กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ภาวะแท้งบุตร อาจเกิดได้บ่อยกว่าที่คิด

ภาวะแท้งบุตร เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้มากกว่าที่คิด การทำความเข้าใจกับภาวะนี้ให้ดีขึ้น จะช่วยลดความกดดัน และความเครียดที่เกิดขึ้นได้ หากภาวะนี้เกิดขึ้นกับคุณ
เผยแพร่ครั้งแรก 4 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ภาวะแท้งบุตร อาจเกิดได้บ่อยกว่าที่คิด

ภาวะแท้งบุตร ถือเป็นส่วนหนึ่งของวงจรการมีลูกทั่วไปที่เกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด รวมถึงมนุษย์ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะแท้งบุตรว่าคืออะไร และเกิดขึ้นได้บ่อยแค่ไหน จะช่วยลดความวิตกกังวลที่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากผู้หญิงบางคนที่เคยแท้งบุตร มักจะมีประสบการณ์ที่เลวร้ายจนยากที่จะรับมือ ซึ่งหลายคนก็รู้สึกผิดกับเรื่องนี้ไปตลอดชีวิต ทั้งที่เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ

การแท้งบุตรเกิดขึ้นได้บ่อยเพียงไหน?

การแท้งบุตรทางการแพทย์ หมายถึง การยุติการตั้งครรภ์ในช่วง 20 สัปดาห์แรก แต่ส่วนมากจะเกิดภายในช่วง 8 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยถึง 1 ใน 5 ของผู้หญิงที่มีการยืนยันการตั้งครรภ์โดยแพทย์แล้ว และเกิดขึ้นได้มากถึง 1 ใน 3 สำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หลังจากการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน เมื่ออสุจิเข้าไปถึงไข่ที่ท่อนำไข่ (Fallopian Tube) กระบวนการปฏิสนธิจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อไข่ที่ปฏิสนธิแล้วค่อยๆ เติบโตขึ้นและฝังตัวภายในมดลูก แต่กรณีส่วนมากของการแท้งบุตร มักเกิดจากเอ็มบริโอไม่สามารถฝังตัวได้ หรือเกิดความผิดปกติของโครโมโซม (Chromosomal Abnormalities)

หลังจากนั้นร่างกายก็จะเกิดกระบวนการเพื่อกำจัดความผิดปกติที่เกิดขึ้น โดยเนื้อเยื่อภายในมดลูกพร้อมกับเนื้อเยื่อใหม่ ๆ จะลอกออกจากช่องคลอด ซึ่งจะออกมาในรูปของเลือดที่ไหลออกมาทางช่องคลอด ผู้หญิงบางคนที่มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน และมีรอบเดือนไม่สม่ำเสมอ อาจจะเกิดจากการแท้งบุตรก็เป็นได้ ซึ่งหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นประจำเดือนที่มาไม่ปกติ และส่วนมากก็มักจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองตั้งครรภ์อยู่

อย่างไรก็ตาม ภาวะแท้งบุตรสามารถเกิดจากภาวะทางการแพทย์ของผู้หญิงมีครรภ์ได้ ซึ่งอาจเกิดจากภาวะดังต่อไปนี้

  • กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome)
  • ความผิดปกติของไทรอยด์หรือปัญหาด้านกายภาพภายในรังไข่
  • ความผิดปกติจากเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (Uterine Fibroids)
  • ภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)
  • การติดเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ทำอย่างไรเมื่อรู้ตัวว่าแท้งบุตร

ผู้ที่มีการแท้งบุตร ควรไปพบแพทย์เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เพราะถ้าหากการแท้งครั้งนั้นไม่ได้สิ้นสุดลงด้วยตัวเอง ก็จำเป็นจะต้องใช้วิธีทางการแพทย์ช่วยเหลือ เช่น การดูดเอาสิ่งที่อยู่ในมดลูกออก หรือการทานยาเพื่อช่วยให้ตัวอ่อนหลุดลอกออกเร็วขึ้น เป็นต้น

การตั้งครรภ์ใหม่หลังเกิดภาวะแท้งบุตร

ร่างกายจะใช้เวลาในการหยุดเลือดและรักษาเนื้อเยื่อมดลูกที่เสียหายจากการแท้งบุตร ด้วยเวลาที่ต่างกันออกไปของแต่ละบุคคล ตั้งแต่ภายในไม่กี่ชั่วโมงไปจนถึงหลายสัปดาห์ ส่วนมากแล้ว หากการแท้งบุตรเกิดขึ้นภายในช่วงที่มีอายุครรภ์เพียง 8 สัปดาห์ ร่างกายจะใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ จึงจะกลับมามีประจำเดือนตามปกติอีกครั้ง

เมื่อประจำเดือนมาตามปกติ ก็สามารถตั้งครรภ์ใหม่ได้ทันที แต่แพทย์มักจะแนะนำให้หยุดพักการมีเพศสัมพันธ์ไว้อย่างน้อย 1 เดือนเพื่อป้องกันการติดเชื้อต่างๆ หรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

สภาพจิตใจของผู้ที่ประสบกับภาวะแท้งบุตร

มากกว่า 50% ของผู้ที่ประสบกับการแท้งบุตร จะมีอาการต่าง ๆ ที่มาจากอารมณ์ความรู้สึกเป็นเวลานานหลายสัปดาห์ เช่น ความวิตกกังวล หรือความโศกเศร้า แต่สำหรับผู้ที่ไม่ประสงค์จะมีบุตรแต่แรกก็อาจจะมีความรู้สึกโล่งอกแทน

ที่มาของข้อมูล

Anna Druet, Miscarriage: It’s more common than you think (https://helloclue.com/articles/life-stages/miscarriage-its-more-common-than-you-think), 1 กรกฎาคม 2016.


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
4 Common Causes of Miscarriage. WebMD. (https://www.webmd.com/baby/4-common-causes-miscarriage#1)
Miscarriage Rates by Week: Causes and Risks. Healthline. (https://www.healthline.com/health/pregnancy/miscarriage-rates-by-week)
Miscarriages (for Parents). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/parents/miscarriage.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
เมื่อไหร่จึงสามารถมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยหลังภาวะแท้งบุตร?
เมื่อไหร่จึงสามารถมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยหลังภาวะแท้งบุตร?

ต้องรอนานแค่ไหน และทำไมคุณอาจจะไม่รู้สึกอยากกอดจูบลูบคลำมากนัก?

อ่านเพิ่ม
หลังภาวะแท้งบุตร ทำไมฉันยังมีอาการเหมือนคนท้อง?
หลังภาวะแท้งบุตร ทำไมฉันยังมีอาการเหมือนคนท้อง?

หลังภาวะแท้งบุตร ร่างกายอาจใช้เวลาฟื้นคืนสภาพค่อนข้างนาน ทีเดียวจนเกือบอารมณ์เสียได้

อ่านเพิ่ม