังระบบย่อยอาหารได้ตามปกติ จึงถูกขับออกทางอุจจาระแทน ทำให้อุจจาระมีสีที่ผิดปกติไป และในบางกรณีอาจเกิดการการที่เซลล์เม็ดเลือดแดงหมดอายุขัยพร้อมกันมากเกินไป
ภาวะดีซ่าน อาจเป็นอาการหนึ่งที่เกิดจากโรคต่อไปนี้
- โรคตับจากแอลกอฮอล์ (Alcoholic Liver Disease) : โรคนี้ทำให้เกิดการอักเสบของตับ สาเหตุมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน อาการจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปริมาณของความเสียหายของตับ
- โรคมะเร็งตับอ่อน (Pancreatic Cancer) : เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ของตับอ่อนซึ่งเป็นอวัยวะต่อมไร้ท่อที่สำคัญในบริเวณด้านหลังกระเพาะอาหาร แบ่งตัวเป็นเซลล์มะเร็งและเจริญเติบโตโดยไร้การควบคุม
- โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) : เป็นโรคเลือดถ่ายทอดทางพันธุกรรมซึ่งทำให้ร่างกายสร้างฮีโมโกลบินในรูปแบบที่ผิดปกติ ความผิดปกติดังกล่าวส่งผลให้เกิดการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงมากเกินซึ่งนำไปสู่ภาวะโลหิตจางตามมา
- นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones) : นิ่วก่อตัวขึ้นเมื่อมีน้ำดี สารบิลิรูบินหรือสารคอเลสเตอรอลภายในของเหลวในถุงน้ำดีนั้นมีระดับสูงมากเกินไป
- โรคตับอักเสบชนิดเอ (Hepatitis A) : การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอทำให้เกิดการอักเสบในตับ
- โรคตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B) : การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีทำให้เกิดการอักเสบในตับ
- โรคตับอักเสบชนิดซี (Hepatitis C) : การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีทำให้เกิดการอักเสบในตับ
- โรคตับอักเสบชนิดดี (Hepatitis D) : การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบดี ทำให้เกิดการอักเสบในตับ
- โรคตับอักเสบชนิดอี (Hepatitis E) : การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบอีทำให้เกิดการอักเสบในตับ
- โรคขาดเอนไซม์ G6PD : เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมส่งผลให้เอนไซม์ G6PD ดังกล่าวในเลือดมีไม่เพียงพอ ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกตัวและถูกทำลายก่อนเวลาอันควร นำไปสู่ภาวะโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolytic Anemia)
- การอุดตันของท่อน้ำดี (Bile Duct Obstruction) : ส่วนใหญ่เกิดจากโรคนิ่วในถุงน้ำดี แต่อาจเกิดจากการบาดเจ็บที่ตับหรือถุงน้ำดี การอักเสบ เนื้องอก การติดเชื้อ ซีสต์หรือความเสียหายของตับก็ได้ ภาวะนี้จัดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
- โรคโลหิตจางชนิดเซลล์เม็ดแดงรูปเคียว (Sickle Cell Anemia) : เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้เม็ดเลือดแดงมีลักษณะคล้ายเคียว หรือพระจันทร์เสี้ยว มีแนวโน้มที่จะอุดตันตามเส้นเลือดเล็กๆ จึงขัดขวางการลำเลียงออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดแดงชนิดนี้จะถูกทำลายเร็วกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีรูปร่างปกติ
- โรคมะเร็งตับ (Liver Cancer) : เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ของตับแบ่งตัวกลายเป็นมะเร็งและเริ่มควบคุมไม่ได้
- ภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (Acute Pancreatitis) : มักเกิดจากโรคนิ่วในถุงน้ำดี หรือการติดสุราเรื้อรัง ภาวะนี้ถือเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน
- ปฏิกิริยาไม่เข้ากันของเลือดกรุ๊ป ABO : เกิดขึ้นได้ภายหลังจากการถ่ายเลือด แล้วปรากฎว่าเลือดเกิดปฏิกิริยาไม่เข้ากัน ภาวะนี้ถือเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน
- โรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงแตกจากการแพ้ภูมิตัวเอง (Idiopathic Autoimmune Hemolytic Anemia) : เกิดขึ้นเมื่อร่างกายเริ่มทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงในอัตราเร็วกว่าการผลิต ภาวะนี้จัดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
- โรคไวล์ (Weil’s Disease) : เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มเลปโตสไปโรซีสและส่งผลกระทบต่อไต ตับ ปอด หรือสมอง
- อาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับยาเกินขนาด เช่น ยาพาราเซตามอล
ภาวะดีซ่านยังเกิดขึ้นบ่อยในทารกแรกเกิด (New born jaundice) โดยเฉพาะในทารกที่เกิดก่อนกำหนด เพราะตับยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ภาวะนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ภาวะดีซ่านจากนมแม่ (Breast milk jaundice) โดยทั่วไปแล้วไม่มีอันตรายใดๆ และจะหายไปได้เองในเวลาไม่นาน
การวินิจฉัยภาวะดีซ่าน
แพทย์จะตรวจเลือดก่อนเพื่อหาสาเหตุของภาวะดีซ่าน และอาจตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เพราะการตรวจเลือดอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะตรวจระดับสารบิลลิรูบินทั้งหมดในร่างกาย แต่สามารถตรวจสอบตัวชี้วัดของโรคอื่นๆ ได้ เช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ ได้แก่
- การตรวจวัดการทำงานของตับ (Liver Function Tests) : เป็นชุดการตรวจเลือดที่วัดระดับของโปรตีนและเอนไซม์บางชนิดที่ตับสร้างขึ้นเมื่อตับมีสุขภาพดีทำงานได้เต็มที่ รวมถึงสารหรือเอนไซม์ที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นที่ตับ
- การตรวจนับเซลล์เม็ดเลือด (CBC) : เพื่อตรวจสอบว่าเป็นโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงแตกหรือไม่
- การถ่ายภาพรังสี : การทำอัลตราซาวด์ช่องท้องโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อสร้างภาพอวัยวะภายใน หรือการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
- การตัดตรวจชิ้นเนื้อจากตับ : มีการผ่าตัดเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อจากตับเพื่อนำมาทดสอบและตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
ส่วนความรุนแรงของอาการดีซ่านในทารกแรกเกิด จะได้รับการประเมินโดยการตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจเลือดด้วยการจิ้มนิ้วเท้าของทารก
การรักษาภาวะดีซ่าน
การรักษาภาวะดีซ่าน มักจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เกิดขึ้น หากสามารถรักษาสาเหตุของโรคให้ทุเลาลง อาการตัวเหลืองตาเหลืองก็จะค่อยๆ หายไปด้วย แต่ถ้ามีอาการดีซ่านที่รุนแรงมาก ก็อาจต้องมีการถ่ายเลือดเพื่อกำจัดสารบิลิรูบินออกไป
ส่วนการรักษาอาการนี้ในเด็กทารก หากพบว่าเด็กเป็นดีซ่านระดับปานกลาง จะได้รับการรักษาด้วยการเข้าตู้ส่องไฟ (Phototherapy) ในโรงพยาบาลหรือที่บ้าน เพื่อช่วยกำจัดสารบิลิรูบินส่วนเกิน ซึ่งอาจจะพบว่าเด็กถ่ายบ่อยขึ้น และมีอุจจาระเป็นสีเขียว เพราะมีการกำจัดสารนี้ออกจากร่างกาย
ที่มาของข้อมูล
Kristeen Moore, What’s causing my yellow skin? (https://www.healthline.com/health/jaundice-yellow-skin), July 18, 2016.