กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ปวดท้องขณะตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่ มีวิธีบรรเทาอาการอย่างไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ปวดท้องขณะตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่ มีวิธีบรรเทาอาการอย่างไร?

ปัจจุบัน มีผู้หญิงครรภ์จำนวนมากที่รู้สึกว่าตัวเองปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ แล้วเกิดความวิตกกังวลจนต้องรีบไปพบแพทย์ทันที ทั้งที่เป็นเพียงการเจริญเติบโตทั่วไปของทารกในครรภ์ที่คุณแม่ทุกคนต้องเจอเท่านั้น ส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาเช่นนี้ขึ้นก็เพราะคุณแม่มือใหม่ทั้งหลาย ไม่คาดคิดมาก่อนว่าเมื่อตั้งครรภ์แล้วจะมีการปวดท้องนอกเหนือไปจากอาการปวดก่อนคลอดแต่เพียงเท่านั้น จึงทำให้เกรงว่าจะเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ หรือเป็นเหตุให้เกิดภาวะแท้งบุตร ซึ่งเราก็ได้รวบรวมเรื่องราวของอาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์มาไว้ในบทความนี้แล้ว ใครที่กำลังสงสัย หรือเตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ ควรอ่านเพื่อทำความเข้าใจและรับมือกับปัญหานี้มากยิ่งขึ้น

ปวดท้องขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร?

ในช่วงระยะเวลา 0-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอ้ที่กำลังจะกลายเป็นทารกอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะบริเวณมดลูกที่จะต้องมีการขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิม จึงเป็นเหตุให้คุณแม่บางคนเกิดการปวดท้องน้อยประมาณหนึ่งพอทนได้ แต่เมื่อทารกมีการฝังตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อาการปวดท้องก็จะค่อย ๆ ลดน้อยลงไปเอง เพราะมดลูกจะไม่ค่อยขยายตัวเร็วเท่าในช่วง 3 เดือนแรก แต่หากในช่วงนี้คุณแม่ยังมีเพศสัมพันธ์กับคุณพ่ออยู่ หรือมีการทำกิจวัตรประจำวันตลอดเวลา ก็อาจจะทำให้เกิดอาการปวดท้องได้อีกครั้ง ซึ่งเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อที่มากเกินไปนั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม หากมีอาการปวดท้องแบบรุนแรง หรือปวดท้องแบบหน่วง ๆ ร่วมกับมีเลือดไหลทางช่องคลอด ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดภาวะแท้งบุตรได้ ซึ่งแพทย์จะได้ให้การช่วยเหลือ และให้คำแนะนำในส่วนนี้ต่อไป เพราะบางกรณีก็ไม่ได้เกิดจากการแท้งบุตร แต่อาจจะเกิดจากการที่คุณแม่มีการติดเชื้อในอวัยวะภายในบริเวณกระเพาะอาหารและลำไส้ ที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่ไม่สะอาด

ปวดท้องตอนตั้งครรภ์ รับมืออย่างไรให้หายปวด

ถึงแม้อาการปวดท้องจะปวดไม่มาก แต่ก็สร้างความไม่สบายใจและความไม่สบายตัวให้กับคุณแม่พอสมควร เราจึงขอแนะนำวิธีง่าย ๆ ในการบรรเทาอาการปวดท้องดังต่อไปนี้

1.หยุดทำกิจกรรมทุกอย่าง

หากรู้สึกปวดท้อง ไม่ว่าคุณจะทำอะไรอยู่ก็ตาม ให้หยุดไว้ก่อนสักระยะแล้วเคลื่อนย้ายตัวเองไปเอนตัวลงนอนจนกว่าจะรู้สึกอาการดีขึ้น ถ้าคุณพ่อสะดวกก็อาจให้มาช่วยนวดบริเวณต่าง ๆ เพื่อให้เลือดลมได้ไหลเวียนมากกว่าเดิม ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดท้องได้

2.เมื่อรู้สึกปวดท้องให้สังเกตว่าปวดข้างไหน

เพื่อจะได้หาวิธีบรรเทาอาการปวดได้ดียิ่งขึ้น เช่น หากปวดข้างซ้ายก็ให้นอนตะแคงขวา หากยังไม่หายก็ลองนอนตะแคงซ้าย ลองขยับท่านอนไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะหายปวด นอกจากนี้ ก็ยังมีวิธีอื่นๆ ที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้อีกด้วย

3.ทานยาพารา

การทานยาพาราเพียงเล็กน้อยเพื่อบรรเทาอาการปวด ไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อทารกในครรภ์ทั้งสิ้น แต่ไม่ควรทานติดกันมากจนเกินไป หรือทานทุกครั้งเมื่อปวด เพราะอาจส่งผลกระทบต่อไตจนมีอาการปวดท้องมากขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตามเพื่อความปลอดภัย แนะนำให้คุณแม่ปรึกษาแพทย์และให้แพทย์เป็นผู้จัดยาแก้ปวดให้โดยตรงจะดีกว่า เพื่อความมั่นใจว่าจะไม่ส่งผลอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์

4.อาบน้ำอุ่น

การอาบน้ำอุ่นช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี จึงทำให้รู้สึกปวดท้องน้อยลง แต่ต้องระวังไม่ให้อุณหภูมิของน้ำสูงจนเกินไป เพราะอาจส่งผลเสียได้มากกว่าเป็นผลดี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากทดลองทุกวิธีแล้ว ยังไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดท้องได้ ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำหรือตรวจร่างกายหาความผิดปกติต่อไป

ปวดท้องขณะตั้งครรภ์แบบใด เรียกว่า “อันตราย”

สำหรับอาการปวดท้องที่อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะแท้งบุตร ซึ่งถือว่าเข้าสู่ภาวะอันตราย มักจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีอาการปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง ร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน จนถึงขั้นหมดสติ
  • มีอาการเลือดไหลออกมาบริเวณช่องคลอด
  • มีตัวอ่อนหลุดออกมา ภายหลังจากปวดท้องอย่างหนัก
  • ปวดท้องติดกันหลายวัน ทานยาพาราเข้าไปแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น

หากพบอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะหากทิ้งไว้นาน อาจเป็นอันตรายทั้งต่อทารในครรภ์และตัวคุณแม่เองได้

หวังว่าได้อ่านบทความนี้แล้ว คุณแม่มือใหม่คงจะรู้สึกโล่งใจกันมากขึ้น และปฏิบัติตัวกันอย่างถูกต้องเมื่อเกิดอาการปวดท้องในช่วง 0-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์  ดังนั้นแล้ว จงอย่าตื่นตระหนกและเครียดมากเกินไป เพราะสองสิ่งนี้อาจเป็นสาเหตุของการแท้งบุตรได้มากกว่าอาการปวดท้องเสียอีก


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Abdominal Pain During Pregnancy: Causes and Treatment. Healthline. (https://www.healthline.com/health/pregnancy/gas-pain-during-pregnancy)
Upper stomach pain during pregnancy: Third trimester. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324736)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม
อาการปวดของกระดูกหัวเหน่า(Pubic Bone)ในช่วงตั้งครรภ์
อาการปวดของกระดูกหัวเหน่า(Pubic Bone)ในช่วงตั้งครรภ์

แนวประสานกระดูกหัวเหน่ามีความผิดปกติ (Symphysis Pubis Dysfunction)

อ่านเพิ่ม